6 Min

Macro Holiday 2024 “GDP=C+I+G+NX form theory to the real world”

6 Min
99 Views
29 Feb 2024

ธนาคารแห่งประเทศไทยกับบทบาท GDP ของประเทศไทย

GDP(Y): Gross Domestic Product โดยคุณทักษอร พรถาวร ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

บทบาทหน้าที่แบงก์ชาติในการดำเนินนโยบายการเงิน (ดูแลเสถียรภาพ 3 ด้าน)

  1. เสถียรภาพการเงิน 

  2. เสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน เงินสำรองของแต่ละธนาคารก็ยังคงมีความแข็งแกร่ง 

  3. เสถียรภาพระบบการชำระเงิน เช่น ระบบพร้อมเพย์ ที่แบงค์ชาติได้วางรากฐานไว้ในโครงสร้างพื้นฐานในเสถียรภาพทางด้านการเงิน

เป้าหมายของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เป็นการ balance เป้าหมายใน 3 ด้าน

  1. Growth เศรษฐกิจเจริญเติบโต 

  2. Stable เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ 

  3. Equitable เศรษฐกิจมีความเป็นธรรมไม่เหลื่อมล้ำ 

จากเป้าหมายสามารถถูกกระทบได้จากหลายปัจจัย เช่น วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ กระทบตลาดการเงิน ทําให้ GDP ของประเทศลดลง

ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเข้ามาดูแลนโยบายการเงิน แต่การดำเนินนโยบายไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย 3 ด้าน โดยสมบูรณ์พร้อมกันได้ เลือกโฟกัสเป้าหมายควบคู่กันไปในช่วงเวลานั้น ในประเทศไทยการศึกษาพบว่าการใช้ควบคู่กันนี้จะส่งผลดีต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ

ทฤษฎี”Impossible”จากธนคารแห่งประเทศไทย,สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567,จากสไลด์ประกอบการบรรยาย

หลักการกรอบการดำเนินนโยบายการเงิน ในปัจจุบันของไทยสําหรับปี 2567 จะกำหนดกรอบเงินเฟ้อให้อยู่ในช่วง 1-3%  

  1. เป้าหมายเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขชัดเจน 

  2. เน้นความโปร่งใส

  3. มีความยืดหยุ่นเพียง 

ประเด็นสำคัญในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินล่าสุด มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50%ต่อปี มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แม้เผชิญปัจจัยกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค (ภาคเหนือ/อีสาน และใต้) คิดเป็น 1 ใน 4 ของ ประเทศถูกขับเคลื่อนโดยผู้มีงานทําอยู่ในภาคเกษตร ภาคเกษตรจึงเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดใน 3 ภูมิภาค รองลงมาคือภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยว

นอกเหนือจากนี้ ธปท. ก็ยังมีการจัดทํา GRP ของภาคเหนือ โดยปัจจุบันนั้นภาคเหนือฟื้นตัวกลับไปใกล้ช่วงก่อนสถานการณ์โควิด

การบริโภค C และปัญหาที่เชียงใหม่ต้องเผชิญ

C : CONSUMPTION โดย คุณรัชกร ปิยะสัจบูลย์ รองประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

“เชียงใหม่เมือง ไม่มี อนาคต” เงินเดือนที่ไม่สูง ผู้คนออกไปหางานที่อื่น ทำให้ประชากรหาย ทำให้เศรษฐกิจในเชียงใหม่ไม่เป็นอย่างที่คิด แต่เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาใหม่คือเศรษฐกิจจากต่างจังหวัดที่เข้ามาลงทุน ทำให้จำนวน Consumption ไม่ได้หมุนเวียนเท่าที่ควร รวมถึงปัญหาชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ ทำให้ Consumption ไม่ได้ตกเฉพาะกับคนในพื้นที่เท่านั้น

