คุยกับ ‘เบสท์-วรรจธนภูมิ’ ผู้กํากับ School Town King กับความฝันที่อยากทะลุฝ้าของ Eyedropper Fill
Select Paragraph To Read
- -เปิดเทอม-
- -โฮมรูม-
- -เพื่อนใหม่-
- -วิชาแรก-
- -การบ้าน-
- -แบบทดสอบ-
- -วิชาเลือก-
- -สําเร็จการศึกษา-
School Town King แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน คือผลงานกำกับของ เบสท์-วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย ที่คว้ารางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมบนเวทีประกาศผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 29
เมื่อ 3 ปีก่อน เรารู้จักชุมชนคลองเตยในมุมมองใหม่ผ่านโครงการ Connext Klongtoey โปรเจกต์ของ Eyedropper Fill ที่พาเราไปสำรวจชีวิตและความฝันของเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่หลายคนเรียกว่า ‘สลัมคลองเตย’ ผ่านเพลงแร็ป แฟชั่น ภาพถ่าย ไปจนถึงนิทรรศการศิลปะ
ปลายปีที่ผ่านมา เรื่องราวของเด็กๆ ในชุมชนคลองเตยถูกหยิบยกมาเล่าอีกครั้ง ผ่านภาพยนตร์สารคดี ‘School Town King’ ที่ตามติดชีวิตของ บุ๊ค–ธนายุทธ ณ อยุธยา a.k.a Elevenfinger และ นนท์–นนทวัฒน์ โตมา a.k.a Crazy Kids นักเรียนมัธยมปลายที่ฝันอยากเป็นแร็ปเปอร์ระดับประเทศ ทว่าเส้นทางมุ่งสู่ความฝันของทั้งคู่กลับไม่ง่ายดาย
แม้เบื้องหน้าของ School Town King จะเล่าเส้นทางความฝันของวัยรุ่นสองคน แต่เบื้องลึกเบื้องหลัง ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้กำลังขุดลึกลงไปถึงรากแห่งความเหลื่อมล้ำและชำแหละความเน่าเฟะของระบบการศึกษาไทยที่ทำให้เด็กหมดสิทธิ์ฝัน นี่จึงเป็นประสบการณ์ร่วมที่ทำให้หลายคนอินได้ไม่ยาก
เพราะไม่ว่าจะเติบโตมาแบบไหน เราทุกคนต่างมีช่วงชีวิตที่ต้องตัดสินใจเลือกเส้นทางไม่ต่างจาก ‘บุ๊ค’ หรือ ‘นนท์’ และไม่เว้นแม้แต่ ‘เบสท์’ ผู้กำกับ School Town King และ ผู้อยู่เบื้องหลัง Eyedropper Fill ที่ตัดสินใจเลือกทางเดินใหม่อีกครั้งในวัย 32 ปี
มาคุยกับ ‘เบสท์-วรรจธนภูมิ’ ผู้กำกับ School Town King ในวันที่อยากพา Eyedropper Fill ทะลุฝ้าไปถึงฝันกันในบทสัมภาษณ์นี้เลย
-เปิดเทอม-
ทําไม School Town King ถึงเลือกเล่าเรื่องของเด็กในชุมชนคลองเตย
ต้องย้อนไปว่าเราสนใจเรื่องการศึกษามาก่อน เพราะตอนเด็กค่อนข้างมีปัญหากับโรงเรียนเหมือนกัน ประเด็นนี้มันค้างอยู่ในตัวมานาน แต่เราไม่รู้จะทํายังไงดี เราเลยคิดว่าเคลื่อนมันจากเรื่องส่วนตัวมาเป็นเรื่องของทุกๆ คนดีกว่า เพราะการศึกษามันเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนเจอไม่มากก็น้อย จนได้มาเวิร์คช็อปกับเด็กๆ ตอนทํา Connext Klongtoey
