ชื่อหนังสือต้นฉบับ: Original Wisdom: Stories of an Ancient Way of Knowing by Robert Wolff Foreword by Thom Hartmann, author of The Last Hours of Ancient Sunlight
จุดกำเนิดแห่งปัญญา: หนทางหยั่งรู้ผ่านเรื่องเล่าในอดีตกาล
โรเบิร์ท โวล์ฟ: เขียน ทอม ฮาร์ทเมน: บทนำ
จัดตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์: Inner Traditions –Bear & Company
อนุธิดา มูลนาม: แปล /เรียบเรียง
ผู้แปลจัดทำฉบับอ่านรีวิวขึ้น เพื่อแบ่งปันเรื่องราวความเชื่อที่จะช่วยย้ำเตือนความทรงจำในอดีต และคติสอนใจของเหล่าชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมในประเทศมาเลเซีย และมุมมองแห่งชีวิตจากอีกหลายกลุ่มชน ให้กับผู้อ่านที่สนใจเรียนรู้วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ในโลกธรรมชาติของชนพื้นเมืองดั้งเดิมในยุคก่อนเกษตรกรรม และเพื่อนำเสนอให้กับสำนักพิมพ์ได้ยืนยันรับรองตีพิมพ์เป็นหนังสือแปลฉบับสมบูรณ์ในอนาคต หนังสือเล่มนี้ถือได้ว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้กับผู้อ่านทุกกลุ่มที่ชื่นชอบการอ่านนอกเวลา!
จากใจผู้แปล
หนังสือ จุดกำเนิดแห่งปัญญา หนทางหยั่งรู้ผ่านเรื่องเล่าในอดีตกาล ของ โรเบิร์ท โวล์ฟ ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นหนังสือที่ เมื่ออ่านแล้วจะติดตรึงอยู่ในใจคุณเสมอ และยังได้รับการยืนยันว่าเป็นหนังสือที่สะท้อนวิถีชีวิต พิธีกรรมความเชื่อทางจิตวิญญาณ การหยั่งรู้เพื่อการสัมผัสกับโลกธรรมชาติ และความเป็นหนึ่งเดียวกับทุกสรรพสิ่งบนโลกของ ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ชาวสินอย ชาวมาเลย์ดั้งเดิม ในประเทศมาเลเซีย ชนพื้นเมืองดั้งเดิมบนเกาะสุมาตรา ชาวบาลีและบารง ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่เขาได้เติบโตมาด้วยกันในวัยเด็ก ชาวซูรินาม ในทวีปอเมริกาใต้ ชนพื้นเมืองชาวฮาวาย บนเกาะใหญ่ในรัฐฮาวาย และอีกหลายกลุ่มชนบนเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยผู้เขียนได้เข้าไปใช้ชีวิต และศึกษาเรียนรู้วิถีความเป็นอยู่ในโลกธรรมชาติ และได้สะท้อนความเฉลียวฉลาดของชนเผ่าพื้นเมืองดังกล่าวไว้อย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง รวมถึงการสะท้อนปัญหาของอารยธรรมยุคใหม่ จากมุมมองของชนพื้นเมืองผู้ไร้ซึ่งอารยธรรมได้อย่างลึกซึ้ง
โรเบิร์ท โวล์ฟ ได้เขย่าเรื่องเล่าอันน่าทึ่งของชนเผ่าพื้นเมือง ชาวสินอย ของประเทศมาเลเซีย (The Aboriginal Sng’oi of Malaysia) หรือบางคนก็รู้จักพวกเขาในชื่อ ซาไก Sakai พวกเขาเป็นชนเผ่าดั้งเดิมในยุคก่อนเกษตรกรรม และยุคก่อนอุตสาหกรรม ถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มชนกึ่งเร่ร่อน (หรือเป็นกลุ่มคนล่าสัตว์และเก็บของป่า) ชาวสินอย มีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย ชื่นชอบการใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันเสมอ ไม่รู้จักความเร่งรีบและความขัดแย้ง ชาวซาไก หลายคนคงเคยรู้จัก หรือได้ยินชื่อพวกเขามาแล้วตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก เช่นเดียวกันกับผู้แปล ชนพื้นเมืองกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในป่าดงดิบอันลึกลับยากที่จะเข้าถึงพวกเขา แต่ โรเบิร์ท โวล์ฟ ได้เข้าไปสัมผัสและเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิตของพวกเขาในดินแดนอันลี้ลับ บนภูเขาอันสูงชันแห่งป่าดิบชื้น และได้สะท้อนบทเรียนผ่านเรื่องเล่าอันน่าพิศวง จึงเป็นที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ให้ผู้คนทั่วโลกได้รับรู้เรื่องราวของพวกเขา
