อยากชื่อนี้จัง เสียดายเนอะ พ่อแม่น่าจะตั้งชื่อนี้ให้
เชื่อว่า การเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป และในช่วงหลังมา เราก็เห็นชื่อที่แปลก ที่ล้ำ กันขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เข้าใจได้ว่าเพราะเกิดมาสิ่งแรกที่เราไม่มีโอกาสได้เลือกเลยนั่นก็คือ “ชื่อ”
แต่ใช่ว่าเราอยากจะตั้งชื่ออะไรก็ได้ตามอำเภอใจ เพราะมันก็มี “ข้อห้าม” ในการตั้งชื่ออยู่ทั่วโลก แม้แต่ประเทศที่คิดว่าให้เสรีภาพเต็มที่ก็ใช้อำนาจในการจำกัด ยังไม่สามารถให้อิสระในการตั้งได้อยู่ดี
ทั้งนี้ประเทศไทยเองก็มีข้อห้ามพื้นฐานในการตั้งชื่อด้วยที่อยู่ใน ‘พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505’ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งชื่อ และนามสกุลของคนไทยที่มีรายละเอียดยาวมากๆ แต่เราข้อหยิบยกมาตราที่เกี่ยวข้องมาให้เห็น
- มาตรา 6: ชื่อตัวหรือชื่อรองต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
- มาตรา 7: ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ หรือผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์นั้นเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
- มาตรา 8: ชื่อสกุลต้อง
ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี
ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของผู้บุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
มีพยัญชนะไม่เกินกว่าสิบพยัญชนะ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
จากข้างต้นหากสรุปข้อห้ามในการตั้งชื่อ – นามสกุล ให้เข้าใจง่ายๆ เลยคือ
- ห้ามมีคำหรือความหมายหยาบคาย
- ห้ามไปพ้องกับชื่อของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินีไปจนถึงราชทินนาม ยกเว้นแต่อยู่ในตระกูลที่ได้ราชทินนามเป็นนามสกุลมา
- นามสกุลห้ามมีเกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่เป็นราชทินนาม
อย่างไรก็ดี จากที่เราลองอ่านพระราชบัญญัตินี้ดู ถือว่ากฎหมายของไทยค่อนข้างเปิดโอกาสให้คนไทยมีเสรีภาพในการตั้งชื่อมากเหมือนกัน อย่างที่เรามักพบเห็นหรือได้ยินตามสื่อที่เคยรวมชื่อแปลกๆ ยาวๆ ที่คนไทยตั้งกัน ซึ่งมันก็ไม่ผิดอะไร เพราะไม่มีกฎหมายข้อไหนห้ามไว้นั่นเอง
แล้วคุณล่ะ เคยคิดอยากจะตั้งชื่ออะไร ที่ไม่ผิดตามข้อห้ามกฎหมายของไทยกันบ้าง มาแชร์กันหน่อย
และถ้าคุณอยากรู้ว่า เสรีภาพในการตั้งชื่อทั่วโลกเป็นอย่างไร สามารถอ่านเต็มๆ ได้ที่: https://bit.ly/32FSmlc
อ้างอิง:
- กลุ่มวิจัยพัฒนากฎหมายคดีความและนิติการ. พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.๒๕๐๕. https://bit.ly/2QSZcRv