ผู้เชี่ยวชาญแนะ หากพูดขอโทษ ไม่ควรมีคำว่า ‘ถ้า’ หรือ ‘แต่’ เพราะมันดูเสแสร้ง และไม่จริงใจ
ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบใด ไม่มีทางที่จะมีความคิดเห็นตรงกันทุกเรื่อง ทำให้มีการทะเลาะ หรือผิดใจกันบ้าง ซึ่งเมื่อไหร่ที่ต่างคนต่างรู้ว่าทำผิด ควรรู้จักที่จะ ‘ขอโทษ’ เพราะการขอโทษเป็นเครื่องมือที่คนเราใช้ เพื่อปรับความเข้าใจ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันไว้
โดยการกล่าวคำขอโทษมีหลากหลายรูปแบบขณะเดียวมันจะมีความหมายกับคนฟังก็ต่อเมื่อพูดออกไปด้วยความจริงใจรู้สึกสำนึกผิดจริงๆไม่ใช่การพูดออกไปอย่างนั้นและควรบอกให้ชัดเจนเลยว่าจะรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำผิดพลาดไปอย่างไร
ซึ่งไม่นานมานี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารได้ออกมากล่าวถึงแง่บวกของการรู้จักขอโทษว่าการขอโทษอย่างแท้จริงสามารถสร้างความมหัศจรรย์ให้กับตัวเองและผู้อื่นได้ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศที่วุ่นวายสับสนให้กลายเป็นช่วงเวลาล้ำค่าขึ้นมา
พร้อมกับให้คำแนะนำว่า การพูดขอโทษที่ดี ควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้คำ 2 คำ นั่นก็คือคำว่า ‘ถ้า’ หรือ ‘แต่’ เนื่องจากการพูดด้วยคำเหล่านี้ มันดูเหมือนเสแสร้ง และไม่จริงใจ
แล้วเหตุผลอะไร? การขอโทษถึงไม่ควรมีคำว่าถ้าหรือแต่
การใช้คำว่าถ้าสามารถสะท้อนว่าคุณไม่ตระหนักถึงความผิดที่เกิดขึ้นเพราะเวลาขอโทษแล้วเลือกใช้คำดังกล่าวเหมือนเป็นการแก้ตัวเพื่อให้คำขอโทษดูดีขึ้นขณะเดียวกันมันยังเป็นการตั้งคำถามถึงปฏิกิริยาของผู้ฟังต่อคำขอโทษของคุณแทนที่จะพูดถึงความผิดพลาดของตัวเอง
ที่แย่ไปกว่านั้น เมื่อพูดคำขอโทษแล้วมีคำว่าถ้า เหมือนคุณพยายามที่จะปัดความรับผิดชอบออกไป หรือโยนความผิด ยกตัวอย่างเช่น “ฉันขอโทษ ถ้ามันไปสร้างบาดแผลในจิตใจเธอ จนเธอมองไม่เห็นว่าการกระทำของเธอมันก็เกินไปด้วย”
และแม้จะลองตีความอธิบายใหม่ แบบใจกว้างแล้วก็ตาม แต่มันยังคงเป็นการขอโทษที่ดูเป็นความอยากรู้อยากเห็น เสียมากกว่าการรับรู้ถึงความผิดของตัวเอง
ส่วนอีกคำว่าคือ แต่ คำนี้สะท้อนถึงการที่คุณไม่รับผิดชอบต่อการกระทำที่ผิดพลาดของตัวเอง ลองนึกภาพตามง่ายๆ “ฉันขอโทษ แต่….” มันทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าไม่ใช่แค่คุณกำลังพยายาม ‘หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ’ เพียงเท่านั้น แต่ยังเหมือนคุณกำลังจะพูดถึง ‘ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น’ อีก
ยกตัวอย่าง เช่น หากคุณพูดว่า “ฉันขอโทษ แต่เพราะฉันมีเรื่องทุกข์ใจในตอนเช้า” คนฟังหรืออีกฝ่ายอาจสงสัยว่าถ้าหากคุณเจอเรื่องทุกข์ใจเแบบนี้อีกครั้งคุณจะทำพฤติกรรมซ้ำอีกหรือไม่
รวมถึงประโยคสุดจะคลาสสิกอย่าง “ฉันขอโทษ แต่ฉันไม่ได้หมายความอย่างนั้น” มันแสดงถึงความพยายามที่จะแก้ตัว เวลาที่ตัวเองทำผิดได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดีการพูดขอโทษที่อาจจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกแย่น้อยลงคือการอธิบายหรือคิดให้ดีก่อนพูดอาจจะพยายามบอกถึงสิ่งที่คุณกำลังต้องเผชิญหน้าหรือมีปัญหายากลำบากอะไรที่กำลังประสบอยู่บ้างที่สำคัญก่อนที่จะพูดคำขอโทษควรคิดคำอธิบายหรือคิดให้ดีก่อนพูดเพื่อแสดงถึงความรู้สึกยอมรับผิดต่อการกระทำนั้นๆที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีก
พร้อมกับการรู้จักขอโทษยังต้องรู้จักปรับตัวและเรียนรู้จากสิ่งที่ทำผิดพลาดด้วยถึงแม้บางครั้งคำขอโทษที่จริงใจอาจไม่สามารถทำให้สิ่งที่สูญเสียไปกลับมาเหมือนเดิมได้ทั้งหมดแต่อย่างน้อยมันก็ช่วยเยียวยาความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ไม่มากก็น้อยนะ
อ้างอิง
- cnbc. Never use these 2 words when giving an apology—they make you sound ‘fake and insincere,’ say experts. https://cnb.cx/3zxAkC3