วันแรกที่ไปคลองเตยจําได้ว่า เหวอแดก เราไปบรรยายเกี่ยวกับศิลปะที่โรงเรียน เจอเด็กตะโกนทั้งห้องเลย เล่นกันระหว่างที่เราพูด ครูก็คุมห้องลําบาก อันนั้นคือคาบเช้า แต่พอคาบบ่ายเราทําเวิร์คช็อปฉายโปรเจ็กเตอร์ แล้วพูดเรื่องรุ้งกับวิทยาศาสตร์ มันคือโมเมนต์ที่เด็ก shine out มาก เขาแสดงความครีเอทีฟออกมา เราบอกให้เอาวัสดุอะไรก็ได้ที่สะท้อนแสงมาเขาก็ไปหยิบพวกวอกเกิ้ลลูกเสือหรือกระจกแต่งหน้ามาเล่นสนุกกัน ครูเอง ก็บอกว่าเด็กที่นี่เก่งกิจกรรมไม่ได้เก่งวิชาการ เราเลยสนใจทําโปรเจกต์อะไรบางอย่างกับพวกเขา
จาก Connext Klongtoey กลายมาเป็น School Town king ได้ยังไง
ตอนเราทํา Connext Klongtoey รู้สึกว่ามันมีหลายประเด็นทับซ้อนกันอยู่ แต่ด้วยรูปแบบงานของ Eyedropper Fill ที่มันจบในตัวเอง พอเวิร์คช็อปจบ นิทรรศการจบ แผ่นเพลงหรือหนังสือขายหมด เราพบว่ายังมีประเด็นหลงเหลืออยู่ และควรจะหาช่องทางทําอะไรให้มันยังสามารถพูดถึงมันได้ต่อ ซึ่งก็คิดว่าเป็น ภาพยนตร์สารคดี ที่ชวนคนมาลองฟังเสียงของน้องๆ เพราะคนในคลองเตยคือเพื่อนร่วมสังคมเดียวกับเรา บางทีเราไปซื้อของ ไปห้าง หรือนั่งวินมอเตอร์ไซค์แถวสุขุมวิท ก็อาจจะเจอคนจากคลองเตยหลายหมื่นชีวิตที่ออกมาทํางานรับจ้าง ซึ่งการที่เราจะอยู่ร่วมกันในสังคมมันควรจะเข้าใจคนที่อยู่ในเมืองเดียวกับเรา
-โฮมรูม-
เด็กๆ คลองเตยรู้สึกยังไงที่คนมีภาพจําเกี่ยวกับเขาไม่ค่อยดี
เขาพยายามบอกว่ามันไม่ใช่แค่คลองเตยที่มีแต่คนไม่ดี จริงๆ แล้วทุกพื้นที่มันมีคนไม่ดีเหมือนกัน อย่าตีตราคลองเตยแบบนั้นได้ไหม เราคิดว่าเด็กๆ ดูถูกตัวเองประมาณหนึ่ง ด้วยความที่เขามองตัวเองเป็นเด็กสลัม ซึ่งคํานี้คนมักจะพูดถึงในเชิงลบอยู่แล้ว เลยทําให้การที่เขาจะทะลุมาเป็นแค่คนที่ภาคภูมิใจในตัวเองได้มันยากเหลือเกิน ซึ่งมันเป็นความทรงจําร่วมที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น พอคนรุ่นพ่อรุ่นปู่คิดอย่างนี้เขาก็ดูถูกลูกหลาน ตัวเองด้วยเช่นกัน สุดท้ายมันกลายเป็นปราการที่ทําให้เด็กรู้สึกเหมือนในเรื่อง School Town King คือมันยากที่จะทะลุฝ้า แค่เกิดมาก็ได้ยินคนพูดหรือโดนมองแบบนี้แล้ว
-เพื่อนใหม่-
เพราะอะไรถึงเลือกหยิบชีวิตของ ‘บุ๊ค’ และ ‘นนท์’ มาเล่าใน School Town king
เราลงพื้นที่ไป 150 กว่าวัน ช่วงประมาณ 50-60 วันแรกตั้งใจจะทําหนังบันทึกเบื้องหลังโครงการ Connext Klongtoey พอถ่ายโครงการเสร็จก็ตาม ถ่าย ‘บุ๊ค’ กับ ‘นนท์’ ต่อ ซึ่งตัวละครหลักสองคนนี้เราเจอตั้งแต่ตอนทําเวิร์คช็อป แล้วรู้สึกว่าเด็กสองคนนี้ทัศนคติดี มีสกิลแร็ปที่น่าสนใจก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนเวย์ดีกว่า มีอีกหลายคนที่ตามถ่ายแต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ เพราะรู้สึกว่าการมีสองคนนี้ให้โฟกัส น่าจะพาคนดูไปได้ไกลกว่า แต่ก็เพิ่งมาค้นพบตอนที่ถ่ายไปเกือบร้อยวันแล้ว
ลงพื้นที่ถ่ายทํานานถึง 2 ปี เคยมีช่วงเวลาที่คิดว่าถ่ายไปทําไมบ้างไหม
มีนะ เพราะเราทําโปรเจ็กต์นี้ด้วยเงินตัวเอง มีสปอนเซอร์เข้ามาก็ตอนเกือบจะตัดต่อแล้ว พอเราต้องทําธุรกิจเราก็ตั้งคําถามเหมือนกัน นี่กูทําอะไรวะ เนี่ย ในแง่ของธุรกิจมันพังอะ ตอนนั้นเรายังไฟแรงและยังมีเงินอยู่ แต่ตอนนี้เราต้องกลับมามองเรื่องนี้มากขึ้น เศรษฐกิจแบบนี้จะยังทําโปรเจ็กต์แบบนี้อีกไหม มันเสี่ยงนะ
-วิชาแรก-
ความเหลื่อมล้ำมันกัดกินชีวิตพวกเขายังไง
เวลาคนมองเข้าไปอาจจะคิดว่า ทําไมมึงไม่ขยันกว่านี้ งานก็มีเยอะแยะ แต่พอมาดูจริงๆ ต้องรู้ว่าต้นทุนเขาไม่เหมือนเรา บางคนโตมาก็แบบโตมาก็เป็นโรคสมาธิสั้นแล้ว เด็กที่คลองเตยเป็นออทิสติกเยอะมาก สมาธิสั้น สมองพัฒนาช้า เพราะการกินอยู่ของเขา หรือการเลี้ยงดูเมื่อเทียบกับลูก คนรวยหรือชนชั้นกลาง พ่อแม่มีเงินจ่ายค่าเรียนพิเศษ มีอาหารดีๆ ให้กินตั้งแต่เกิด ต้นทุนมันก็ไม่เหมือนกันแล้ว อันนี้บางคนเกิดจากหมอตําแย หรือ เกิดจากการทําคลอดเอง บางคนโตมาแบบไม่ได้กินนมแม่เลย สิ่งเหล่านี้มันมีผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งนั้น
อยากให้ทุกคนเข้าใจเด็กคลองเตยว่ากว่าจะทะลุฝ้าได้เขาต้องใช้ความพยายามสูงมาก จะแร็ปมึงต้องออกจากโรงเรียน มันคืออีหยังวะ มันเป็นไปได้ ไหมที่เราทําให้เด็กพวกนี้ก็ยังอยู่ในระบบการศึกษา แน่นอนว่าผู้ใหญ่อาจจะมองว่าคนที่ลาออกคือคนล้มเหลว แต่ถามว่าคนอย่างบุ๊คมันเฟลเหรอ วะ? แม่งคือคนที่เรียนเก่งมากๆ ด้วยซ้ํา แค่เขาหมกมุ่นกับบางสิ่งมากๆ จนไม่ได้สนใจเรื่องอื่นเหมือนเป็นศิลปิน ซึ่งอันนี้ไม่ใช่ความผิดของเขาด้วย เราว่าไม่ใช่คนในกระทรวงศึกษาธิการไม่รู้ คนในกระทรวงก็รู้แหละ แต่เขาก็เคลื่อนตัวยาก เราก็คิดว่าทําไงดีวะ งั้นกลับมาที่ตัวเองก่อน ในฐานะคนทํามีเดียเราแค่ต้องส่งเสียงตรงนี้ออกไปให้ได้ เราไม่รู้ว่าหนังเรื่องนี้จะไปถึงไหน อย่างน้อยไปไม่ถึงระบบ ไม่ถึงคนในกระทรวง ก็สร้างความคิดความเข้าใจให้คนกันเองนี่แหละ ให้เขาเห็นว่ามันมีสิ่งนี้จริงๆ แล้วเราก็อยากให้คนเกิดความเข้าใจกันมากขึ้น
-การบ้าน-
จริงๆ พวกเขาอาจจะอยู่กันปกติดี เราอาจจะมองด้วยสายตาของคนนอกก็ได้ เคยคิดแบบนี้หรือเปล่า
เราว่าเราจะเริ่มเห็นตัวเองชัดขึ้น ต่อเมื่อมีคนอื่นหันมามองเราด้วย มันไม่มีอะไรผิดถูก แต่ที่แน่ๆ เราว่าคนอยากมีชีวิตที่ดี คงไม่มีใครอยากอยู่อย่างนี้ ไปเรื่อยๆ หรอก หรือเราเองก็ตาม ที่เราอยู่บ้าน อยู่ออฟฟิศทุกวันนี้ เราก็อยากจะมีตังค์เยอะกว่านี้ หรือมีชีวิตที่สุขภาพดีกว่านี้ ซึ่งเราว่าคนที่นั่นก็รู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน
School Town king ช่วยเปลี่ยนแปลงมันได้ยังไงบ้าง
จริงๆ แล้ว เราโกรธที่ทําได้แค่นี้ เพราะเราไม่ใช่นักการเมือง เราก็ทําในส่วนที่ตัวเองจัดการได้ ใช้งานของตัวเองเชื่อมให้คนอื่นเข้าใจถึงภาวะของเด็กในยุคนี้ ที่เติบโตมาแล้วต้องต่อสู้กับอะไรบ้าง รัฐได้จัดสรรทรัพยากรให้ทุกคนเข้าถึงไหม? รัฐได้สร้างความหวังในการอยู่ในประเทศนี้ให้กับเด็กไหม? นอกจากเด็กแล้วครอบครัว ครู ชุมชน เขาทำไงกับสิ่งนี้บ้าง? เราไม่ได้คิดจะ เปลี่ยนแปลงหน้ามือเป็นหลังมือ แต่เราใช้เวลาสองปีทําสองโปรเจ็กต์นี้ เป้าหมายหลักคือเพื่อแค่ทําให้คนเข้าใจกันก่อน เป็นความเข้าใจด้วยความรู้สึก เราเชื่อเรื่องความรู้สึกนะ เพราะหลายครั้งที่เราออกมาเคลื่อนไหวอะไรบางอย่าง เราเริ่มต้นจากความรู้สึกที่ไม่อยากให้เขาหรือแม้กระทั่งเราอยู่ในความเน่าเฟะนี้ต่อไป มันอาจจะเรียกได้ว่า ‘sense of empathy’ สังเกตได้ชัดมากอย่างเช่น ตอนที่ตํารวจฉีดน้ําสีน้ําเงินตรง หน้าสยาม ทุกคนโกรธมาก แม้จะไม่ได้ยืนอยู่ตรงนั้น แต่ทุกคนรู้สึกได้ว่ามันรู้สึกยังไง เราเองก็เชื่อว่าสื่อของภาพยนตร์มันทำหน้าที่แบบนั้น
-แบบทดสอบ-
รู้ตัวเองตั้งแต่เมื่อไหร่ว่าตัวเองชอบสารคดี
เราเป็นคนทําหลายอย่าง แล้วก็รู้สึกว่าจริงๆ เราอาจจะไม่ได้เป็นคนชอบทําสารคดีอย่างเดียว แต่เคยตั้งคําถามว่าทําไมเราถึงชอบทําสารคดีวะ ถ้าไม่มีการถ่ายทํา เราจะยังรักการทําสารคดีอยู่ไหม สุดท้ายเราก็ตอบว่า ใช่
เริ่มทําสารคดีนานหรือยัง
จริงๆ เราทําสารคดีมาสิบกว่าปีก่อนที่คนจะมาทํา Eyedropper Fill ด้วยซ้ำ แต่ทําหนังสั้น
เพราะอะไรถึงชอบมัน
เรารู้สึกว่าใจความของการทําสารคดีคือการได้ไปใช้ชีวิตรับฟัง อยู่ร่วมกับคนที่แตกต่างแต่มันเป็นธรรมชาติของเราที่ชอบทําความเข้าใจคน ชอบฟังคนอื่นอยู่แล้ว พอทําสารคดีเราเลยได้ใช้สกิลนี้ของตัวเอง
สารคดีในมุมมองเบสท์คืออะไร ทํามาตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว
เราว่ามันคือการฟังสําหรับเรา กระบวนการทําสารคดีการเข้าไปฟัง แล้วการที่ทําให้คนอื่นได้ฟัง คือการเข้าไปฟังเสียง เรื่องราวชีวิตของเขา เพื่อให้คนอื่นได้ยินเสียง เรื่องราวชีวิตของคนนี้ สําหรับเราความหมายของสารคดมีมันคือมีเดียนึงที่ทําให้คนที่ได้ฟัง ได้เข้าใจมุมมองที่แตกต่างของอีกคนนึง เราไม่ได้ทําแค่สารคดีเราก็ย้ายมีเดียได้ไงแค่นั้นเอง
