วิจัยพบ ‘มลพิษทางอากาศ’ อาจส่งผลถึงสมอง ทำให้ผลิตสเปิร์มได้น้อยลง

2 Min
206 Views
15 Nov 2021

มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ และพื้นที่ผลกระทบครอบคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลก ทุกคนทราบดีว่ามันส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย แต่รู้ไหมว่ามันไม่ได้ส่งผลเสียแค่กับระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ล่าสุดนักวิจัยได้ค้นพบว่ามันส่งผลให้เกิดการอักเสบของสมอง และส่งผลต่อการผลิตสเปิร์มให้ลดลงได้

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์แมรีแลนด์ (University of Maryland School of Medicine) สหรัฐฯ เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศส่งผลต่อการผลิตสเปิร์มของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้จริง ผ่านการทำงานของสมองซึ่งมีความสัมพันธ์กัน

โดยในการทดลองนักวิจัยได้เพราะพันธุ์หนูที่ขาดโปรตีนบางประเภทเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบของสมอง จากนั้นพวกเขาให้หนูดัดแปลงและหนูทั่วไป เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศมีมลพิษและทดสอบอสุจิของพวกมันเปรียบเทียบกัน และพบว่าหนูตัวที่ทั่วไปมีอาการอักเสบของสมองและอสุจิที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่ามลพิษทางอากาศมีผลกระทบโดยตรงต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ของหนูทั่วไปที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานพื้นฐาน เช่น ความหิว ความกระหาย และเรื่องเพศ ในขณะที่หนูดัดแปลงพันธุกรรมไม่มีอาการที่ว่านี้เพราะไม่เกิดการอักเสบในสมองส่วนดังกล่าว

“ผลวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่าผลกระทบเกิดขึ้นจากมลาวะทางอากาศอย่างชัดเจน อย่างน้อยก็ในเรื่องการผลิตอสุจิ อย่างไรก็ดีการเอาโปรตีนบางตัวออกสามารถป้องกันการอักเสบได้ หมายความว่าในอนาคตอาจพัฒนาวิธีการป้องกันหรือรักษาผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศต่อสมองได้เช่นกัน” Zhekang Ying หัวหน้าทีมวิจัยและผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางการแพทย์กล่าว

มลพิษทางอากาศ

สเปิร์ม | medicaldevice

การวิจัยครั้งนี้เป็นการยืนยันปัญหามลพิษทางอากาศต่อร่างกายที่ไม่ได้ส่งผลเฉพาะระบบทางเดินหายใจโดยตรงแต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายในส่วนอื่นๆ ด้วยโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว และชี้ให้เห็นว่ามันเป็นปัญหาที่ควรเร่งแก้ไข เพราะหากกระบวนการอักเสบนี้ส่งผลต่อมนุษย์เช่นเดียวกับในหนูทดลองหมายความว่ามันอาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก หรือจำนวนประชากรในระยะยาวได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดีการตัดแต่งโปรตีนในหนูทดลองเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบของสมองสำเร็จก็เป็นแนวทางที่สำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาและการลดลงของสเปิร์มที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดจากสมองอักเสบ เช่น โรคอ้วน ซึ่งทีมวิจัยหวังว่าจะสามารถพัฒนาและหาวิธีการป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

อ้างอิง