7 Min

‘เซ็นทรัลพัฒนา’ กับเจตจำนง Imagining better futures for all แบรนด์ที่มีอยู่เพื่อ ‘พัฒนา’ คุณภาพชีวิตคนไทย

7 Min
1037 Views
01 Mar 2022

​พอพูดถึง ‘เซ็นทรัลพัฒนา’ หลายคนอาจคิดถึงศูนย์การค้าชั้นนำของเมืองไทย ส่วนหนึ่งอาจจะใช่ แต่คำตอบนั้นอาจจะไม่ถูกไปเสียทั้งหมด เพราะความเป็นจริงแล้ว Central Pattana เป็น บริษัทพัฒนาอสังหาในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป มิกซ์ยูส ที่ไม่ได้มีแค่ศูนย์การค้า แต่เป็นผู้พัฒนาธุรกิจ แบบ Retail-led Mixed use ซึ่งมีทั้ง ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ โรงแรม เป็นดั่ง Center of Life ถ้าอยากรู้ว่าอันไหนอยู่ในเครือหรือไม่ ก็สังเกตได้จากคำว่า ‘Brought to you by Central Pattana’ ที่มักจะมาต่อท้ายแต่ละโครงการ

ถ้าพูดง่ายๆ อยากให้ทุกคนลองนึกภาพตาม ‘บริษัทที่บริหารสถานที่แห่งความสุข’ ที่คนไทยรู้จักมาตลอด 40 ปี ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อย่าง เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลอีสต์วิลล์ เวสต์เกต ภูเก็ต และ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักชูรี่ เอาท์เล็ต และ ศูนย์การค้า เซ็นทรัล ในต่างจังหวัด ทั่วประเทศนั่นเอง

โดยในวันนี้ แบรนด์ค้าปลีกและอสังหาฯ ไทย เบอร์ 1 อย่าง เซ็นทรัลพัฒนาได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ มุ่งหวังเพื่อขับเคลื่อนสังคมไทย เป็นการปรับกระบวนทัพทางความคิดทั้งองค์กรเดินหน้าสู่อนาคตที่ดีกว่า กับการเปลี่ยนชื่อจาก ซีพีเอ็น สู่ ‘เซ็นทรัลพัฒนา’ หรือ ‘CENTRAL PATTANA’

นอกเหนือจากการเปลี่ยนชื่อที่เรียกเสียงฮือฮาแล้ว ยังมีการประกาศ Brand Commitment for Better Futures เป็นครั้งสำคัญในรอบ 40 ปี เดินหน้าวิสัยทัศน์ สู่การสร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืน เพื่อผู้คนและโลก ยืนหยัด สร้างพื้นที่ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการใช้ชีวิตในทุกมิติ สร้างสรรค์สิ่งที่ที่ดีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับคนไทยและประเทศไทย

เจตจำนง Imagining better futures for all กับการก้าวสู่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เบอร์ 1 ด้านความยั่งยืน

ทำให้จากนี้และต่อไป เราจะเห็นภาพและเรื่องราวของเซ็นทรัลพัฒนาว่าเป็นแบรนด์ที่มีอยู่เพื่อ ‘พัฒนา’ คุณภาพชีวิตคนไทย ภายใต้เจตจำนงใหม่ ‘Imagining better futures for all’ แบรนด์ที่เป็นมากกว่าศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย แต่เป็น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เบอร์ 1 ด้านความยั่งยืน

เป็นความยั่งยืนที่ถูกขับเคลื่อนผ่าน 2 ประเด็นสำคัญ

1.) ‘คนและชุมชน’ คือ กุญแจสำคัญ ที่จะขับเคลื่อนคอมมูนิตี้ และเป็นพลังที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้ เปิดโอกาส เพื่อพัฒนาศักยภาพคน ส่งเสริมการกระจายรายได้

2.) สิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าเป็น Mixed-use developer รายแรกที่มุ่งสู่ Net Zero ให้ได้ในปี 2050 โดยจะร่วมมือกับทุกภาคส่วน สู่ธุรกิจและระบบนิเวศที่ยั่งยืนต่อการทำธุรกิจ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อดูแลโลกและสิ่งแวดล้อม

อนาคตของเซ็นทรัลพัฒนาจะเป็นดั่ง Place Maker ที่ช่วยสร้าง The Sustainable Ecosystem & Co-creating Center of Life ที่พร้อมชวนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมขับเคลื่อนสังคมสร้างสรรค์ และ ยั่งยืนร่วมกัน

แบรนด์ก็แข็งแรงและมีชื่อเสียงอยู่แล้ว อะไรคือ จุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยน?

