คุยกับ 3 เดอะแบก ถึงการมีกันของคนในครอบครัวคือสิ่งสำคัญ ที่ช่วยตอกย้ำชีวิตมีกัน…ทุกวันดีกว่า ตามความเชื่อของ ‘พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต’
เมื่อโลกของเราหมุนไป และสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนต้องปรับตัวให้เท่าทันในทุกมิติ ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ รวมถึงการสื่อสาร ทักษะต่างๆ โดยเฉพาะการใช้ชีวิต จนส่งผลต่อผู้คนต้องให้กลายเป็นเหล่า ‘เดอะแบก’ ที่คอยแบกรับภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ความสัมพันธ์รอบตัว การงาน การเงิน กระทั่งพลังกาย
ซึ่งจากหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้น การที่เดอะแบกทั้งหลายจะสามารถเผชิญหน้าหรือก้าวข้ามผ่านไปได้นั้น จำเป็นที่ต้องได้รับการซัพพอร์ตที่ดีจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนในครอบครัว
วันนี้จึงอยากชวนทุกคนมารับฟังแนวคิดของเดอะแบก 3 กลุ่ม อย่าง ‘เฟื่องลดา’ สรานี สงวนเรือง, ‘หงส์’ ญดา ดนุก้องภพพ์ และ ‘พอร์ช’ อภิวัฒน์ อภิวัฒน์เสรี กับ ‘อาม’ สัพพัญญู ปนาทกุล มาพูดคุยในอีกแง่มุมหนึ่งของชีวิตที่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังมาก่อน
ถึงมุมมองของการซัพพอร์ตของครอบครัว จากจุดเริ่มต้นจนมาถึงความสำเร็จในวันนี้ พร้อมกับชวนพวกเขาทั้ง 4 คนมาแชร์แนวคิดในการวางแผนสำหรับอนาคตเพื่อครอบครัว ว่าถ้าชีวิตมีกันทุกวัน…มันดีกว่าอย่างไร
และเรื่องราวของพวกเขานี่เองที่จะช่วยสะท้อนให้เราเห็นว่า ชีวิตที่มีกันของคนในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การดูแลเอาใจใส่ หรือทำสิ่งดีๆ ต่อกัน แต่ยังทำให้ทุกๆ วันของทุกคนได้ใช้ชีวิตที่ดีกว่า
ซึ่งตรงกับแนวคิดของ ‘พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ผู้นำด้านประกันที่อยู่สนับสนุนและเคียงข้างคนไทยอย่างยาวนาน โดยมีความเชื่อในชีวิตที่มีกันและกัน จะเป็นพลังในการ ที่จะทำให้ทุกปัญหาและทุกอุปสรรคผ่านพ้นไปได้
โดยทุกคนที่มีเป็นลูกค้าพรูเด็นเชียล จะมั่นใจได้ว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ‘สุขภาพทางกายและใจ’ จากบริการและผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ ที่หลากหลาย เลือกได้ตามความต้องการ ที่ รวมถึงเรื่อง ‘สุขภาพทางการเงิน’ ที่สามารถมีชีวิตที่มั่นคงอย่างไร้กังวล
หาคำตอบเพื่อชีวิตที่กว่าของคุณและครอบครัว คลิก: https://bit.ly/3rkAdck
เหล่าเดอะแบกจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจแค่ไหน ไปติดตามกันเลย
เริ่มต้นที่เดอะแบกคนแรก นั่นก็คือ ‘เฟื่องลดา’ สรานี สงวนเรือง สาวสวยแห่งวงการเทคโนโลยี หรือเจ้าของกิจการด้านการทำสื่อ ที่เธอกล่าวว่าเพิ่งจะมารู้ตัวไม่นานมานี้ ว่าเป็นเดอะแบกมาตลอดชีวิต
