เศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่มีศักยภาพสูง จนโลกตะวันตกส่วนใหญ่หวาดกลัว ในปี 1989 เมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ดีเกือบจะแซงหน้าอเมริกาในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง กลับจบลงที่ภาวะเงินฝืดและความซบเซาได้อย่างไร
ทศวรรษที่ 80 เมื่อญี่ปุ่นยังคงเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต และจุดเริ่มต้นอยู่ในปี 1979 เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สอง เพื่อช่วยเศรษฐกิจจากผลกระทบนี้ ญี่ปุ่นตอบสนองด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง เป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายการเงินที่ทำให้เกิดฟองสบู่สินทรัพย์ การเกิดวิกฤตฟองสบู่ใช้เวลานาน และเริ่มต้นในรูปแบบของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีและมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 โดดเด่นด้านการลงทุนการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่สร้างสินเชื่อในภาคอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมเหล็ก ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และภาคการต่อเรือ
อุตสาหกรรมต่างๆของญี่ปุ่นดูเหมือนจะเติบโตไปในทางที่ดี จนสหรัฐฯ เกรงว่าญี่ปุ่นจะแซงหน้าและกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของอเมริกาอาจจะซบเซ้าลง ชาวอเมริกันจึงสนับสนุนประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ของพรรครีพับลิกัน ซึ่งในปี 1981 เขาจำกัดจำนวนรถยนต์ที่สามารถนำเข้าจากญี่ปุ่นทุกปี จากนั้นในปี 1983 ก็ขึ้นภาษีรถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นสูงถึง 45% เพื่อช่วยรักษารถจักรยานยนต์อเมริกันอย่าง Harley Davidson แต่ในปี 1985 เกิดข้อตกลง Plaza ซึ่งยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น มีความเห็นตรงกันว่าการค้าโลกไม่สมดุล และเงินดอลลาร์แพงเกินไป ดังนั้นในข้อตกลง Plaza ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงสัญญาว่าจะขายทุนสำรองดอลลาร์ เพื่อทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้น และทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลง
หลังจากทำข้อตกลง Plaza ค่าเงินเยนก็เริ่มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จึงเกิดปัญหากับผู้ส่งออกของญี่ปุ่น แต่ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นกลับรู้สึกว่ามีเงินมากขึ้น เนื่องจากของนำเข้าถูก ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ผลข้างเคียงก็คือทำให้การกู้ยืมมากขึ้น จากนั้นจึงเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่ครั้งใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นแก้ปัญหาโดยใช้กฎที่เข้มงวดมากขึ้นในการให้สินเชื่อ แต่ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำก็มีส่วนทำให้เกิดฟองสบู่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 ทั้งราคาทรัพย์สินและราคาหุ้นสูงทะลุเพดาน จนที่ดินผืนเล็กๆซึ่งมีพระราชวังอิมพีเรียลเกียวโตตั้งอยู่ มีราคาประเมินที่สูงกว่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในแคลิฟอร์เนียรวมกัน เมื่อเงินเยนแข็งค่าขึ้นนักลงทุนชาวญี่ปุ่นก็เริ่มซื้อที่ดินหรือบริษัทในนิวยอร์ก และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มองข้ามความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่และมีการกล่าวถึงความเสี่ยงฟองสบู่หลายครั้ง ในปี 1989 ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงทำให้ฟองสบู่แตกในที่สุด หลังจากนั้นความซบเซาและภาวะเงินฝืดก็ปรากฎขึ้น กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดในอีกสามทศวรรษข้างหน้าคือ ภาวะเงินฝืดในช่วงทศวรรษปี 1990 การคาดการณ์เงินเฟ้อในทศวรรษปี 2000 และการลดลงของประชากรในช่วงปี 2010
