1 Min

อนาคตของวงการอาหาร! เมื่อ ‘ฟัวกราส์’ อาจไม่ต้องทรมานสัตว์อีกต่อไป เพราะเริ่มทดลองและสร้างได้เอง

1 Min
1510 Views
29 Jul 2021

ฟัวกราส์ อาหารเลิศรสสำหรับคนทั่วโลก และถือเป็นอาหารที่หรูหราที่สุดชนิดหนึ่งในฝรั่งเศส

แต่รู้ไหมว่ากว่าจะได้ฟัวกราส์มาแต่ละชิ้น ต้องทรมานเป็ดหรือห่านขนาดไหน?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฟัวกราส์ คือ ตับเป็ดหรือห่านที่เต็มไปด้วยไขมัน จนกลายเป็นตับที่ขุนแล้ว รสชาติจะมีความเข้มข้น และละเอียดอ่อน ซึ่งปกติแล้วตับของสัตว์เหล่านั้นไม่ได้มีไขมันเยอะขนาดนั้น แต่ผู้ผลิตทำการป้อนอาหารให้ตับของเป็ดหรือห่าน มากกว่าปกติถึง 10 เท่า จนกว่าตับจะบวม

กระบวนการนี้อาจทำให้เป็ดหรือห่านตัวใหญ่เกินกว่าจะเดินหรือหายใจได้ ความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ และผลที่ตามมาของการผลิตฟัวกราส์ ส่งผลให้ผู้บริโภคหลายคน เรียกร้องให้มีการผลิตฟัวกราส์ โดยไม่ทรมานสัตว์

Gourmey บริษัทสตาร์ทอัพที่ตั้งอยู่ในปารีสเปิดตัวประมาณ 2 ปีที่แล้ว มีเป้าหมายที่จะทำให้สูตรอาหารของพวกเขาสมบูรณ์ สามารถสร้างตับเป็ดหรือห่านที่ขุนให้อ้วนได้ ภายในห้องปฏิบัติการโดยปราศจากการทารุณกรรมสัตว์

โดยการผลิตฟัวกราส์ในห้องแล็บครั้งนี้ จะทำจากสเต็มเซลล์เป็ดที่เก็บเกี่ยวจากไข่ ที่ปฏิสนธิเพียงฟองเดียว และนำไปปลูกในหลอดทดลอง เซลล์จะได้รับสารอาหารเพื่อเพิ่มจำนวน และในที่สุดก็สร้างเนื้อเยื่ออะไรก็ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นไขมัน กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น

อุปสรรคใหญ่สำหรับการเพาะเลี้ยงเซลล์คือเนื้อสัมผัสของอาหารที่ได้โดยเนื้อจะเหมือนสเต๊ก แต่ Nicolas Morin-Forest ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO ของ Gourmey กล่าวว่า ในทางเทคนิค ฟัวกราส์นั้นเหมาะสำหรับการเพาะในห้องปฏิบัติการอย่างแม่นยำเพราะเนื้อสัมผัสที่ละเอียดอ่อนเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ

ไม่นานมานี้ Gourmey เพิ่งระดมทุน 10 ล้านดอลลาร์จากนักลงทุนรวมถึง Point Nine, Air Street Capital, คณะกรรมาธิการยุโรป และธนาคารเพื่อการลงทุนสาธารณะของฝรั่งเศส Bpifrance ซึ่งเป็นสัญญาณของการสนับสนุนของรัฐบาลสำหรับการผลิตฟัวกราส์ในห้องแล็บ

อย่างไรก็ตาม ต้องมาลุ้นกันว่าฟัวกราส์จากแล็บทดลองจะมีรสชาติเหมือนของจริงแค่ไหน และราคาของมันจะยังแพงอยู่ไหม

อ้างอิง