โดยเฟื่องลดาเล่าให้ฟังว่า เป็นลูกคนเล็ก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่มีเฟื่องตอนอายุเยอะ พอโตมาปุ๊บ เราก็เห็นพ่อแม่แก่แล้ว พ่อแม่เพื่อนๆ ยังอายุน้อยกว่า เลยทำให้เรามีเวลาน้อยกว่าเพื่อนๆ เลยจำเป็นที่ต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าขึ้นมา เพื่อที่จะตอบแทนพวกเขาได้ทัน เลยเหมือนเป็นช่วงชีวิตที่เราอยากจะทำอะไรขึ้นมา เพื่อให้เราดูแลพวกเขาให้สบาย
“แต่พอมาถึงจุดหนึ่งความสำคัญที่สุดคือ การมีเวลาอยู่กับพวกเขา ได้ใช้เวลาร่วมกัน รับฟังกันอย่างจริงใจ นี่แหละที่จะเป็นสะพานเชื่อมสู่ความรู้สึกที่อบอุ่นในหัวใจมนุษย์ ซึ่งเฟื่องมองว่าสถาบันครอบครัวที่เป็นแบบนี้ ทำให้เรามีพลังออกไปต่อสู้กับโลกภายนอก
“ครอบครัวเลยสำคัญกับเรา เป็นได้ทั้งขุมพลังงาน เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นแรงขับเคลื่อนในใจมนุษย์ เป็นแรงผลักดัน กำลังใจ และเป็นรักแรกของเด็กทารก พอตอนนี้เรามีครอบครัวเป็นตัวเอง เราเลยอยากเป็นแม่ที่มีเวลาดูแลลูกได้เต็มที่ เป็นเพื่อนกับลูก ค่อยๆ โตไปกับลูก ให้ลูกสบายใจ เขาไม่ต้องเก่งก็ได้ แค่กล้าทำสิ่งต่างๆ ผิดพลาดล้มเหลวมา เราก็จะคอยระวังหลังให้เขา
สำหรับการวางแผนในอนาคต คือเฟื่องไม่ทำตัวเป็นภาระใคร ไม่ว่าจะเป็นลูก สามี หรือพ่อแม่ ไม่ฝากชีวิตของเราไว้กับใคร เพราะเหมือนเป็นสิ่งที่ปลูกฝังเราตั้งแต่เด็ก ว่าต้องพยายามดูแลตัวเองให้ได้ มีรายรับมากกว่ารายจ่าย เก็บออมมีเงินสำรองไว้หลังเกษียณ ส่วนลูกก็อยากให้มีพื้นที่เรื่องสุขภาพ เงินตั้งต้น และการศึกษา
นอกจากนี้เฟื่องยังบอกอีกว่า ยิ่งโลกภายนอกกว้าง คนข้างๆ ยิ่งสำคัญ เราเจอผู้คนเต็มไปหมด การที่เรากลับบ้านมาแล้วไม่มีใคร มันเหงา ฉะนั้นการที่ชีวิตมีกันมันดีกว่า คือเริ่มจากตัวเรา เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง แล้วค่อยๆ ขยับเป็นคนข้างๆ อย่างครอบครัว เพราะโลกนี้เราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว หรืออยู่ตามลำพัง ยังมีตัวเราที่รักตัวเอง และมีครอบครัวที่รักกัน
มาต่อกันที่เดอะแบก ที่มองว่าแต่ละคนต่างก็มีเรื่องราวให้แบกรับไว้แตกต่างกัน โดย ‘หงส์’ ญดา ดนุก้องภพพ์ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เป็นแม่ค้าออนไลน์
โดยเธอเล่าว่า เดอะแบกสำหรับซิงเกิลมัมคือ การหาเงิน ต้องทำงาน ทำหมดทุกอย่าง เพื่อหาค่าใช้จ่ายมาให้ลูก ค่าเทอม ค่าเรียนพิเศษ ค่าชีวิตประจำวันเขา ก่อนหน้านี้เราไม่ต้องทำอะไรเพื่อใครอีกคน ทำแค่เพื่อตัวเอง เลี้ยงตัวเองไปได้วันๆ แต่กับลูกมันไม่คำว่าแค่นี้ มันคือต้องมา ต้องได้ ลูกอยากเรียนอันนี้ ต้องไปอันนั้นต่อ
