3 Min

‘ก๊าซหุงต้ม’ ไอเทมสำคัญเคียงข้างครัว ที่หลายคนมองข้าม

3 Min
1016 Views
21 Apr 2021

อะไรคือเพื่อนคู่ครัวที่ทุกบ้านต้องมี?

ไม่ใช่เครื่องปรุง ไม่ใช่หม้อข้าว แต่เรากำลังพูดถึงสิ่งที่คนมักมองข้าม ‘ก๊าซหุงต้ม’ จุดเริ่มต้นที่ทำให้อาหารในบ้านเราเป็นจริง แถมไม่ใช่เฉพาะคนที่อยู่บ้านเดี่ยวเท่านั้นที่ผูกพันกับก๊าซหุงต้ม เพราะต่อให้อยู่หอ อยู่คอนโด ถ้าได้แวะร้านอาหารนอกบ้านเชื่อว่าอาหารในท้องคุณก็เกิดจากก๊าซหุงต้มเช่นกัน

ก๊าซหุงต้มจึงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตที่หลายคนมักจะมองข้ามไป ทั้งที่สิ่งนี้ส่งผลต่อชีวิตและบ้านของเรามหาศาล

ก๊าซหุงต้ม (Liquefied Petroleum Gas) หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า “LPG”

มีส่วนประกอบหลักคือโพรเพน (Propane) และบิวเทน (Butane) มีสถานะเป็นทั้งของเหลว และก๊าซ สามารถแปรสภาพจากของเหลว โดยขยายตัวเป็นก๊าซได้ถึง 250 เท่า และมีน้ำหนักเบากว่าน้ำ แต่หนักกว่าอากาศประมาณ 1.5 – 2 เท่า ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของก๊าซด้วย จึงทำให้ตัวก๊าซนั้นลอยตัวต่ำ

เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบและกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ ส่งเข้ามาบรรจุถังแก๊สสีน้ำเงินหรือสีเขียวที่เราเห็นกันคุ้นตา โดยก๊าซหุงต้มนั้นเป็นสารที่ติดไฟได้ง่าย เปลวไฟที่ได้ก็ให้ความร้อนสูง แต่สามารถดับได้เร็ว ไม่มีเขม่าหรือว่าขี้เถ้าจากการเผาไหม้ จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ทำอาหาร

แล้วก๊าซ LPG ได้มาจากไหนกัน?

โดยทั่วไปแล้ว LPG มาจากแหล่งที่มา 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกัน

1. กระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันที่จะได้แก๊สโพรเพน และบิวเทนประมาณ 1-2% ของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้

2. กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งจะมีแก๊สโพรเพน และบิวเทนในก๊าซธรรมชาติประมาณ 6-10% ซึ่งก๊าซธรรมชาติที่นำขึ้นมาจะส่งเข้าสู่โรงแยกก๊าซ เพื่อทำการแยกเอาสารไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในก๊าซธรรมชาติออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ

ส่วนลักษณะของก๊าซหุงต้ม เป็นก๊าซที่ไร้สี และไร้กลิ่น

หลายคนอาจจะสงสัยว่าจริงเหรอ!? เพราะเคยมีประสบการณ์ได้กลิ่นจากเตาที่บ้าน แต่ในความจริงนั่นคือ กลิ่นจากสาร ‘เอทิลเมอแคบ’ที่ผู้ผลิตเติมเข้าไปในก๊าซเพื่อใช้เป็นการเตือนภัยคนในบ้าน เพราะก๊าซหุงต้มนั้นติดไฟได้ง่าย แม้ด้วยตัวมันเองไม่เป็นพิษ แต่ถ้าหากเกิดติดไฟและเผาไหม้ไม่สมบูรณ์จะเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ส่งผลให้เกิดอาการมึนงง เวียนหัว ไปจนถึงก๊าซจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในร่างกายจนขั้นเสียชีวิตได้เลย

ถ้าก๊าซรั่วจะทำยังไง?