จุดแข็ง ศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่

  • วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่โดดเด่น ประเพณีต่างๆ 

  • โครงสร้างพื้นฐาน มีความพร้อมและรับโครงสร้างพื้นที่เหมาะสมกับการลงทุน 

  • การค้าการลงทุน มีจุดยุทธศาสตร์เพื่อการส่งออก 

  • เกษตรและอาหารผลผลิตการเกษตรที่หลากหลาย 

  • ท่องเที่ยวมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 

  • ทรัพยากรธรรมชาติมีแหล่งน้ำพื้นที่ป่าใหญ่ 

  • สถาบันการศึกษาอันดับต้นๆของประเทศ 

  • การแพทย์สุขภาพ ภูมิศาสตร์ สังคม คมนาคม

จุดอ่อน ข้อจำกัด ของจังหวัดเชียงใหม่

  • สังคม จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ 

  • เทคโนโลยี ส่งเสริมการท่องเทียวและอุตสาหกรรม

  • เศรษฐกิจ การเลื่อมล้ำของรายได้

  • ท่องเที่ยว ควรมีจุดเด่นแต่ละพื้นที่ให้เป็นจุดขาย

  • วัฒนธรรม ขาดการอนุรักษ์ เป็นต้น

แผนด้านยุทธศาสตร์และเป้าหมาย 5 ปี

การส่งเสริมการท่องเที่ยว, พัฒนาเกษตรเพิ่มมูลค่า ,การยกระดับการค้าการลงทุน ,PM 2.5 Management สถาบันการศึกษาอันดับต้นๆของประเทศ การแพทย์สุขภาพ พัฒนาการคมนาคม เชียงใหม่ 4.0 New S-curve, Pandemic, International connect

ประเด็นหลัก เป้าหมาย 5 ปี,จากหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่.สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567,จากสไลด์ประกอบการบรรยาย

Investment กับเศรษฐกิจไทย

I : INVESTMENT โดย ดร.อสมา เหลี่ยมมุกดา นักเศรษฐศาสตร์ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ต่อเนื่องหลายปี กิจกรรมเศรษฐกิจ ณ ไตรมาส 3 ยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤตโควิดราว -0.8% ไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ฟื้นจากโควิดได้ช้าติดอันดับรั้งท้ายในโลก เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี2023 สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ยังเติบโตดีแต่การลงทุนแผ่งลงเร็ว
การวิเคราะห์โดย SCB EIC จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(2566),Bloomberg และ IMF.สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567,จาก สไลด์การประกอบบรรยาย

การลงทุนภาคเอกชนในระยะสั้น 

  • ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการส่งออกด้วย 

  • ในปี 2024 ประเมินว่าการส่งออกจะดีขึ้น จะส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนดีขึ้น 

การลงทุนในระยะยาวนั้น 

  • เศรษฐกิจไทยจะเติบโตช้า เป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน 

  • เงินเฟ้อเริ่มที่จะแผ่วลง ส่งผลต่อการปรับดอกเบี้ยสูงขึ้น จะเป็นการลดการลงทุนภาคเอกชน

SCB EIC คาดว่า กนง. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง หากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อแผ่วกว่าคาดหรือ Neutral rate ของไทยมีแนวโน้มต่ำลงตามศักยภาพเศรษฐกิจไทยที่มีปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาวมากขึ้น ที่มีผลให้ภาคธุรกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ไม่เท่ากัน (Uneven recovery) ความสามารถในด้านของ Infrastructure หากรัฐบาลสนับสนุนการลงทุนก็จะส่งผลต่อการลงทุนภาคเอกชนที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ ควรสร้างการลงทุนใหม่อย่างมีกลยุทธ์ เพื่อให้เศรษฐกิจไทย “เดินหน้า เข้มแข็ง และมีภูมิคุ้มกัน” ประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่างๆควบคู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงและยั่งยืน 

G: GOVERMENT โดยคุณศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกผู้แทนราษฎรไทย บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล

การอุปโภคภาครัฐบาลของไทย(G) ในปี 2566 เท่ากับ 3,079,816 ล้านบาท แต่ G ไม่ได้เท่ากับงบประมาณประจำปีทั้งหมด ซึ่ง G ในงบประมาณประจำปี (Budget) มีรายจ่ายประจำ (ไม่รวมเงินโอนเพราะเงินโอนอยู่ใน C) รายจ่ายลงทุน (เรือดำน้ำ เครื่องบินรบ รถถัง) เงินคืนต้นเงินกู้ และเงินชดใช้เงินคงคลัง ส่วน G นอก BUDGET ประกอบด้วย เงินทุนหมุนเวียน อปท. รัฐวิสาหกิจ เงินนอกงบประมาณอื่นๆ