คุณเคยถามตัวเองไหมว่า เหตุฉไหนมนุษย์ยุคบรรพบุรุษถึงสามารถที่จะอยู่รอดได้ในป่าดงดิบอันลี้ลับท่ามกลางสิงห์สาราสัตว์อันดุร้ายยิ่ง จากมุมมองของพวกเราในวันนี้? พวกเขาดำรงชีวิตกันอย่างไรท่ามกลางความอดอยาก และขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกของยุคแห่งอารยธรรม ชาวซูรินาม ในทวีปอเมริกาใต้ ได้สร้างความเข้าใจให้กับเราว่า ธรรมชาติของมนุษย์คือการดำรงอยู่ด้วยกันเป็นชนเผ่า ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่เติบโตมาในชนเผ่าจึงเรียบง่าย และไม่มีความมักใหญ่ใฝ่สูง เนื่องจากโครงสร้างของสังคมมนุษย์ในชนเผ่าจะมีความเท่าเทียมกัน และเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติเสมอ แต่จากมุมมองของรัฐบาลกลับมองว่าพวกเขาเป็นคนเกรียจคร้านสิ้นดี ไม่มีความทะเยอทะยานในหน้าที่การงานเอาเสียเลย การมีทางเลือกและมีตัวเลือกมากมายก่ายกองเต็มไปหมด ทำให้ผู้คนเกิดความเครียดสูงมาก พอตื่นนอนมาคุณก็ต้องเลือกแล้วว่าจะทำอะไรวันนี้ จะใส่ชุดอะไร จะกินอะไรดี จะไปเที่ยวที่ไหนในวันหยุดหน้า แต่การมีทางเลือกนับร้อยนับพันเหล่านี้กลับไม่ทำให้ผู้คนเกิดความพึงพอใจได้สักที ในทางกลับกัน ชาวซูรินามไม่เคยต้องเลือกที่จะทำอะไร หรือจะไม่ทำอะไรในแต่ล่ะวัน พวกเขาพอใจในสิ่งที่พวกเขามี และสิ่งที่พวกเขาทำเสมอ
หากมีคนบอกให้พวกเขา วาดเขียนบางอย่าง วาดเขียนอะไรก็ได้ คุณคิดว่าพวกเขาจะวาดเขียนอะไรกันท่ามกลางตัวเลือกนับร้อยนับพันเช่นนี้ ความเชื่อของ ชาวบาลีและบารง ที่ว่า โลกใบนี้และทั้งหมดแห่งจักรวาล ต่างก็ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน เนื่องจากไม่เคยมีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต การดำรงอยู่ที่แตกต่าง ของพวกเขาจะทำให้เราได้รับบทเรียนเกี่ยวกับ ความเจ็บป่วยและความตาย ปรัชญาความรู้ดั้งเดิม รวมถึงพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาถูกถ่ายทอดวิชาอาคมโดย การสืบสันติวงศ์ ให้กับวงศาคณาญาติอย่างไร พวกเขาใช้ มิติแห่งการเยียวยา รักษาความเจ็บป่วยของตน และคนที่ตนรักแบบไม่ต้องไปโรงพยาบาลก็หายได้!
ความเชื่อทางจิตวิญญาณช่วยนำพาพวกเขาเข้าไปสู่มิติแห่งการเยียวยา และการยอมรับความจริงตามกฏแห่งธรรมชาติ ชนพื้นเมืองชาวสินอย หรือชาว ซาไก ซึ่งหมายถึง ทาสรับใช้ ทำไมพวกเขาจึงถูกเรียกเช่นนั้นทั้งๆ ที่พวกเขาคือผู้คนที่มีความอิสระเสรีโดยแท้ในแบบของตนเอง โลกแห่งความเป็นจริง โลกแห่งร่มเงา จะพาเราไปสืบค้นให้แน่ใจว่าอะไรคือความจริง อะไรคือความฝันกันแน่ การอ่านและการเขียน สะท้อนแง่คิดเบาๆ เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาในโลกยุคใหม่ และยุคที่ยังไม่มีการศึกษา เราจะตีโจทย์เหล่านั้นแตกรึเปล่า คงต้องตามเข้าไปอ่านดูกัน คุณเคยถามตัวเองไหมล่ะว่าทำไมใน ป่าดงพงไพร ถึงมีต้นไม้เยอะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าดงดิบ หรือป่าที่ไม่เคยถูกตัด หรือเผา แล้วต้นไม้ที่ว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกันไหม ทำไมเมื่อเราคิดเกี่ยวกับป่าแล้วมันถึงดูน่ากลัวไม่น่าอยู่ทั้งๆ ที่มันก็เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ต้นมะม่วง มีความสำคัญอย่างไรกับชาวสินอย หมอผีหรือคนทรงเจ้า นั้นมีฤทธิ์เดชมากน้อยเพียงใดของชนพื้นเมือง พวกเขาใช้จิตสัมผัส และหยั่งรู้ถึงความสัมพันธ์กันของสรรพสิ่งได้อย่างเหลือเชื่อ!