ในช่วงปี 1990 ภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่นถือว่าอันตรายมาก นอกจากเงินฝืดระบบธนาคารก็ใกล้จะล่มสลาย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงทศวรรษปี 1930 เกิดฟองสบู่แตก ราคาบ้านจึงตกต่ำ ประชากรเริ่มประหยัด และซื้อของน้อยลง ทำให้อุปสงต์ลดลงแต่อุทานยังเท่าเดิม ราคาของสิ่งของจึงลดลงและกลายเป็นภาวะเงินฝืด เมื่อผู้คนมีหนี้สินจำนวนมากประกอบกับภาวะเงินฝืด ทำให้การชำระหนี้ยากขึ้นเนื่องจากมูลค่าหนี้คงที่ ผู้คนรายได้ลดลงจะใช้จ่ายน้อยลงไปอีก ด้วยเหตุนี้ภาวะเงินฝืดจึงหนักขึ้น เพื่อแก้ปัญหาธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงลดอัตราดอกเบี้ยในปี 1991 แต่ก็สายเกินไป ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นและราคาสิ่งของก็ลดลงตลอดช่วงทศวรรษที่ 1990 ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นยังคงลดอัตราดอกเบี้ยอย่างช้าๆ และไม่ได้มีแค่ผู้กู้ประสบปัญหาเท่านั้น ธนาคารต่างๆปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทน้อยลง ทำให้การลงทุนน้อยลงไปด้วย เศรษฐกิจจึงถดถอยมากกว่าเดิม ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องเพิ่มทุนให้กับธนาคาร เพื่อที่จะเริ่มต้นให้กู้ยืมอีกครั้ง การอัดฉีดเงินหลายพันล้านเยนให้กับบริษัททางการเงินที่กำลังซบเซา กลับมีกระแสต่อต้านอย่างรุนแรง ส่งผลให้ภาคการธนาคารยังคงชะลอตัวลง จนถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน 1997 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการธนาคารของญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคม 1997 ญี่ปุ่นเหมือนจะผ่านวิกฤตไปได้ค่อนข้างดี แต่แล้ววันที่ 26 พฤศจิกายน ปี 1997 ก็เกิดฟองสบู่แตกอย่างแท้จริง 7 ปีหลังจากที่ฟองสบู่แตก ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้อีกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0% แล้ว จึงพยายามที่จะหยุดความตื่นตระหนกโดยให้ธนาคารต่างๆอนุญาตให้ลูกค้าเข้าไปให้ได้มากเท่าที่จะเป็นไป ท้ายที่สุดแล้วเหตุการณ์นี้อาจนำไปสู่ความตื่นตระหนกทั่วประเทศ สื่อต่าง ๆ จึงไม่รายงานเรื่องนี้ แต่วิกฤตการณ์ทางการเงินยังคงอยู่ ในปี 1997 และ ปี 1998 สถาบันการเงินรายใหญ่ 7 แห่งล้มเหลว และวิกฤตการณ์ระบบธนาคารก็จบลง พร้อมกับกำจัดปัญหาหนี้ฟองสบู่สินทรัพย์ออกไป
เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ญี่ปุ่นกลับมาในทศวรรษที่ภาวะเงินฝืดอีกครั้ง หนี้ภาคเอกชนหมดไป แต่ยังมีหนี้จำนวนมากปรากฏอยู่ในงบดุลของรัฐบาล และภาวะเงินฝืดก็ไม่ดีสำหรับรัฐบาลที่มีหนี้สูง เนื่องจากหนี้นั้นจะชำระได้ยากขึ้นและภาษีก็จะลดลง แต่มีปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับภาวะเงินฝืด นั่นคือการการออมและการไม่ใช้จ่าย หากผู้คนมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายน้อยลง เศรษฐกิจจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ และนี่คือเหตุผลที่ธนาคารกลางส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปที่อัตราเงินเฟ้อเล็กน้อยอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาลสามารถชำระหนี้ได้ ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ผู้คนใช้จ่ายแทนที่จะถือเงินไว้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นต้องการอัตราเงินเฟ้อเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายแต่ก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากอุปทานไม่สามารถขยายตัวได้เร็วเพียงพอ อัตราเงินเฟ้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 การว่างงานในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5% และอัตราดอกเบี้ยติดอยู่ที่ 0% ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงเริ่มมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ คืออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะต้องไม่ต่ำกว่าศูนย์มากนัก แต่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวซึ่งโดยทั่วไปจะสูงกว่าเพื่อชดเชยผู้ให้กู้ และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะหยุดโครงการทันทีเมื่อภาวะเงินฝืดเปลี่ยนเป็นอัตราเงินเฟ้อ ถึงแม้ว่าการว่างงานจะลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อก็ไม่เกิดขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960 อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 5% ทุกปีดังนั้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สหภาพแรงงานญี่ปุ่นมักเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างอย่างน้อย 5% เพื่อให้ทันกับอัตราเงินเฟ้อสิ่งนี้ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น สำหรับธุรกิจที่ยังคงทำกำไรได้โดยขึ้นราคาอีก 5% หมายความว่าในปีถัดไป อัตราเงินเฟ้อก็อยู่ที่ 5% เช่นกัน และคนงานก็เรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้าง 5% ปัญหาของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษปี 2000 เกิดจากภาวะเงินฝืดในทศวรรษ1990 