เสียงเป็นอาวุธได้จริงหรือ?
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา มีข่าวว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการนำเครื่อง Long Range Acoustic Device หรือแอลแรด (LRAD) มาติดตั้งบนรถฉีดน้ำแรงดันสูง (จีโน่) ที่จอดอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ล่าสุด วันนี้ (25 พ.ย.) มีการจำลองสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบในกรณีมีเหตุชุลมุนจากกลุ่มผู้ชุมนม และมีการการเปิดคลื่นเสียง LRAD เพื่อควบคุมและสลายการชุมนุมที่บริเวณแนวกั้นหน้าธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
บริเวณแนวกั้นหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย
แอลแรด (LRAD) คือเครื่องขยายเสียงระดับไกล ถือเป็นอาวุธสงคราม สามารถส่งคลื่นเสียงระยะไกลกว่า 3,000 เมตร และกำหนดทิศทางได้ มีเสียงที่ชัดเจนในทุกระยะ เหมาะกับการแจ้งเตือนกับคนจำนวนมาก
ชมคลิปการซ้อมเปิดคลื่นเสียง LRAD (https://bit.ly/3nYkit0)
อย่างไรก็ตาม หากใช้ LRAD อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และถ้าใครอยู่ในแนวทิศทางของคลื่นเสียงเป็นเวลานานจะไม่สามารถทนได้
การใช้เสียงเป็นอาวุธเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตแล้ว
เช่น เมื่อปี 2017 เกิดเหตุการณ์ลึกลับที่สถานทูตอเมริกันในคิวบา เมื่อจู่ๆ มีคนเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ เวลานั้นคนคาดการณ์ว่าสาเหตุมาจากการขยายเสียงในคลื่นความถี่ที่คนเราไม่ได้ยิน แล้วเปิดวนซ้ำๆ จนทำให้ร่างกายเจ็บป่วย เวลาต่อมาอาการนี้เรียกว่า ‘Havana Syndrome’
หรือการใช้เครื่อง Long Range Acoustic Device ที่กระแทกเสียงแหลมๆ ดังๆ ซ้ำๆ เพื่อให้ผู้ชุมนุมต้าน G20 ในอเมริกาปี 2009 สลายตัว (ลองฟังเสียงได้ที่ https://bit.ly/39u4H0D)
ทั้งหมดที่ว่ามานี้มีการใช้เสียงเป็นอาวุธ ซึ่งใช้เทคนิคการขยายเสียงบางรูปแบบวนไปวนมาจนน่ารำคาญ เพื่อให้คน ‘ประสาทเสีย’
แต่การใช้เสียงเป็นอาวุธไม่จำเป็นต้องใช้เสียงประหลาดๆ อย่างเดียว เพราะ ‘เสียงดนตรี’ ที่เราฟังกันปกติอยู่ทุกวัน เพียงแค่เปิดดังๆ วนซ้ำไปมา คนที่โดนเสียงแบบนี้ถล่มใส่ก็ทนไม่ไหวแล้ว
สุดท้าย การใช้ ‘เสียงดนตรี’ คงไม่สามารถทำร้ายคนเราได้มากกว่าการใช้เพื่อทรมานในค่ายกักกันต่างๆ แน่นอน
ทำความรู้จัก “เสียง” ในฐานะอาวุธ จากยุคโบราณถึงปัจจุบัน เพิ่มเติมได้ที่: https://www.brandthink.me/content/sound-power