การเรียนรู้เพื่อการเป็นมนุษย์อีกครั้ง ได้ตอบคำถามที่ว่ามนุษย์ยุคใหม่จะสามารถเรียนรู้ และกลับคืนไปเชื่อมโยงกับโลกธรรมชาติได้อีกครั้งโดยการหยั่งรู้ได้ภายในใจ เพียงแค่ต้องโยนทิ้งความทันสมัยออกไปจากใจเสียก่อน ความเป็นส่วนตัวและความเหินห่าง จะพาเราไปไขปริศนาถึงจุดอ่อน และความล้ำเลิศของมนุษยชาติ ที่ประกาศว่าตนอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ถือตนเป็นสัตว์ประเสริฐ และแยกตนออกจากโลกแห่งธรรมชาติ บรรดาเครื่องจักรเครื่องยนต์ทุกอย่างที่ถูกคิดค้นออกแบบ และสร้างขึ้นภายใต้การครอบครองของมนุษย์นั้น ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เครื่องจักรเครื่องยนต์เหล่านั้น จะทำงานทุกอย่างแทนมนุษย์ได้ในทศวรรษนี้ ค้นหาคำตอบได้กับ ผู้ชายหนึ่งร้อยคนนั้นทำอะไรกัน
โลกแห่งอารยธรรมได้ทำลายล้าง ความเป็นสัตว์สังคมที่ชอบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่นับถือศรัทธาการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมของการเป็นมุนษย์ และที่ชื่นชอบการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนกับสัตว์อื่นในธรรมชาติไปจนหมดสิ้นแล้ว
บัดนี้ โลกแห่งอารยธรรม ได้สร้างสังคมแห่งอารยชนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้เปลี่ยนแปลงระบบของสังคมดั้งเดิมในยุคก่อนให้กลายมาเป็นสังคมแห่งโลกาภิวัตน์ สังคมแห่งเงินตรา สังคมแห่งวัตถุของความเป็นชาวศิวิไลซ์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลให้ ความเป็นมนุษย์ป่า ในพันธุกรรมของเรากลับตาลปัตรไปโดยปริยาย สังคมมนุษย์ยุคใหม่จึงได้หลงลืม วิถีแห่ง การดูแลซึ่งกันและกัน รวมถึงความแตกแยกบาดหมางกันในสังคม อันมิอาจจะนำกลับคืนมาได้อีกครั้ง และผลลัพธ์อันโหดร้ายทารุณของโลกแห่งอารยธรรมก็คือ การทำให้มนุษย์ตัดขาดความสัมพันธ์ของตนออกจากโลกธรรมชาติไปชั่วนิรันดร์!
ผู้แปลขอขอบคุณ เดวิด ผู้ที่แนะนำหนังสือเล่มนี้ให้กับผู้แปล ผู้แปลขอขอบคุณ Mother Carola คุณแม่ของเดวิด ผู้ช่วยลงความเห็นว่า เธอหลงไหลกับเรื่องเล่าในหนังสือเล่มนี้ทุกบทตอน หากถามเธอว่าบทไหนกินใจเป็นพิเศษ เธอกลับบอกว่า ทุกบทตอนชนะหัวใจเธอ และเรื่องราวต่างๆ จากหนังสือเล่มนี้ได้ช่วยเติมเต็มความรู้สึกของการเป็นหนึ่งเดียวกันกับโลกธรรมชาติให้กับเธอ และเธอได้เคารพนับถือคุณค่าของความเชื่อทางจิตวิญญาณของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งหลายอย่างตื้นตันใจยิ่ง
ผู้แปล ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งของการจากไปของ โรเบิร์ท โวล์ฟ (ผู้เขียน) งานเขียนของเขาเล่มนี้ได้เติมเต็มคุณค่า และสะท้อนความหมายของการเป็นมนุษย์ที่ซ่อนอยู่ในตัวตนของทุกคนออกมาได้อย่างน่าทึ่ง เขาได้สร้างความเข้าใจให้กับมนุษย์ยุคใหม่เกี่ยวกับ วิถีชีวิตของสังคมชนล่าสัตว์และเก็บของป่า /ความเชื่อทางจิตวิญญาณชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม และความเป็นหนึ่งเดียวกันกับโลกธรรมชาติ ตนจึงขอถ่ายทอดผลงานของเขาผ่านหนังสือแปลเล่มนี้ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้อ่านในสังคมเราเกิดความตระหนักรู้ได้มากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ยุคบรรพบุรุษที่ถูกหลงลืมไปจากโลกเสียแล้ว!
(หมายเหตุ)
เนื่องจากหนังสือแปลเล่มนี้ยังคงรอการตอบรับตีพิมพ์จากทางสำนักพิมพ์อยู่ หากผู้อ่านท่านใดมีความสนใจ หรือรู้จักสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์หนังสือแปลแนวเรื่องเล่าเกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม และความเชื่อทางจิตวิญวิญญาณอยู่ สามารถแนะนำให้กับผู้แปลได้ทุกเมื่อ และติดต่อโดยตรงกับผู้แปลได้ที่: [email protected] ผู้แปลขอขอบคุณมากยิ่งที่เข้าอ่านบทรีวิวฉบับนี้ หรือหากสนใจส่งความเห็นต่อบทรีวิวก็ติดต่อผู้แปลได้เช่นกัน ^^..^^ (ผู้แปลหวังว่าเหล่าผู้อ่านทั้งหลาย จะสนใจอ่านหนังสือแนวนี้กันมากขึ้นและมากขึ้นคะ)