“พอมีลูกแล้วก็ทำให้เป้าหมายในชีวิตเปลี่ยนแปลงไปมากๆ มีความรับผิดชอบมากขึ้น เริ่มวางแผนอะไรในชีวิต ทั้งเรื่องเงิน เรื่องสุขภาพ ไม่ได้แค่คิดถึงอนาคตของเขาอย่างเดียว แต่เป็นอนาคตระหว่างเรากับลูก เพราะอยากอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เราจะคุยกับเขาตลอด ว่าเราไม่ได้รวย แต่จะทำให้ลูกมีครอบครัวที่อบอุ่นแบบเราสองคน ทำให้เขาเติบโตมามีชีวิตที่สวยงาม
“เราเลี้ยงลูกให้เขาอยู่ในสังคม รู้ว่าควรปฏิบัติตัวยังไง ต้องเป็นคนแบบไหน ต้องเป็นเด็กที่ไม่พูดโกหก จริงใจ มีวินัย มีความรับผิดชอบ เราก็ทำให้เขามีความสุข ทุกข์ให้น้อยที่สุด ตัวเราเองก็เหมือนกันต้องแข็งแรง คือพยายามทำตัวเองให้ดีก่อน แล้วถึงจะเลี้ยงลูกได้ดี เพราะมันจะส่งไปถึงเขา
“การมีลูกเลยทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าของการมีอยู่คืออะไร การมีชีวิต เพราะการสร้างคนคนหนึ่งขึ้นมามันหลอมทำให้เราเป็นมนุษย์ อยากทำอะไรดีๆ ให้กับลูก พอฐานของเขามันแน่นไปอยู่ในสังคมที่ดี ชีวิตที่ดีก็จะไม่มีปัญหา และการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว แค่ใช้ชีวิตมันไป แต่ทำยังไงก็ได้ให้มีคุณภาพมากที่สุด อย่าทำร้ายตัวเอง อย่าไม่รักตัวเอง อย่าทำอะไรที่สร้างปัญหาเพิ่ม
“อนาคตเลยมีการวางแผนเรื่องของการทำประกันชีวิต เราทำมาตั้งแต่ลูกเล็กๆ แล้ว มันสำคัญจริงๆ ก่อนหน้าจะมีลูก เราคิดว่ามันเปลืองเงิน แต่พอมีเขาแล้ว เรามองเห็นการทำประกันชีวิตเป็นสิ่งที่ดีมากๆ รู้สึกดีที่เราทำ ของตัวเอง ของลูกด้วย
“การมีกันของเรากับลูกสำคัญมาก มันคือพลัง กำลังใจ เป็นเป้าหมาย หรือเครื่องเตือนบอกเราว่าอยู่ไปเพื่ออะไร เพื่อใคร มีความหมายสำหรับเรา การมีเขามันดีกว่าอยู่คนเดียว เราได้คู่คิด มีเพื่อน คอยสอนเราให้ใช้ชีวิตไม่ประมาท
“เพราะลูกเป็นชีวิตและจิตใจของเรา เราทำทุกอย่างที่ดีๆ เพื่อเขา มีชีวิตอยู่เพื่อเขา ดูแลเขา จนกว่าลูกจะโตพอดูแลตัวเองได้”
ปิดท้ายด้วยเดอะแบกที่ต้องแบกรับความคาดหวังของคนในสังคมของ พอร์ช-อภิวัฒน์ อภิวัฒน์เสรี และ อาม-สัพพัญญู ปนาทกุล คู่รัก LGBTQ+ ที่ใช้ชีวิตร่วมกันมาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี
พวกเขาเล่าให้เราฟังว่า แม้จะโชคดีมากๆ ที่ครอบครัว เพื่อน คนรอบตัวจะเข้าใจ แต่เราต้องแบกรับความคาดหวังในสังคม ว่าการที่คู่เราเป็นแบบนี้จะต้องเป็นคนดีคนเก่งของสังคม ต้องหาอะไรมาชดเชย ทั้งที่คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องมีเงื่อนไขแบบนี้
อาร์มกล่าวว่า “สิ่งที่ยากในการใช้ชีวิตร่วมกันคือ ทัศนคติ เพราะทุกวันมีเรื่องใหม่ๆ มุมใหม่ๆ ให้ได้เรียนรู้กันตลอด ซึ่งบางครั้งทะเลาะกันก็มี แต่ไม่เชิงไม่ดี ทะเลาะกัน เพื่อให้เข้าใจกันมากขึ้น”ขณะที่พอร์ชกล่าวเสริมว่า “นอกจากเรื่องทัศนคติ คือในแง่ทางกฎหมาย เพราะถ้ามีกฎหมายมารองรับในการสร้างครอบครัวก็คงจะดี ให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง แข็งแรง มั่นใจได้ว่าวันหนึ่งใครล้มหายตายจากไป อีกคนจะไม่เดือดร้อน”
