4 Min

เปิด 3 กลยุทธ์สำคัญในก้าวต่อไปของ ttb ในปี 2566 ที่ไม่ได้มีเป้าหมายเป็นมาร์เก็ตแชร์ แต่อยากทำให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น

4 Min
927 Views
24 Feb 2023

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การเริ่มรวมกิจการระหว่างทีเอ็มบีและธนชาต จนมาเป็น ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ‘ทีทีบี’ เราก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นในทุกๆ ปี โดยมีเป้าหมายหลักสำคัญคือการทำให้ชีวิตทางการเงินของคนไทยดีขึ้น

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 อย่างการประสบปัญหาเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ประชาชนที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องหรือมีหนี้เดิมอยู่แล้วเกิดความยากลำบากทางการเงินมากขึ้น

จากสถานการณ์ที่ต้องเผชิญนี้ ทางธนาคารก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยตั้งแต่รวมกิจการ ทีเอ็มบีธนชาตได้ส่งมอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าผ่านโซลูชันที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ อาทิ การช่วยให้คนไทยกว่า 2 ล้านคน ได้รับความคุ้มครองชีวิตและค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุฟรี ผ่านบัญชี ttb all free

ช่วยลูกค้าที่มีหนี้ ทำการรวบหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แม้เพิ่งเริ่มต้นไม่นาน แต่ก็มีลูกค้าเข้าร่วมโครงการราว 2,000 ราย ซึ่งทำให้คนเหล่านี้ประหยัดเงินจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย รวมเป็นเงินกว่า 270 ล้านบาท

นอกจากนี้ นายปิติ ยังได้เผยถึงแผนขับเคลื่อนธุรกิจของทีเอ็มบีธนชาตในปี 2566 The Next REAL Change สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายให้กับชีวิตทางการเงินของลูกค้า ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

กลยุทธ์ข้อที่ 1) Synergy Realization
กลยุทธ์ข้อที่ 2) Digitalization
กลยุทธ์ข้อที่ 3) Ecosystem Play
และการจัดตั้งทีมดิจิทัล ttb spark และ ttb spark academy เตรียมความพร้อมบุคลากรในการ transform องค์กรได้อย่างรวดเร็ว

ไปดูกันว่า กลยุทธ์แต่ละข้อคืออะไร มีรายละเอียดและวิธีการทำงานอย่างไรบ้าง

 

กลยุทธ์ข้อที่ 1) Synergy Realization

อย่างที่ทราบกันดีว่าทีเอ็มบีธนชาตเกิดจากการรวมตัวกันของ 2 ธนาคาร Synergy Realization จึงเป็นการนำจุดแข็งและความแข็งแกร่งจากการรวมกิจการมาต่อยอดพัฒนาโซลูชันทางการเงิน ที่ตอบโจทย์ลูกค้า ทำให้ธนาคารมีความพร้อมทั้งศักยภาพที่แข็งแกร่งและงบประมาณในการลงทุน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับผู้ใช้งาน

 

จากเดิมที่ธนาคารมีสินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน บัญชีเพื่อใช้ เพื่อออม และบัญชีเงินเดือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าในตลาด ปีนี้ทีเอ็มบีธนชาตจะต่อยอดจุดแข็งของกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่สินเชื่อรถแลกเงิน (ttb cash your car) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ttb cash your home) สินเชื่อ ttb payday loan และกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถ ซึ่งโซลูชันเหล่านี้นอกจากจะมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นแล้ว ยังจะสามารถช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาสภาพคล่องภายใต้เศรษฐกิจผันผวนของปีนี้ได้อีกด้วย

 

กลยุทธ์ข้อที่ 2) Digitalization

เป้าหมายของธนาคารคือการก้าวสู่การเป็น Top 3 Digital Banking Platform จึงมีการยกระดับประสบการณ์ทางการเงินและพัฒนาประสิทธิภาพของธนาคารผ่าน ttb touch เวอร์ชันใหม่ โดยนำดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนของธนาคาร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้นอีกด้วย

ซึ่งตั้งแต่ ttb touch เวอร์ชันใหม่ได้เปิดตัวไปเมื่อไตรมาส 2/2565 ก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 46 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนรายการธุรกรรมบนแอปพลิเคชันเติบโตขึ้นถึง 25 เปอร์เซ็นต์

ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา ttb touch จะเกิดปัญหาขัดข้อง แต่ก็ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที พร้อมกับวางแผนพัฒนาความสามารถในการรองรับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันนี้แอปมีความเสถียรและสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญ ด้วยศักยภาพของ ttb touch เวอร์ชันใหม่ ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงโปรโมชันต่างๆ ให้กับลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 หรือ Segment-of-One ยกระดับการให้บริการลูกค้าได้ โดยธนาคารจะเดินหน้าพัฒนาองค์กรให้เป็น Digital-First Experience
ให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมได้เองผ่าน ttb touch เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ทำเองได้ง่ายทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร ในขณะที่พนักงานสาขาจะมีบทบาทสำคัญในการเป็น Trusted Advisor คอยให้คำปรึกษา แนะนำ และให้บริการลูกค้าบนผลิตภัณฑ์และบริการที่ซับซ้อน

 

กลยุทธ์ข้อที่ 3) Ecosystem Play

คือการสร้างชีวิตทางการเงินของลูกค้าบัญชีเงินเดือน มีรถ มีบ้านให้ดีขึ้นรอบด้าน
โดยธนาคารเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วย New Business Model มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้ามนุษย์เงินเดือน กลุ่มคนมีรถ และกลุ่มคนมีบ้าน ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญและมีฐานลูกค้าเป็นแต้มต่อ

ธนาคารจะต้องเข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกค้าตลอด Journey และช่วยให้ชีวิตของลูกค้าสามารถบริหารจัดการเรื่องสำคัญได้อย่างรอบด้าน โดยเน้นการทำงานจากทีมภายใน และร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำภายนอก (Partnership) โดยมี ttb touch เป็นตัวขับเคลื่อนให้ลูกค้าบริหารจัดการชีวิตได้อย่างครบวงจร อาทิ สำหรับคนมีรถ จะสามารถบริหารจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับรถ เช่น จ่าย-ตรวจสอบยอดคงเหลือของสินเชื่อรถ ซื้อหรือต่อประกันภัยรถ ต่อ พ.ร.บ. และภาษีรถ เติมเงิน-เช็กยอดบัตรทางด่วน Easy Pass รับสิทธิประโยชน์และส่วนลดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดูแลรถ สมัครสินเชื่อรถแลกเงิน แม้กระทั่งการขายรถแบบ e-Auction ทุกอย่างสามารถทำบนฟีเจอร์ ‘My Car’ บนแอป ttb touch ได้อย่างสะดวก

 

นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญและเร่งทำ คือ การเตรียมความพร้อมบุคลากร เพื่อให้สามารถร่วมกัน transform องค์กรได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเพิ่มศักยภาพและจำนวนทีมงานด้าน Tech & Data ให้มากขึ้น

ที่ผ่านมาธนาคารได้จัดตั้งทีมดิจิทัล ttb spark และ ttb spark academy เพื่อที่จะมุ่งเน้นเรื่องการสร้าง Talent รุ่นใหม่ที่มีความสามารถสอดรับกับโลกธุรกิจผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรมและดิจิทัลโซลูชัน โดยปัจจุบันมีทีมงาน ttb spark มากกว่า 400 คน ดูแลทั้งในส่วนของฝั่ง Tech และ Beyond Banking Business พร้อมผลักดันและพัฒนาแอป ttb touch ให้มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านของ ttb spark academy ก็ได้มีกิจกรรมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำ และมีนักศึกษาเข้ามาฝึกงานด้วยอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดกิจกรรม ttb hackathon: Financial Well-being for Thais ซึ่งมีผู้ร่วมสมัครมากกว่า 100 ทีม ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่เพื่อให้ Talent เหล่านี้สนใจร่วมงานกับธนาคารในอนาคต

ด้วยศักยภาพทั้งหมดของทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ที่มีความพร้อมในทุกด้าน ณ วันนี้ ผนวกกับกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน ที่กล่าวมา จะสามารถทำให้ทีเอ็มบีธนชาตเดินหน้าไปสู่การเป็นธนาคารที่ Make REAL Change เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง