2 Min

บนโลกใบนี้ เราไม่ได้เหงาอยู่คนเดียว

2 Min
657 Views
07 Jan 2021

หลายคนมักจะพูดว่าความเหงามักมากับอากาศหนาว แต่ถึงประเทศไทยจะไม่ได้สัมผัสอากาศหนาว แต่เชื่อว่าเราสัมผัสความเหงากันแทบจะทุกคน

การที่เราพูดแบบนี้มีที่ไปที่มา และพวกเราคนเหงาไม่ได้เหงาแค่ในประเทศไทย แต่ความเหงายังแพร่กระจายเหมือนไวรัสไปทั่วโลก คนที่ถูกไวรัสแห่งความเหงาโจมตีมากที่สุดเห็นจะไม่พ้นคนวัย Millennials ที่อายุราว 23-38

ทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ? ในขณะที่โลกของเราเชื่อมต่อกันง่ายขึ้น ไม่ว่าใครอยู่ที่ไหน ตรงไหนบนโลกใบนี้ก็สามารถสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย และกลุ่มคนที่โตมากับเทคโนโลยีเหล่านี้ก็คือกลุ่มคน Millennials น่าจะเป็นกลุ่มที่ใช้ social เยอะอันดับต้นๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มคนที่เหงาอันดับ 1 ด้วยเช่นกัน

น่าเสียดายที่ยังไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนขนาดนั้น แต่จากผลการสำรวจของ YouGOV (http://bit.ly/2qe96Az) ก็ได้สำรวจเรื่องน่าสนใจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเหงาอย่าง “เพื่อน” ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญด้วยเช่นกัน 1 ใน 5 ของชาว Millennials บอกว่าตัวเองไม่มีเพื่อน

คำว่า “เพื่อน” ตรงนี้จึงไม่ใช่เรื่องของตัวเลขที่ปรากฏบนหน้า social media แต่อย่างใด แต่น่าจะหมายรวมไปถึงสภาวะทางใจของเรา จากงานวิจัยของ YouGOV ยังได้บอกเราเพิ่มอีกว่า สาเหตุอันดับหนึ่งของคนที่บอกว่าตัวเองไม่มีเพื่อน ไม่ใช่เรื่องของทักษะการเข้าสังคม แต่เพราะว่าอายเกินกว่าจะพูดออกไป

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของคนเหงา ที่นับวันยิ่งจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเพราะวิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบันของเราที่นับวันยิ่งมีความปัจเจกมากขึ้น ซึ่งความเป็นปัจเจกนี้ทำให้เราตัดขาดกับคนอื่นทั้งอย่างตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จนในที่สุดกว่าจะรู้ตัวก็เหงาไปเสียแล้วก็มี

ซึ่งความเหงาที่มาถึงเรานั้นเป็นจุดเกิดเหตุของอีกหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นซึมเศร้า, โรคอ้วน และโรคเรื้อรังต่างๆ ด้วยพฤติกรรมของคนกลุ่มคนเหงาที่ unhealthy เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราจะหลุดพ้นออกจากวงโคจรของความเหงาได้อย่างไร?

อย่างแรกที่เราบอกไป คุณไม่ได้เหงาอยู่คนเดียว จากงานวิจัยบอก 1 ใน 5 นั้นหมายถึงว่า ถ้านับเราเป็น 1 ที่เหงา ถัดไปอีก 5 คนก็จะมีคนเหงาเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเหงาทั้งๆ ที่มี Freind List อยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งที่เราพยายามจะสื่อคือ ยอมรับก่อนว่าเราก็สามารถเหงาได้ และความเหงามันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แต่มันไม่ควรอยู่กับเรานานจนทำให้เราสูญเสีย และส่งผลร้ายต่อการดำเนินชีวิต

อย่างที่สอง ความเหงาอาจจะเกิดความรู้สึกว่าโดดเดี่ยวและเป็นคนนอกของสังคมที่อยู่ ถ้าเรารู้สึกไม่สะดวกใจ ไม่สบายใจ ในการเดินเข้าไปในสังคมที่อยู่ การเดินออกมาจากสังคมเดิมๆ และหาเพื่อนใหม่ๆ อย่างการเดินทาง หรือออกไปทำกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ เพื่อทำเรื่องราวดีๆ

เรื่องราวของความเหงามันอาจจะทำให้เราเศร้า และอยากอยู่คนเดียวมากกว่าเดิม ซึ่งเราแน่ใจได้แล้วว่า ความเหงาสามารถฆ่าคนตายได้จริงๆ ซึ่งวิธีการที่จะทำให้เราหายเหงาได้อันที่จริงแล้วก็มีอีกหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะของเรา

นอกจากนี้แล้ว ความเหงายังสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายแบบ และความเหงายังมีวิวัฒนการอีกด้วย (Evolutionary Theory of Loneliness หรือ ETL – http://bit.ly/2NVCZ1u) แต่อย่างไรก็ดี เพราะความเหงาที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดกิจกรรมและการรวมตัวของกลุ่มคนเหล่านี้ขึ้นด้วยเช่นกัน

ครั้งหน้าที่เรารู้สึกเหงา ให้รู้ไว้เลยทันทีว่า ในตอนนี้เราไม่ได้เหงาอยู่คนเดียวอย่างแน่นอน

อ้างอิง: