Select Paragraph To Read
- Fast Fashion วิ่งตามกระแสมาเร็ว ไปเร็ว
- เบื้องหน้าสวยหรู เบื้องหลังลวงตา
- พักเทรนด์ มารักษ์โลก
ในยุคสมัยที่รันเวย์ต้องลุกเป็นไฟ! กำลังซื้อของคนเพิ่มมากขึ้น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า สินค้าแฟชั่นทั้งหลายขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การแต่งกายตั้งแต่หัวจรดเท้าเข้ามามีบทบาท และส่งผลกระทบต่อโลกของเราอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าการเลือกซื้อเสื้อผ้า จะเป็นเรื่องความชอบและสไตล์ของแต่ละคน แต่ก็ไม่วายมีสิ่งเร้าอื่นๆ มากระตุ้นทำให้ไขว้เขว เช่น คำทักคนใกล้ตัวว่า ใส่ตัวนี้ซ้ำอีกแล้วเหรอ รวมถึงภาพพรีเซนเตอร์ดารา ศิลปินสวมใส่ชุดแบรนด์ต่างๆ หรือเซเลบคนดังออกมารีวิวว่า #ของมันต้องมี จนห้ามใจไม่อยู่ต้องไปช้อปปิ้ง ไม่ก็กด F รัวๆ No CC
แล้วรู้ไหม? นี่แหละ เป็นต้นตอของปัญหาที่หลายคนมองข้ามอย่าง “Fast Fashion”
Fast Fashion วิ่งตามกระแสมาเร็ว ไปเร็ว
Fast Fashion คืออะไร?
อุตสาหกรรมเสื้อผ้า สินค้าสายแฟต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยความรวดเร็ว และให้ได้จำนวนมากๆ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการในต้นทุนที่ไม่สูงมากจะได้ซื้อง่ายขายคล่อง โดยไม่ได้สนใจคุณภาพของผ้าหรือดีเทลการตัดเย็บใดๆ ขอแค่มีดีไซน์ตามกระแส พอผ่านไปไม่กี่อาทิตย์ ก็ออกคอลเลกชันใหม่ บางทีใส่ไปแค่ไม่กี่ครั้งก็ทิ้ง วิ่งไปตามเทรนด์อยู่ตลอดเวลา หรือเรียกง่ายๆ ตามประสาคนขี้เบื่อว่า “เก่าไป ใหม่มา”
เบื้องหน้าสวยหรู เบื้องหลังลวงตา
ขึ้นชื่อว่าแบรนด์ Fast Fashion ย่อมสร้างปัญหาไม่มากก็น้อย อุตสาหกรรมแฟชั่นแบบนี้ค่อยๆ ทำลายโลกของเรา และลิดรอนสิทธิมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ
หากคุณรู้ว่า วงการสายแฟนี้ดีต่อใจ แต่ไม่เป็นมิตรกับคนอื่น และสิ่งแวดล้อมขนาดไหน อาจกลับใจไม่อยาก Fast Fashion แล้วก็ได้ เช่น
- ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เร่งทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน เพราะกระบวนการผลิตแปรรูปวัสดุเพื่อนำมาเป็นใยผ้า การฟอกหนังสัตว์, ไนลอน, โพลีเอสเตอร์ ล้วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาล
- ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้ายังใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ฝ้ายและไม้ มาเป็นพลังงานเชื้อเพลิงในการขนส่งเสื้อผ้าทั่วโลกด้วย โดยเฉพาะทรัพยากรทางธรรมชาติที่ต้องนำมาผลิต และดูแลฝ้าย เพื่อเอาไปทำเป็นผ้า ต้องใช้น้ำจำนวนมากที่สุด ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณน้ำที่เราต้องกินยาวนานกว่า 2 – 4 ปี
- การซักผ้าก็ปล่อยสารเคมี และไมโครพลาสติกเจือปนลงในน้ำทำลายระบบนิเวศไม่น้อยเช่นกัน เพราะเสื้อผ้ามีใยสังเคราะห์อยู่มากกว่า 60% ซึ่งใยสังเคราะห์นี้จะหลุดออกไปเรื่อยๆ ระหว่างการซัก จึงกลายเป็นพลาสติกขนาดเล็กปนเปื้อนสารพิษลงสู่ทะเล และมหาสมุทร
- ปัญหาแรงงาน เช่น การกดขี่แรงงาน เพราะกระบวนการผลิตที่ต้องเร็ว กดราคาต้นทุนให้ต่ำ เพื่อให้ได้ปริมาณที่มาก จะได้ตามทันกระแสเวลาอยู่เรื่อยๆ ส่งผลให้แรงงานมักถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม และการถูกบังคับให้ทำงานเกินเวลา
พักเทรนด์ มารักษ์โลก
หลายคนคงสงสัย ถ้าอยากลองลดความเป็น Fast มาเป็น Slow แบบไม่หักดิบจะทำอย่างไร?
อาจเริ่มต้นง่ายๆ จากการเลือกซื้อเสื้อผ้า สินค้าแฟชั่นเท่าที่จำเป็น หรือรู้จักนำเสื้อผ้าในตู้ออกมามิกซ์ แอนด์ แมตซ์ เพิ่มลูกเล่นด้วยสร้อย ต่างหูนิดหน่อย ที่สำคัญไม่ได้บังคับให้ต้องหยุดซื้อเสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์ Fast Fashion ไปเลย
เพียงแต่เน้น “การใช้ซ้ำ ให้คุ้มค่า” ไม่ใช่ใส่แค่ครั้งเดียวแล้วไปซื้อเพิ่ม เพียงเพราะตัวนี้กำลังมาแรง หรือกำลังลดราคากระหน่ำ และขอแนะนำตัวเลือกอย่างเสื้อผ้ามือสองที่ยังคุณภาพดี แถมราคาถูก แต่ถ้าอยากซื้อตัวใหม่เพื่อให้รางวัลตัวเองจริงๆ ก็ขอให้พกสติกันเยอะๆ
ปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจปัญหา Fast Fashion เริ่มเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมกันมากขึ้น เพราะปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเรา แต่เป็นเรื่องของทุกคน
CANDY สนับสนุนการให้ ‘คุณค่า’ เสื้อผ้าตัวเก่าตัวเก่ง
มาร่วมเปลี่ยนแปลงโลกจาก ‘ตู้เสื้อผ้า’ ของคุณ ผ่านแคมเปญ #OldShirtDay
วิธีเข้าร่วมแคมเปญ มีดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ BrandThink หน้าเเคมเปญ #OldShirtDay (https://www.brandthink.me/campaign/oldshirtday)
- สมัคร (sign up) หรือ ล็อกอิน (login) เพื่อเข้าสู่ระบบ Creator ของ BrandThink
- กด Join the Campaign
- ถ่ายรูปตัวเองใส่เสื้อตัวเก่า เล่าเรื่องราวของเสื้อตัวนั้นให้ฟังสั้นๆ พร้อมแชร์ไอเดียแก้ปัญหา ‘Fast Fashion’ ในแบบของคุณ