Select Paragraph To Read
- Queerbaiting กับบทบาทที่ใส่มาแบบงงๆ
- Disney นักเคลมตัวละคร LGBTQ+
- อุตสาหกรรมซีรีส์วาย
ชวนพูดคุยเรื่อง ‘Queerbaiting’ การที่สื่อเอาความหลากหลายทางเพศมาเป็นการตลาดเพื่อให้ดู ‘หัวก้าวหน้า’ และกวาดตลาดคนรุ่นใหม่ แต่ไม่ได้สนับสนุนความเท่าเทียมจริงจังแบบเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นบท LGBTQ+ ที่ใส่มาแบบไม่สอดคล้อง การเคลมตัวละครหลากหลายทางเพศเพื่อขายโต้งๆ หรือซีรีส์วายที่สร้างภาพจำแบบงงๆ ให้คนดู
ปัจจุบันการเปิดใจโอบรัดความหลากหลายทางเพศเป็นสัญลักษณ์ของความ ‘หัวก้าวหน้า’ บางอย่าง
เพราะฉะนั้น เราอาจจะต้องยอมรับตามตรงว่า ถ้าหากว่าไม่อยากดู ‘ล้าหลัง’ หรืออยากจะกวาดตลาดคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางเพศ การใช้สื่อหรือเพิ่มตัวละครซึ่งเป็น LGBTQ+ เข้าไปก็เป็นการแสดงออกที่น่าสนใจทางการตลาด
วันนี้ BrandThink จะชวนทุกคนมาพูดคุยเรื่อง ‘Queerbaiting’ หรือประเด็นที่สื่อและอุตสาหกรรมบันเทิงนิยมเอาความหลากหลายทางเพศมาทำการตลาดเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
แต่ปัญหาคือหลายการเอาเรื่องเพศมาทำการตลาดแต่ตัวเนื้อหากลับไม่ได้เข้าใจหรือสนับสนุนความหลากหลายอย่างแจริง เพียงแค่เอามาสวมทับไว้เพื่อให้มีภาพลักษณ์ของความทันสมัย หรือทันเทรนด์เท่านั้นแต่ไม่ได้ทำอะไรที่สนับสนุนความเท่าเทียมแบบที่เป็นรูปธรรมอะไรเลย
Queerbaiting กับบทบาทที่ใส่มาแบบงงๆ
เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์ Sherlock Homes ที่แต่เดิมวางอัตลักษณ์ของ Sherlock เป็นคนที่ไม่ฝักใฝ่ทางเพศ (Asexual) แต่ก็มีฉากปิ๊งปังตัวละคร Irene Adler ที่บอกว่าเป็นเลสเบี้ยน และยังมีสายสัมพันธ์พิเศษกับดอกเตอร์ Watson ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้หลายคนมองว่าเป็นการยัดความหลากหลายทางเพศเข้ามาแบบงงๆ เพราะอัตลักษณ์ทางเพศที่วางไว้กับความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นขัดแย้งกันไปหมด
ไม่ใช่เฉพาะเรื่องราวในภาพยนตร์เท่านั้น การตีความเบื้องหลังตัวละครก็มีประเด็นเช่นกัน อย่างเช่นตอนที่ JK Rowling ออกมาเปิดเผยหลังจากที่เขียนนิยาย Harry Potter จบไปแล้วว่าพ่อมด Dumbledore และพ่อมด Grinder Val มีความสัมพันธ์ชู้สาวกันมาตลอดก็สร้างเสียงฮือฮาจากแฟนๆ อย่างมาก แต่เรื่องนี้ไม่เคยถูกกล่าวถึงในเนื้อเรื่องมาก่อนเลย และแทบไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเนื้อเรื่องด้วย กรณีเหล่านี้ทำให้หลายคนมองว่าเป็นการใช้อัตลักษณ์ทางเพศเข้ามาขายของแบบ ‘ง่ายๆ ’ และไม่ได้มีผลอะไรกับเนื้อเรื่อง
“อัตลักษณ์ของพวกเราถูกใช้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมสมัย” ศจ. Julia Himberg จากมหาวิทยาลัย Arizona ภาพยนตร์และสื่อ เจ้าของหนังสือการเมืองเรื่องเพศในอุตสาหกรรมสื่ออเมริกัน กล่าว “แต่เรารู้สึกเหมือนเป็นเครื่องมือการตลาดราคาถูกๆ อันหนึ่ง”
Disney นักเคลมตัวละคร LGBTQ+
