1 Min

ขี้เกียจอย่างไรให้เจริญ

1 Min
1007 Views
27 Sep 2021

ความขี้เกียจเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ส่วนจะขี้เกียจมากขี้เกียจน้อยก็แตกต่างกันออกไป ความขี้เกียจถูกมองว่าเป็นวายร้ายในเรื่องของการเติบโตมาโดยตลอด แต่วันนี้เราจะพามาดูว่าในบางมิติ ความขี้เกียจก็ส่งผลดีกับเรา

1. ความขี้เกียจทำให้เราค้นพบวิธีที่มีประสิทธิภาพ :ในบางครั้งเราพยายามหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำสิ่งบางอย่าง ผ่านความรู้สึกที่สะดวกสบายที่สุด เพราะเราขี้เกียจ เพราะเราไม่อยากเหนื่อยและใช้เวลานานนั่นเอง และความขี้เกียจก็น่าจะเป็นต้นกำเนิดของนวัตกรรมที่หลากหลายในปัจจุบันเลยด้วยซ้ำ

2. งีบหลับบ้างก็ได้ : ในบางวัฒนธรรม คนที่งีบหลับในช่วงเวลางาน อาจถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจ แต่หลากหลายงานวิจัยก็พิสูจน์แล้วว่า การงีบหลับในระยะเวลาและช่วงเวลาท่ีเหมาะสม ช่วยทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นจริง

3. ความขี้เกียจทำให้เราแตกต่าง : ความขี้เกียจมันอาจจะไม่ใช่สิ่งไม่ดี มันแค่ไม่ตอบโจทย์ค่านิยมของบางสังคมเท่านั้นเอง บางทีการใช้ชีวิตที่ถูกก็อาจจะต้องเป็นการขี้เกียจก็ได้นะ

4. ความขี้เกียจทำให้เราได้พัก : ไม่ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่ต้องพัฒนาตัวเองในทุกขณะ ไม่ต้องกังวลว่าเราจะก้าวไม่ทันกับใครเขา ถ้าเหนื่อยก็พัก ถ้าอะไรมันหนักหยุดบ้างก็ได้

5. ความขี้เกียจทำให้เราทำอะไรทีละอย่าง : ในบางครั้ง คนที่ทำงานเยอะ ทำงานพร้อมกันหลายอย่างในเวลาเดียวถูกมองว่าเป็นคนขยัน เป็นคนเก่ง แต่ก็มีงานวิจัยที่ช่วยพิสูจน์ การ Multitasking มันทำให้เราเครียดมากกว่าจริงๆ นะ

6. ความขี้เกียจทำให้เรามองเห็นภาพกว้าง​ : ในภาษาอังกฤษจะมีคำว่า Diffuse Thinking อยู่ อาจจะไม่มีคำไทยที่ตรงตัวนัก อาจจะเป็นคำว่าเหม่อลอย อาจจะมองว่าเป็นความคิดแบบกระจาย แต่ความคิดเรื่อยเปื่อยแบบนี้ บางทีมันก็ช่วยให้เราเอาบางอย่างมาเชื่อมโยงกันได้ บางอย่างที่เราโฟกัสมากไปอาจจะมองไม่เห็น บางอย่างที่ต้องใช้จินตนาการนั่นเอง

สุดท้ายนี้ บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนให้คุณขี้เกียจ ไม่ได้สนับสนุนให้คุณไม่พัฒนาหรือไม่ยอมทำอะไร อย่าใช้บทความนี้เป็นข้ออ้างในความขี้เกียจน้า

เพราะความเป็นจริง มันอาจไม่สำคัญอยู่ที่คำว่าขี้เกียจหรือขยัน แต่คุณใช้ชีวิตได้อย่างชาญฉลาดหรือ Work Smart มากพอหรือยังมากกว่า และที่สำคัญบางคนก็อาจจะมีความสุขและสนุกที่ทำงานอย่างขยันและเต็มที่ เอาเป็นว่า เอาไปปรับใช้ในรูปแบบไลฟ์สไตล์ของคุณได้เลย!

อ้างอิง

  • https://bit.ly/3hpYRAc