ทำให้แรงงานชาวญี่ปุ่นคุ้นเคยกับภาวะเงินฝืดเล็กน้อยโดยธรรมชาติ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงลองเสี่ยงและในที่สุดปี 2006 อัตราเงินเฟ้อเล็กน้อยกลับเข้าสู่ญี่ปุ่นอีกครั้ง แต่ก็เกิดวิกฤตการเงินโลกซึงส่งผลกระทบกับญี่ปุ่น แม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินจะเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกลับหดตัวมากกว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาสาเหตุคือญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์และเมื่อความต้องการในยุโรปและสหรัฐอเมริกาลดลงภาคจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงสิ้นสุดอีกทศวรรษด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยและกลับเข้าสู่ภาวะเงินฝืด
ช่วงปี 2010 ภาวะเงินฝืดทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวญี่ปุ่นต้องการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และในปี 2012นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ สัญญาว่าจะปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ เขานำเสนอ Abenomics ประกอบด้วยลูกศรสามดอก
ลูกศรแรกคือนโยบายการเงิน จากอัตราดอกเบี้ยติดอยู่ที่ศูนย์แก้ปัญหาไม่ได้จึงทำให้ติดลบแทน การผ่อนคลายเชิงปริมาณที่ไม่ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อ อาจเป็นเพราะยังทำได้ไม่มากพอ และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มซื้อหนี้รัฐบาลระยะสั้น หนี้รัฐบาลระยะยาว หนี้บริษัทมากขึ้น แต่ก็ยังเข้าสู่ตลาดหุ้นด้วย มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในญี่ปุ่นนั้นรุนแรงมาก จนธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าของประมาณ 70% ของหนี้รัฐบาล หลังจาก covid19ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ยินดีที่จะซื้อพันธบัตรองค์กรระยะยาวมากถึง 15% และผลคือกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดเพียงรายเดียวของญี่ปุ่น
ลูกศรที่สองของ Abenomics คือการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ หนี้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้าใกล้ถึง 240% ของ GDP ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นหนี้มากที่สุดในโลก แต่หนี้ส่วนใหญ่เป็นของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นและประชาชนในประเทศ แม้ว่ารัฐจะเป็นคนใช้จ่ายรายใหญ่ แต่ก็ยังขึ้นภาษีสินค้าอุปโภคบริโภคในปี 2014 และปี 2019 ผลก็คือเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะถดถอย
ลูกศรที่สามของ Abenomics: การปฏิรูปโครงสร้างคือการอนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นมากขึ้นเพื่อเพิ่มการแข่งขันระหว่างบริษัท การลดภาษีสำหรับบริษัท การยกเลิกกฎระเบียบสำหรับบริษัท และมีข้อตกลงทางการค้ากับองค์กรต่างๆ แต่ผลคือพวกเขามักจะไม่นำเงินนั้นไปลงทุน บริษัทต่างๆเก็บเงินได้มากถึง 5% ของที่พวกเขาได้รับในแต่ละปี และภาคครัวเรือนก็ได้เพิ่มการออมขึ้นถึง 4% ทุกปี และเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อครัวเรือนและภาคธุรกิจจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นแทนที่จะประหยัด จึงไม่น่าแปลกใจที่แม้อัตราเงินเฟ้อภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ จะสูงกว่าในทศวรรษก่อนๆ แต่ก็ไม่เคยแตะระดับ 2% นอกจากนี้การบริโภคยังแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลยในช่วงต้นปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2012
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่น คือจำนวนประชากรของญี่ปุ่นลดลงมาก จำนวนประชากรในญี่ปุ่นลดลง ตั้งแต่ Abenomics เริ่มต้นขึ้น พอจำนวนประชากรลดลงคนที่ทำงานก็น้อยลงหมายถึงรายได้ที่ลดลง และความต้องการน้อยลง ประกอบกับเทคโนโลยีที่ดีขึ้นสามารถทดแทนคนงานได้ ภาวะเงินฝืดจึงแก้ไขได้ยาก แต่ GDP ต่อพลเมืองญี่ปุ่น และประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไม่ได้แย่ขนาดนั้น หากแก้ไขจำนวนประชากรที่ลดลง และต้องมีนโยบายการเพิ่มประชากรใหม่ โดยสร้างศูนย์รับเลี้ยงเด็กใหม่หลายแห่ง และขยายการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร นอกจากนี้ยังพยายามหาผู้อพยพเข้ามาทำงานในญี่ปุ่นมากขึ้นอีกด้วย
งานเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
751309 Macro Economic 2
ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานชิ้นนี้ เขียนโดย
วิชชา เครือตา 651610403