“หลายคนมักจะบอกว่าความรักของ LGBTQ+ คือความรักที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งเราไม่รู้จะตอบยังไง เพราะมันไม่ได้แปลว่าความรักของชายหญิง ชายชาย หรือใครก็แล้วแต่จะจีรังยั่งยืนกว่ากัน เรื่องการคบกัน รักกันยั่งยืน หรือไม่ยั่งยืนเป็นเรื่องของคนสองคน ไม่ใช่เรื่องของเพศ” พอร์ช กล่าวถึงคำพูดที่คนส่วนใหญ่มักพูดบ่อยๆ
อีกทั้งอาร์มเล่าถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้เริ่มวางแผนอนาคตกัน คือตอนที่คุณพ่อคุณแม่พยายามวางแผนว่าจะเก็บตรงนี้ไว้ให้เรา เก็บตรงนั้นให้พี่ชาย ให้น้องชาย แต่เราไม่ได้อยากได้ อยากให้พวกเขาเอนจอยกับสิ่งที่พวกเขาทำมา หามา เดี๋ยวเราไปใช้ชีวิต จัดการชีวิตตัวเอง พอมีครอบครัวของเราเองเลยมองว่า ถ้าเราสามารถจัดการตัวเองได้ ต้องไม่เป็นภาระของเด็กๆ ไม่มีลูก ก็ไม่เป็นภาระของหลาน ของน้องชาย
ส่วนพอร์ชนั้นเกิดขึ้นตอนที่เขาเข้าโรงพยาบาล จนเขารู้สึกเลยว่าถ้าตอนนั้นไม่ใช่วัยหนุ่มแล้ว อายุแก่กว่านี้มากๆ เราอยากใช้ชีวิตแบบที่ไม่ต้องกังวลแบบนี้ จะทำยังไง หลังจากนั้นเราเลยเริ่มวางแผนร่วมกัน โดยเริ่มที่การเงินก่อนเลย เรื่องการออม ถ้าเราอยากเกษียณ แพลนไหนที่ทำให้เรารู้สึกสบาย เมื่อยามแก่เฒ่า
“พอร์ชเลยอยากบอกถึงคนที่อยู่ในความรักรูปแบบเดียวกับเราว่า ครอบครัวคือสิ่งสำคัญที่สุด เราโชคดีที่เกิดมาในครอบครัว มีคนรอบตัวที่เข้าใจ แต่ถ้าใครยังไม่ได้รับความเข้าใจ อยากให้รักตัวเอง เข้าใจตัวเองให้มากๆ มีความสุข และยอมรับกับสิ่งที่เราเป็นได้ คนอื่นเขาไม่เข้าใจหรือยังไม่ยอมรับ ไม่เป็นไร อย่างน้อยมีความสุขจากข้างในก่อน”
“อาร์มอยากบอกว่าตราบใดที่คุณเป็นตัวเองของตัวเอง รักตัวเอง ใช้ชีวิตแบบที่ตัวเองอยากใช้ โดยที่อยู่ในกาลเทศะ ถ้าจะมีความรัก ความรักเป็นสิ่งสวยงามอยู่แล้ว มนุษย์รักกัน อย่าท้อ เริ่มจากใกล้ตัวสุดคือเราเอง เรารักตัวเอง รักแฟน ค่อยขยายไปยังครอบครัว เพื่อน สังคม และสิ่งสำคัญที่สุด คือมุมมองของตัวเอง มันคือโลกของเรา เดินออกไปเจออะไรเหมือนกัน ยังมองต่างกันเลย”
ทั้งนี้อาร์มยังบอกอีกว่า ชีวิตที่มีกันมันดีตรงมีคนอีกคนเพิ่มเข้ามาในสถานะไหนก็ได้ ที่เรารักกัน แคร์กัน ดูแลกัน อยากไปไหน ทำอะไร มีคนคอยช่วยคิด มีคนช่วยซัพพอร์ต เวลาเหนื่อยๆ กลับบ้านมาก็มีคนคอยอยู่ข้างๆ นั่นคือสิ่งที่ดีแน่นอน
สุดท้ายการที่เราเป็นเดอะแบกกันมาก่อน พอมาเจอกัน มันดีกว่าอยู่คนเดียวแน่นอน ทำให้เราเข้าใจฟีลลิ่งการเป็นเดอะแบกว่ามันเหนื่อย มันหนักแค่ไหน ตอนที่แบกความคาดหวัง ความรับผิดชอบ เลยทำให้พวกเราซัพพอร์ตกันง่ายขึ้น และเข้าใจการแบกนั้นไว้