GFCE หากแบ่งตาม function รัฐใช้จ่ายกับ Education มากที่สุด มีสัดส่วนมากถึง 27% รองลงมาคือด้านสาธารณสุขมีสัดส่วน 25% เงินเดือนค่าจ้างบุคลากรภาครัฐสูงสุด( 2.9 ล้านคนคือจำนวนบุคลากรภาครัฐ) หากเพิ่มเงินเดือนให้บุคลากรภาครัฐก็จะทำให้ G และ GDP เพิ่มขึ้นได้ อาจจะดูเหมือนง่าย แต่สุดท้ายแล้วผลที่ตามมาคืองบประมาณมหาศาลถูกใช้ในเงินเดือนข้าราชการ คุณศิริกัญญา ตั้งคำถามชวนคิดว่า อีกไม่เกิน 10 ปี รัฐบาลจะจ่ายเงินบำนาญมากกว่าเงินเดือนข้าราชการ เป็นการใช้งบประมาณเพื่อตอบโจทย์ให้กับกับบุคลากรในอดีตโดยต้องมีสิ่งที่พาไปข้างหน้าได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่ต้องพูดคุยกัน

NX : NET EXPORT โดย คุณดุษณีญา อินทนุพัฒน์สำนักยุโรป กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์

International Trade การค้าระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และทุน ข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ ในปี 2566 ประเทศไทยนั้นขาดดุลทางการค้า มูลค่า 302,925.9 ล้านบาท

กระทรวงพาณิชย์(2566).สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567,จาก web : tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx

โดยประเทศไทยมีคู่ค้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน,สหรัฐญี่ปุ่น,มาเลเซีย และไต้หวัน ตามลำดับ ส่วนสินค้าส่งออกที่มากที่สุดคือ รถยนต์และ ส่วนประกอบ และสินค้านำเข้าที่มากที่สุดคือ น้ำมันดิบ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ(2565).สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567,จาก สไลด์ประกอบการบรรยาย

Free Trade / Liberalization (การค้าเสรี) “การค้าระหว่างประเทศมีความเสรีได้ แต่ต้องอยู่บนกติกาที่ทุกประเทศเห็นชอบร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการกิดกันการค้า จนกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ” คุณดุษณีญากล่าวในด้านของการค้าเสรี

(WTO)กับไทย เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมและควบคุมการค้าระหว่างประเทศ โดยมีภารกิจหลักคือในการเป็นสถาบันที่สร้างระเบียบและกฎเกณฑ์ในการค้าระหว่างประเทศที่ยุติธรรมและเปิดโอกาสให้กับทุกคนทุกประเทศที่เข้าร่วม

ข้อดีของการค้าระหว่างประเทศและการค้าเสรี

  • เพิ่มรายได้ : ประเทศสามารถจำหน่ายผลผลิตส่วนเกินสู่นอกประเทศ ทำให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศ 

  • เพิ่มศักยภาพ: การค้าระหว่างประเทศช่วยในการเพิ่มศักยภาพของแต่ละประเทศ โดยทำให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศเติบโตและพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

  • โอกาสใหม่ๆ: การค้าระหว่างประเทศเปิดโอกาสให้กับธุรกิจใหม่ ๆ และสร้างงานทำให้ผู้คนได้รับประโยชน์จากการเติบโตของธุรกิจได้รู้จักสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ไม่สามารถผลิตในประเทศได้

  • ลดอุปสรรคทางการค้า: การค้าระหว่างประเทศช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้บริโภค โดยเพิ่มการแข่งขันในตลาดภายในประเทศองค์กรการค้าโลก

สุดท้ายนี้กระผมเห็นว่า GDP=C+I+G+NX ไม่เพียงแต่จะพัฒนาการเพิ่ม GDP หรือตัวแปรต่าง ๆ ในสมการเพียงด้านเดียว เช่น การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า นโยบายการเงิน สนับสนุนการลงทุน แต่ควรหันมาสนใจการสร้างความอยู่ดีมีสุขแต่ละบุคคลในประเทศด้วย จากตัวชี้วัดด้านอื่นๆที่สำคัญ เช่น ตัวชี้วัดที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความอยู่ดีมีสุขของประชาชนแต่ละบุคคล เพื่อสร้างประเทศที่น่าอยู่และประชาชนมีความสุขได้อย่างแท้จริง

.

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Macroeconomic Theory 2 

สอนโดยอาจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ ด้วงอิน

.

นายธนภัทร สมศรี 651610178

นักศึกษาปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์

อ้างอิงที่มาของข้อมูล : https://www.thailandfuture.org/post/future-of-gdp-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA-%E0%B8%82%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A-%E0%B8%A7-%E0%B8%95%E0%B8%97-%E0%B8%94

https://thaipublica.org/2023/02/nesdc-overview-gdp-2022-2023/