-วิชาเลือก-
แต่สิ่งที่ Eyedropper Fill ทํามาก่อนหน้านี้เป็นเรื่องเทคโนโลยีมากกว่า
จริงๆ แล้วเราว่าเวลาคนมอง Eyedropper Fill มักจะมองเป็นเลเยอร์บน คือมองว่าเป็นมีเดียล้ำๆ ซึ่งเอาจริงเราก็ชอบเทคโนโลยีแหละ เพียงแต่ตอนนั้นเราทําเพื่อลูกค้า เพื่อแบรนด์ ซึ่งมันก็นําพาไปสู่เส้นทางอาชีพของเราในวันนี้ แต่ในอีกเลเยอร์หนึ่งที่คนมักไม่ได้มอง มันคือสิ่งที่เราสนใจ อย่าง ประเด็นทางสังคม เราไม่ค่อยนําเสนอตัวเองมุมนี้เมื่อหลายปีก่อนเพราะกลัวคนจะงง เคยคิดจะแยกมันออกมาเป็นอีกชื่อหนึ่งเลย แต่ไปๆ มาๆ กลับ รู้สึกว่าอยู่บนเรือสองแคมไม่ได้ ก็เลยดันเส้นทางที่คนมองเห็นไปก่อน แต่พอเป็นวันนี้ ด้วยวัยนี้ ถ้าจะต้องเลือกเราขอเอาความสนใจเป็นเส้นหลักดีกว่า
วัยมีผลยังไงบ้างกับการเลือกเส้นทาง
เราเพิ่งเรียนรู้ว่า 10 ปีที่ผ่านมา มันคือการเรียนรู้เรื่องเครื่องมือและวิธีการสื่อสาร เพราะเราทํามาทุกมีเดียเลยก็ว่าได้ ตอนนั้นเป้าหมายความรู้ของเรา คือการเอาไปซัพพอร์ตเรื่องเงิน ซึ่งมันฝึกให้เราเข้าใจลูกค้าและธุรกิจไปด้วย
เราว่าหลายคนเป็นเหมือนกัน ทํางานหาเงิน แต่อีกมุมก็ยังสนใจเรื่องการเมือง เรื่องประเด็นสังคม เพียงแค่บางคนไม่ได้คิดว่าจะต้องเปลี่ยนสิ่งนี้ให้กลายเป็นงานหลัก แต่เราดันเป็นคนทําอะไรแล้วก็อยากจะทํามันแค่อย่างเดียว พอหยิบประเด็นเรื่องสังคมการเมืองขึ้นมาเรื่อยๆ ก็เลยคิดว่าก็เปลี่ยนทางเลยดีไหม
-สําเร็จการศึกษา-
School town king ให้อะไรกับเราบ้าง
ตอนนี้เราอายุ 32 เราทําหนังเรื่องนั้นตอนประมาณ 30 เราเพิ่งค้นพบว่าความสนุกของเราคือการได้ไปอยู่กับเด็ก แล้วก็และเป็นคนชอบเด็ก จริงๆ ก่อนหน้านี้เราเข้ากับเด็กไม่ค่อยได้ แต่พอมาอยู่กับเด็กวัยรุ่น สรุปแม่งมันส์ว่ะ มันทําให้เรานึกถึงตัวเองตอนเด็กๆ ว่าจะมีช่วงวัยหนึ่งของคนที่ไม่ค่อย คิดหน้าคิดหลัง ซึ่งในแง่หนึ่งเราว่าดี อย่างบุ๊คกับนนท์คือไฟท่วมมาก เด็กมันยังไม่เห็นโลกความจริงเยอะแล้วการที่ไม่เห็นโลกความจริงเยอะ ส่วนหนึ่งมันทําให้กล้าทําอะไรในแบบที่ถ้าคนโตมากๆ พอโตมาเราเหมือนมีเงื่อนไขในชีวิตเยอะ จนทําให้เราคิดเยอะมาก กว่าจะลงมือทําอีก ทั้งที่ตอนเด็กเราเป็นคนทําอะไรไม่แคร์ นี่มันคือพาร์ทที่เห็นความเป็นเด็กในตัวเองเลย
สังคมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มันทําร้ายตัวเรายังไง
หลายครั้งที่โลกความจริงมันทําลายความฝันของเรา แต่เราต้องต่อสู้เพื่อให้ตัวเองได้ทําอะไรที่ตัวเองอยากทํา แม้ว่าบางอย่างอาจจะทําได้ไม่เต็มที่เพราะมีเงื่อนไข สุดท้าย พอเริ่มโตขึ้นเราก็เห็นแล้วว่าที่เขาบอกว่าความจริงมันโหดร้าย มันเป็น