Disney เองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกันว่าใช้ความหลากหลายทางเพศเข้ามาทำการตลาดเสมอ และ มักจะเคลมด้วยว่าเป็นสื่อแรกที่ให้พื้นที่นี้ โดยที่ใช้คำว่าเป็นผู้บุกเบิกตัวละคร LGBTQ+ ‘ตัวแรก’ ในคาร์แรกเตอร์ต่างๆ มาแล้วอย่างน้อย 7 ครั้ง แต่ในเนื้อเรื่องก็ไม่ได้ให้พื้นที่กับพวกเขามากมาย
อย่างเช่นล่าสุด Disney ออกมาบอกว่า John McCrea ได้เล่นบท Queer เป็น ‘ตัวละครแรก’ ในเรื่อง Cruella แต่แน่นอนว่าในเรื่องไม่ได้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมทางเพศของเขาหรือว่ามีฉากที่เกี่ยวกับชีวิตรักของตัวละครนี้เลย แค่บอกเฉยๆ ว่าเป็น Queer
ยังมีการแย้มๆ ให้คนไปตีความกันเอาเองในภาพยนตร์อนิเมชัน LUCA มีการเพิ่มฉากจูบของเกย์มาในซีนเล็กๆ ของ The Rise of Skywalker หรือบทตัวละครเกย์ใน Jungle Cruis ที่เป็นตัวสำคัญแต่ใช้นักแสดงชายแท้มาเล่น จนหลายคนก็มองว่าการที่ Disney ให้พื้นที่กับความหลากหลายทางเพศนั้นสนับสนุนกันด้วยใจจริงหรือทำเพื่อการตลาดหนักๆ กันแน่ (หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีหลายคนอยากให้ Disney เลิกเคลมคำว่า ‘ครั้งแรก’ เสียที)
อุตสาหกรรมซีรีส์วาย
ส่วนในประเทศไทยเองอุตสาหกรรมซีรีส์วาย (Yaoi) ที่ผลิตมาเป็นร้อยเรื่องในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้รับความนิยมสูง แต่งละครในซีรีส์กับแตกต่างจากอัตลักษณ์ของเกย์ในโลกความจริงมาก พวกเขามักถูกนิยามว่า ‘ไม่ได้เป็นเกย์ เป็นผู้ชายที่บังเอิญรักกัน’ เท่านั้นเอง แถมคาแรคเตอร์ 2 คนยังถอดมาจากความเป็นชายหญิง ต้องมีฝังแมนร่างใหญ่ กับฝ่ายที่บอบบางร่างน้อยเสมอ เนื้อเรื่องวนเวียนกับความรัก มหาวิทยาลัย หรือเซ็กซ์ซีน
คาแรคเตอร์วายเหล่านี้มีกลุ่มแฟนคลับที่เป็นตลาดขนาดไม่น้อยเลย จนทำให้บางครั้งเราเป็นละครที่ใช้คู่รอง (ไม่ใช่พระนาง) ที่เป็นชาย-ชาย เพื่อจับตลาดแฟนคลับวายบ่อยๆ ซึ่งหลายคนก็มองว่านี่เป็นการสร้างภาพจำแบบ ‘ปลอมๆ’ ให้คนหลากหลายทางเพศ และคาแรคเตอร์เกย์หรือกะเทยจริงๆ ก็แทบไม่เคยได้บทหลักในซีรีส์วาย
เราไม่ได้กำลังบอกว่าทุกสื่อที่เกี่ยวกับ LGBTQ+ เป็นการทำเพื่อการตลาด หลายครั้งก็มีสื่อที่พยายามเสนอภาพสะท้อนชีวิตของคนหลากหลายทางเพศจริงๆ ในแง่มุมความอคติที่พวกเขาต้องเจอ การเลือกปฏิบัติ และชีวิตในฐานะคนคนหนึ่งที่มีมิติซับซ้อน ซึ่งแน่นอนว่า สื่อ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนและสร้างความเข้าใจในประเด็นดังกล่าว
แต่ประเด็น Queerbaiting ที่หลายคนกำลังพูดถึงก็คือ ไม่ว่าจะนำเสนอเรื่องราวของความแตกต่างด้วยจุดประสงค์อะไร จะเพื่อทำการตลาด หรือเพื่อสร้างแบรนด์ให้ดูสมัยใหม่
ก็รบกวนช่วย ‘จริงใจ’ ต่อกันสักหน่อย ใช้คาแรคเตอร์และเนื้อหาที่สร้างขึ้นมาเพื่อคนหลากหลายทางเพศจริงๆ ไม่ใช่แค่บอกว่าตัวละครนี้เป็น LGBTQ+ เฉยๆ เพื่อให้ดู ‘ไม่ล้าหลัง’ เท่านั้นเอง
อ้างอิง:
- BBC. Queerbaiting – exploitation or a sign of progress? . https://bbc.in/3yiJRdm
- ndtv. Benedict Cumberbatch Says Sherlock Holmes is ‘Asexual’ on Purpose. https://bit.ly/3sHlzbv
- forbes. How Many Times Is Disney Going To Introduce Its ‘First’ Gay Character? . https://bit.ly/3moRble
- The conversation. Luca, Disney and queerbaiting in animation> https://bit.ly/3B67583