1 Min

ไม่ผ่าน QC แต่ก็กินได้! ‘กูลิโกะ’ นำขนมที่มีตำหนิออกวางขายในราคาถูกลง เพื่อลดปัญหาการทิ้งขว้างอาหาร

1 Min
997 Views
28 Oct 2021

หลังจากที่หลายประเทศทั่วโลก รวมไปถึงมีบริษัทมากมายที่เริ่มหันมาตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะเลี่ยงไม่ว่าด้วยกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ ย่อมไม่เกิดความสมบูรณ์ 100% ในทุกครั้งอยู่แล้ว ซึ่งมักจะส่งผลให้กลายเป็นของเสีย ที่ไม่ผ่านมาตรฐานคุณภาพ (QC) ต้องทิ้งๆ ขว้างๆ จนในที่สุดก็มาสู่ปัญหา “ขยะ” เฉกเช่นปัจจุบัน

โดยเมื่อไม่นานมานี้ ทางบริษัทกูลิโกะ แบรนด์ผู้ผลิตขนมชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น ก็กำลังประสบกับปัญหาของเสีย ที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต เนื่องจากมีขนมป๊อกกี้ หรือคาปุลิโกะนั้นมีตำหนิจำนวนมาก เช่น แตก หัก มีรอยแหว่ง เลยถูกคัดทิ้งออกมา ไม่สามารถบรรจุใส่กล่องเพื่อวางจำหน่ายได้ ซึ่งถ้าหากขายออกไปอาจจะถูกเหล่าผู้บริโภคต่อว่าเอาได้

จนกระทั่งกูลิโกะริเริ่มไอเดีย โดยการปรับเปลี่ยนนโยบายให้วางจำหน่ายขนมแบบใหม่ที่มีตำหนินี่แหละ ซึ่งก็ยอมรับกันตรงๆ เลยว่า ป็อกกี้ หรือคาปุลิโกะในกล่องนี้ไม่สมบูรณ์ อาจจะมีแตก หัก หรือแหว่งไปบ้าง แต่ยังคงเดิมในเรื่องคุณภาพ และรสชาติไว้ ไม่ให้แตกต่างกับขนมสมบูรณ์เท่าไรนัก

นอกจากนั้นที่ตัวกล่องของขนมก็จะมีรูปภาพแสดงให้เห็นไปเลยว่า ขนมตำหนิมีหน้าตาเป็นอย่างไร แถมยังจำหน่ายในราคาที่ถูกลงจากเดิมที่ขายแท่งละ 100 เยน (ประมาณ 29 บาท) ซึ่งขนมรุ่นมีตำหนินี้ 1 กล่องใหญ่ มี 10 แท่ง ราคาจะอยู่ที่ 735 เยน หรือประมาณ 215 บาท

ทั้งนี้จุดประสงค์หลักของไอเดียดังกล่าวก็คือ เพื่อต้องการช่วยลดการโยนทิ้งขวางอาหารนั่นเอง

เพราะเดิมทีขนมที่มีตำหนิจะไม่วางจำหน่าย แต่ไม่ต้องกังวลไปเนื่องจากทางบริษัทเองก็จะมีมาตรฐานอยู่ว่า “ตำหนิ” ที่ว่านั้นคือมีตำหนิมากน้อยแค่ไหน

ซึ่งทางกลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบขนมดังกล่าวหลายคนก็มองว่าตัดสินใจซื้อ เพราะไม่ได้สนใจตำหนิอะไร รสชาติยังอร่อยเหมือนเดิม หรือบางคนก็บอกว่าพอราคาถูกลงก็สามารถซื้อกินได้เยอะมากขึ้น

อย่างไรก็ตามนับเป็นหนึ่งไอเดียที่สร้างสรรค์ และเป็นมิตรต่อโลก ซึ่งทางแบรนด์มีมุมมอง ความรู้ และความเข้าใจใหม่ๆ เพราะใช่ว่าของเสียจะต้องนำไปทิ้งขว้าง หรือเป็นขยะอย่างเดียวเสมอไป แต่ถ้ารู้จักนำวัตถุดิบเหล่านั้นมาดัดแปลง ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ละจะดีกว่าไหม อีกทั้งไม่แน่ว่าแนวคิดข้างต้นจะสามารถเป็นจุดขายของแบรนด์ในอนาคต

อ้างอิง