พออ่านถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยว่าแล้วจะเปลี่ยนทำไม 

แต่อย่างที่เราสัมผัสและเรียนรู้กันในปัจจุบัน ไม่ว่าแบรนด์จะยิ่งใหญ่แค่ไหน ในโลกที่กำลังหมุนไป ใครๆ ก็ต้องเปลี่ยนแปลง หากเราย้อนกลับไปดูงานวิจัย เราจะพบว่าแบรนด์ที่มีเจตจำนงของแบรนด์ และ มีคาแรคเตอร์ของแบรนด์ที่ชัดเจนนั้น จะเติบโตถึง 2 เท่า และ คนกลุ่มมิลเลนเนียล กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มจะเลือกแบรนด์ที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี ทำให้ตัวเอง สังคม และสิ่งแวดล้อมของโลกดีขึ้น หรือมีความเชื่อที่สอดคล้องกับความเชื่อหนึ่งความเชื่อใดของพวกเขา

อย่างไรก็ดี นี่อาจไม่เชิงเป็นการเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง แต่คือการปรับทิศทางให้ชัดเจนขึ้น เพราะตลอด 40 ปีที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนา อยู่คู่สังคมไทยมานาน ทุกๆโครงการที่ทำ และ ออกแบบ ล้วนมีลูกค้า ชุมชน มาเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานทุกครั้ง

เพื่อเป็นแบรนด์มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนโลกแห่งการใช้ชีวิตและการบริโภค เพื่อโลกและประเทศไทยไปพร้อมกับสังคมไทยจากใจจริง

ทำให้การเปลี่ยนครั้งนี้ เป็นการ Rebranding ครั้งใหม่ อย่างเต็มรูปแบบทั้ง Brand Purpose, Corporate logo ไปจนถึง Mall logo

ไม่ได้เปลี่ยนแค่แนวคิด แต่ Logo ของแต่ละสถานที่ก็เปลี่ยน เพื่อให้เข้าถึงผู้คนให้ได้มากที่สุด

และหากใครได้สังเกตกันมาบ้าง เซ็นทรัลพัฒนาไม่ได้เปลี่ยนแต่ Coperate Logo แต่ การปรับเปลี่ยน โลโก้ หรือ Mall Identity ของศูนย์การค้าเซ็นทรัล ทั้งหมดทั่วประเทศก็เริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้ว โดยเน้นความเรียบเท่ ด้วยเส้นสายที่โมเดิร์น และ เล่นกับแพทเทิร์นของโลโก้ แน่นอนว่าผ่านสร้างสรรค์มาอย่างดี ใช้เวลาการรวบรวมข้อมูลอย่างลึกซึ้ง 

และ จากความมุ่งมั่น สร้างความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงก้าวไปพร้อมกับชุมชน ซ็นทรัลพัฒนาจึงสร้างเอกลักษณ์ให้มากขึ้นไปอีกขึ้น ผ่านการออกแบบโลโก้ดีไซน์ เพื่อสะท้อนความเคารพใน Local spirit เชิดชู ส่งเสริม ชุมชนในแง่ต่างๆ หยิบยืมแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรม อัตลักษณ์ ภูมิทัศน์ ของแต่ละชุมชน มาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ

ซึ่งล้วนมาจาก ….

Local architecture สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เช่น เจดีย์ และ สิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ที่เอกลักษณ์ของจังหวัด เช่น เซ็นทรัล อยุธยา ที่ใช้รูปทรงของเจดีย์มาเป็นแรงบันดาลใจในการดีไซน์โลโก้

Local landscape การดึงทัศนียภาพและภูมิทัศน์มาแปลงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ เช่น เซ็นทรัล เชียงใหม่, เซ็นทรัลเชียงใหม่ แอร์พอร์ต และเซ็นทรัล เชียงราย ที่ใช้ไอเดียของ Landscape ไร่นา, ลายโค้งของการทำนา ไร่ชาบนภูเขาทางภาคเหนือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ เป็นต้น

Local history ดึงเอาประวัติศาสตร์ และ เรื่องราวในอดีตของแต่ละชุมชน มาเรียงร้อยและตีความใหม่ เช่น การนำลวดลายจากเครื่องปั้นดินเผา, อักษรโบราณต่างๆ มาเป็นไอเดีย เช่น โลโก้ของเซ็นทรัล ขอนแก่น เป็นต้น

