2 Min

‘ทำทำไม’ ‘เด็กเต็มใจหรือไม่’ ‘มีประโยชน์อย่างไร’ หลากคำถามถึงโบสถ์ดัง จังหวัดราชบุรี หลังโพสต์ภาพ เด็กโกนหัวเลียนแบบนักบุญ

2 Min
220 Views
12 Jun 2024

กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊กของโบสถ์คาทอลิกชื่อดังแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ได้โพสต์ภาพของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง ที่มาพร้อมกับแคปชันว่าทีมเด็กช่วยมิสซาวัดนักบุญอันตน สำหรับนพวารพร้อมครับ!!! #อย่าลืมมาถ่ายรูปกับพวกผมนะคร้าบบบบบ วัดนักบุญอันตน ดอนมดตะนอย (ST.Anthony Church Donmottanoi)”

โดยในโพสต์นี้มาพร้อมกับภาพเด็กนักเรียนที่ตัดผมในทรงที่เรียกว่าทอนเชอร์’ (Tonsure) ซึ่งเป็นทรงผมที่เกิดขึ้นจากวัตรปฏิบัติทางศาสนาที่พบเห็นได้ทั่วโลกจากศาสนาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก โดยทอนเชอร์นั้น เป็นการตัดหรือโกนผมบางส่วนบริเวณกลางศีรษะ (แต่บางเคสโกนทั้งหมดก็มี) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการอุทิศตนให้แก่ศาสนาหรือความอ่อนน้อมถ่อมตน ทอนเชอร์เป็นที่นิยมมากในยุคกลาง ในบรรดานักบวชคณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) ที่มีวัตรปฏิบัติเน้นเรื่องถือศีลเคร่งครัด ถือสันโดษ และใช้ชีวิตอย่างยากจนเพื่อพระเจ้า แต่ทอนเชอร์นี้ก็ถูกยกเลิกไปโดยคําสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปาในปี 1972

กระนั้น ทอนเชอร์ก็ยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน โดยเป็นเครื่องหมายของผู้ศรัทธา และสัญลักษณ์ของการละทิ้งทางโลก โดยบุคคลที่โกนผมทรงทอนเชอร์ที่อาจมีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกนั้นคือนักบุญอันตน แห่งปาดัว’ (St.Anthony of Padua) นักบุญชาวอิตาลีที่ได้รับชายาว่านักปราชญ์แห่งศาสนจักรจากการเทศน์ให้คนต่างศาสนาเปลี่ยนใจมาศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิกเป็นจำนวนมาก ซึ่งนักบุญอันตนนี้ก็เป็นที่มาของ ชื่อโบสถ์กลังดังกล่าวในจังหวัดราชบุรีนั่นเอง

ทั้งนี้ข้อความจากเพจของโบสถ์ ก็ไม่ได้ระบุรายละเอียดมากนักว่าที่มาที่ไปของการที่เด็กกลุ่มนี้โกนผมแบบทอนเชอร์มาจากอะไร และรู้เพียงว่าเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นเด็กช่วยมิสซา’ (Altar server) หรือกลุ่มเยาวชนที่คอยช่วยทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในพิธีมิสซาของทางโบสถ์เท่านั้น แน่นอนว่าพอมีเด็กซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง สังคมก็เริ่มตั้งคำถามหลากหลายประเด็นต่อเรื่องนี้กันไปต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็น

ตัดไปเพื่ออะไร

เด็กๆ เต็มใจตัดหรือไม่

ถามความสมัครใจหรือเปล่า

มันมีประโยชน์อย่างไรจากการโกนผมแบบนี้

นอกจากนี้ได้มีคำทักท้วงจากบางฝ่ายว่า แม้เด็กจะทำด้วยความเต็มใจและศรัทธาจริงๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กตัดผมทรงนี้ เพราะน้องๆ เป็นเพียงเยาวชนที่มาช่วยงานของทางโบสถ์เท่านั้น ไม่ใช่นักบวชที่จะตัดขาดทางโลกแต่อย่างใด ซึ่งรายละเอียดและคำตอบของคำถามเหล่านี้จะเป็นเช่นไร ก็คงต้องรอให้ทางโบสถ์เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดกันต่อไป

อ้างอิง