ในกรณีที่ก๊าซหุงต้มรั่วในบ้านและเกิดประกายไฟจะเกิดไฟไหม้หรือการระเบิดได้ เราจึงมักเห็นข่าวอุบัติเหตุในครัวเรือนที่เกิดจากถังก๊าซที่ระเบิด หรือเพลิงไหม้ที่มาจากการลืมปิดเตาอยู่เสมอๆ ดังนั้นถ้าเริ่มสงสัยว่าก๊าซรั่ว สิ่งสำคัญที่เราต้องทำคือ…

  1. ห้ามจุดไฟเด็ดขาด
  2. รีบปิดวาล์วที่ถังก๊าซ
  3. เปิดหน้าต่างและใช้กระดาษพัดก๊าซออกไป
  4. ห้ามเปิดพัดลมหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เพราะจะเกิดประกายไฟได้
  5. หากหารอยรั่วไม่พบ ให้นำถังก๊าซออกมาวางในที่โล่ง
  6. ถ้าไฟไหม้อย่าใช้น้ำดับไฟ ให้ใช้สารเคมีสำหรับดับไฟโดยเฉพาะ เช่น ถังดับเพลิงที่บรรจุสารเคมีประเภทนี้

เมื่อก๊าซรั่วไม่ใช่เรื่องเล็ก เพื่อความปลอดภัยที่สูงที่สุด ถังแก๊สจึงเป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในบ้านได้ ดังนั้น “เวิลด์แก๊ส” ภายใต้บริษัท WP Energy ผู้ผลิตพลังงานอย่างครบวงจร เลือกที่จะสร้างถังแก๊สที่มีความแข็งแรง ทนทาน ป้องกันการรั่วซึมอย่างสูงสุด

ตัวถังผ่านการคัดสรรเหล็กกล้าที่คงทนเป็นพิเศษ เชื่อมโดยช่างชำนาญการ ที่สำคัญถังทุกใบที่ส่งออกมาจะถูกทดสอบแรงอัดเพื่อตรวจเช็คการรั่ว ตรวจสอบความคงทน เพื่อให้ความทนทานที่สูงกว่าเกณฑ์ 10 เท่า ซึ่งเป็นความปลอดภัยที่สูงกว่ามาตรฐาน

ปัจจุบัน WP Energy มีโรงบรรจุก๊าซที่ได้จากกระบวนการกลั่นพลังงานอื่นๆ จำนวน 9 โรงด้วยกัน รวมถึงมีการร่วมมือกับโรงบรรจุอื่นๆ ทั่วภูมิภาคอีกกว่า 150 โรง เพื่อให้การจัดจำหน่ายเป็นไปตามคุณภาพและครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมีขนาดถังแก๊สตั้งแต่ ขนาด 4 ,13.5 ,15 และ 48 กิโลกรัม ที่กระจายไปสู่ร้านค้าในเครือมากกว่า 500 แห่งทั่วไทย

เพื่อให้ทุกบ้าน ร้านอาหาร โรงแรม ไปจนถึงโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจานอาหารอร่อย และเพื่อนสนิทคู่ครัวของคุณอย่างทั่วถึง และปลอดภัยที่สุด

อย่างเวิลด์แก๊ส “เพื่อน … พลังที่เคียงข้างกันไม่เคยห่าง” ที่อยู่เคียงข้างกับเรามาตลอด ก็นับว่าเป็นเพื่อนคนสำคัญที่คอยดูแลเราในหลากหลายมิติ มาทำความรู้จักเวิลด์แก๊ส โดย WP Energy กันให้มากขึ้น มาดูกันว่า บริษัทพลังงานที่อยู่เคียงข้างคนไทยไม่เคยห่างมานานนับ 42 ปี จะมีบทบาทในชีวิตพวกเราอย่างไรบ้างได้ที่ : WP Energy

อ้างอิง:

  • สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. ก๊าซ LPG พลังงานสำหรับการหุงต้ม. https://bit.ly/3oP0eK3
  • WP Energy. ก๊าซหุงต้ม. https://bit.ly/3oQ6T6R