อีกด้านหนึ่ง เซ็นทรัลพัฒนา ก็เดินหน้าส่งเสริมสินค้าและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักผ่านการจัดอีเวนท์และกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งปี, การใช้ภาษาท้องถิ่นในสื่อต่างๆ รวมถึง การแต่งกายด้วยชุดท้องถิ่นของพนักงาน ในด้านการช่วยเหลือชุมชน เรายังได้สร้างพื้นที่ Co-Creation สนับสนุน SMEs, เกษตรกร 40,000 ตร.ม. (มูลค่า 300MB) ต่อปี รวมถึง Local Art & Cultural Space ดึงเอกลักษณ์ของเมือง incorporate ในทุกพื้นที่ที่เราไปตั้งอยู่อีกด้วย

ภาพยนตร์โฆษณาสุดยิ่งใหญ่ ที่นำเสนอตัวตนใหม่ออกมาได้อย่างชัดเจน

นอกเหนือจากการ Rebranding ครั้งใหม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นังมาพร้อมกับภาพยนตร์โฆษณาสุดยิ่งใหญ่ นำเสนอออกมาสามารถนำเสนอตัวตนใหม่ๆ ของเซ็นทรัลพัฒนาได้ดีที่สุด โดย BrandThink มีโอกาสได้คุยกับครีเอทีฟอย่าง คุณตรง ตันติเวชกุล Creative Consulting Partner (Solution Fly Co., Ltd.) เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนางานชิ้นนี้

ในช่วงแรก เราสอบถามถึงคุณตรงก่อนว่า มีแนวคิดอย่างไรกับเส้นทางใหม่ๆ ของเซ็นทรัลพัฒนา แล้วจากจุดนั้นเปลี่ยนหมายถึงชิ้นงานที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไร

คุณตรงเล่าให้เราฟังว่า ผมตั้งต้นจาก brand statement อย่าง ‘Imagining better futures for all’

พร้อมเสริมว่า“เราคิด ทำที่ๆ ดีกว่า เพื่ออนาคตของทุกคน ทำให้มันมีชีวิต รู้สึกได้ จับต้องได้ หรือเป็นเหมือนคำมั่นสัญญาระหว่างเซ็นทรัลพัฒนากับคนไทย ผมลองยกตัวอย่าง ตั้งคำถาม โยนให้ทุกคนได้คิด จินตนาการถึงพื้นที่ สถานที่ ที่ๆ เราอยากจะเห็นอยากจะเข้าไปใช้ชีวิต ที่เหล่านั้นจะช่วยส่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจ หรือสร้างประสบการณ์ที่จะให้ชีวิตของพวกเราดียิ่งขึ้นในทุกมิติทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่ๆ เป็นของเราทุกคน ทุกเจนเนเรชั่น ทุกเพศสภาพ ทุกความชอบทุกความเชื่อ”

ซึ่งเราจะเห็นเลยว่าผลงานชิ้นนี้มีการนำเสนอออกในรูปแบบของ Slice of Life เป็นการเฝ้ามองวิถีชีวิตประจำวันของคนกลุ่มต่างๆ ที่มีความน่าสนใจ เกาะไปกับการเลือกแสดงแบบเหนือจริง เพื่อให้เกิดจินตนาการ ความแตกต่าง จดจำ เพื่อเป้าหมายเดียวคือ ให้คนดู “รู้สึก” และ “รัก” แบรนด์ เป็นการนำเสนอความเรียบง่ายเพื่อให้เชื่อมโยงกับผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ งานภาพที่คิดและพิจารณามาเป็นอย่างดี ทำให้เราทราบมองเห็นความมากมายที่แอบซุกซ่อนอยู่

อย่างการเล่นสร้างบ้านแปลงเมือง เป็นเหมือนการสะท้อนความคิด และ จินตนาการของเด็ก ที่เป็นตัวแทนของรุ่นใหม่ ในการมองไปสู่ อนาคตที่ดีกว่า และ โลกที่พวกเขาอยากอยู่อาศัย

หรือยูนิคอร์น เป็นเสมือนตัวแทน ของคนรุ่นใหม่ ที่ฝันถึงอนาคตที่ดีขึ้น แต่หากมองกลับไปในมุมธุรกิจ ยูนิคอร์นเป็นคำเรียกของสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตและเปลี่ยนแปลงโลก

ซึ่งในปัจจุบันสตาร์ทอัพเหล่านี้ก็มีส่วนสำคัญในการร่วมกันสร้างสรรค์เมืองที่น่าอยู่ และธุรกิจที่ดี มีความเจริญ และสะดวกสบาย

และแน่นอนว่าเมืองที่ดี ต้องเป็นเมืองที่สามารถอยู่กับธรรมชาติและเติบโตไปแบบยั่งยืน ผ่านเรื่องราวของอากาศที่บริสุทธิ์ การใช้พลังงานสะอาด เช่น กังหันลมไฟฟ้า และพื้นที่ที่ต่างๆ ที่เป็นมิตรกับการมีอยู่ของสรรพชีวิต

ซึ่งทั้งหมดเริ่มได้จากที่ศูนย์การค้าและโครงการต่างๆ ของ เซ็นทรัลพัฒนาใกล้บ้านคุณ

โดยในช่วงหลังของบทสนทนา คุณตรงบอกเล่าว่าอยากให้ทุกคนได้รู้จักเซ็นทรัลพัฒนาในรูปแบบเป็นแบรนด์ที่จะไม่หยุดที่จะพัฒนาพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่มาใช้บริการ คู่ค้าพันธมิตรที่เติบโตมาด้วยกันมา พื้นที่ต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ เซ็นทรัลพัฒนาจะเข้าไปช่วยให้มีผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต

สิ่งหนึ่งที่เราอาจปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ ภาพยนตร์โฆษณาตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานสำคัญที่สามารถสะท้อนตัวตนและแก่นแกนของเซ็นทรัลพัฒนาได้อย่างแยบยล

แน่นอนว่า พอทุกท่านเดินทางมาถึงที่ประโยคนี้ อาจจะพอรับทราบจุดยืนและความต้องการของแบรนด์กันไปบ้างแล้ว แต่คำถามต่อมาก็คือ แท้จริงแล้ว ‘เซ็นทรัลพัฒนา’ มีโครงการและหน่วยธุรกิจอะไรอยู่บ้างกันแน่?

โครงการในเครือของเซ็นทรัลพัฒนา ทำอะไร และมีที่ไหนบ้าง

ทางเราก็ต้องขอเล่าให้ฟังกันชัดๆ เลยว่า โครงการในเครือของเซ็นทรัลพัฒนาประกอบด้วยศูนย์การค้า 36 แห่ง (อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 15 โครงการ, ต่างจังหวัด 20 โครงการ และในมาเลเซีย 1 โครงการ) , อาคารสำนักงาน 10 อาคาร, โรงแรม 2 แห่ง, โครงการที่พักอาศัย 22 โครงการ และศูนย์อาหาร 30 แห่ง โดยโครงการดังกล่าวได้รวมส่วนที่บริหารจัดการโดยบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ GLAND ที่เซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

นอกจากนี้ ยังร่วมกับบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) พัฒนาโครงการดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค บนที่ดินกว่า 23 ไร่ บริเวณหัวมุมถนนสีลมและถนนพระราม 4

รวมถึงศักยภาพในธุรกิจของ SF ทั้งการขยายพอร์ตศูนย์การค้าระดับ Super Regional Mall เพิ่มขึ้นเป็น 2 แห่ง คือ เซ็นทรัล เวสต์เกต และเมกาบางนา ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับ กลุ่มอิคาโน่

ด้วยศักยภาพอันยิ่งใหญ่ และแผนธุรกิจระยะยาวที่จะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบต่างๆ ในทำเลศักยภาพสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ล้วนตอกย้ำความเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกอย่างแท้จริง

สุดท้าย เราอาจจะสรุปได้เลยว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นการเน้นย้ำใจความที่ว่า เซ็นทรัลพัฒนา เป็นแบรนด์ที่มีอยู่เพื่อ ‘พัฒนา’ คุณภาพชีวิตคนไทยอย่างแท้จริง

ที่มาพร้อมเจตจำนงใหม่ ‘Imagining better futures for all’ แบรนด์ที่เป็นมากกว่าศูนย์การค้า แต่เป็น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เบอร์ 1 ด้านความยั่งยืน

แล้วคุณล่ะครับ? มีความทรงจำดีๆ กับพื้นที่เหล่านี้บ้างไหม? ความทรงจำไหนยังคงเด่นชัดอยู่ใจ มาบอกเล่าให้พวกเราฟังได้นะ 🙂