ทีมที่เข้มแข็ง คือความแข็งแกร่งของธุรกิจ ส่องวิธี restart พัฒนาทีมอย่างไรให้ก้าวหน้า
การสร้างธุรกิจ ย่อมไม่ได้เริ่มจากคนแค่คนเดียว
หลังจากที่ธุรกิจแทบทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การผลิตหยุดชะงัก การขนส่งติดขัด และได้รับผลกระทบด้านยอดขาย แต่เมื่อสถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มคลี่คลายสิ่งสำคัญก็คือเราจะสามารถ Restart ให้ธุรกิจกลับมาเข้มแข็งได้ยังไงบ้าง โดยในงานเสวนา “6 เรื่องต้องรู้ Restart ธุรกิจให้ Strong สำหรับ SME” โดย SME Thailand ร่วมกับ โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ได้ร่วมหาแนวทางให้ SME ไทยกลับมาเข้มแข็งด้วยแนวทางต่างๆ
และหนึ่งในนั้นก็คือ ‘การสร้างทีมให้เข้มแข็ง’ เพื่อความแข็งแกร่งของธุรกิจ
ทีมที่ดีสำคัญยังไง?
อย่างที่เรากล่าวไปในข้างต้นว่าการสร้างธุรกิจไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากคนแค่คนเดียว ทุกคนและทุกตำแหน่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการทำให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้า ในงานเสวนา อ.อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำและองค์กรและผู้บริหารระดับสูงได้ระบุปัจจัยที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ 6 ข้อ ซึ่งไม่ควรขาดข้อไหน ได้แก่
- Leader Level 5 ในองค์กรควรมีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล วางแผนในระยะยาวและเข้าใจการจัดการภายในเป็นเรื่องที่สำคัญ
- Right People ต้องมีคนที่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของทีม สามารถทำงานและเป็นส่วนหนึ่งของทีมได้อย่างดี
- Focus เป้าหมายสำคัญที่องค์กรมุ่งหวัง เพราะหลายครั้งธุรกิจให้ความสนใจกับทุกอย่างมากเกินไปทำให้แนวทางไม่ชัดเจน และอาจทำให้เสียโอกาสได้
- Feedback Mechanism กลไกในการรับผลตอบรับทั้งจากลูกค้าและพนักงานเพื่อนำเข้าใจข้อดีข้อเสียและนำมาพัฒนาธุรกิจต่อไป
- Culture of Discipline วัฒนธรรมที่ส่งเสริมองค์กรให้พัฒนาไปข้างหน้า เช่นการมีวินัย เคารพซึ่งกันและกัน
- Technology to Accelerate เทคโนโลยีที่ช่วยลดการเสียเวลาหรือเสียพลังงานมากเกินไป เป็นคีย์ที่สำคัญในการทำธุรกิจ
เราจะเห็นว่าในปัจจัยที่ทำให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จได้นั้น มีการให้ความสำคัญกับเรื่อง ‘ทีม’ อย่างมาก ตั้งแต่ฝ่ายบริหาร การตามหาคนที่ ‘ใช่’ และพัฒนาคน การมีเครื่องมือในการรับฟังพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้ทีมและธุรกิจเข้มแข็ง
ศักยภาพของคน ต้องพัฒนายังไง?
แต่หลายครั้งผู้ประกอบการมักไม่รู้ว่าควรพัฒนาคนในทีมอย่างไรเพื่อดึงศักยภาพออกมาให้ได้มากที่สุด อ.อภิวุฒิจึงได้จัดลำดับศักยภาพของบุคคลเอาไว้เพราะแต่ละคนแล้วจะมีสิ่งที่ทำได้และทำไม่ได้แตกต่างกัน
สิ่งสำคัญคือธุรกิจส่วนใหญ่หรือแม้แต่ในสมัยเรียนหนังสือมักพยายามพัฒนาจุดอ่อนเพื่อให้เป็นศักยภาพกลางๆ แต่ความจริงแล้วธุรกิจอาจควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาจุดแข็งให้เป็นจุดแกร่งมากกว่า เพราะเป็นไปได้ยากที่คนจะสามารถพัฒนาจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง ดังนั้นในการพัฒนาคนควรเริ่มอย่างไร อ.อภิวุฒิ ได้ระบุขั้นตอนไว้ดังนั้น
- ปิดจุดตาย (Fetal Flaws) หรือสิ่งที่เป็นจุดด้อยและส่งผลกระทบกับงานโดยตรง ควรแก้ไขก่อนเป็นอันดับแรก เช่นอาจโยกย้ายไปทำในตำแหน่งงานที่ถนัดมากกว่า
- พัฒนาจุดแข็ง (Strengths) เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สามารถทำได้ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นไปอีกเพื่อให้สามารถใช้ศักยภาพจุดนี้ได้อย่างเต็มที่
- ซ่อมจุดอ่อน (Weakness) หลังจากที่เรียนรู้พัฒนาจุดแข็งของตัวเองจึงค่อยให้ความสนใจกับสิ่งที่ทำได้ไม่ดี ซึ่งไม่จำเป็นต้องรีบร้อนเพียงแค่เป็นการอุดรอยที่อาจผิดพลาดได้
- เสริมจุดแกร่ง (Profound Strengths) เมื่อพัฒนาจุดแข็งและซ่อมจุดอ่อนในแต่ละด้านแล้วจะเป็นการสร้างทักษะที่ยอดเยี่ยมได้อีกหลายด้าน
การสร้างทีมที่เข้มแข็ง
สำหรับในด้านการสร้างความแข็งแกร่งในโครงสร้างขององค์กร ต้องพึ่งพาอาศัยการบริการที่ดี ซึ่งสิ่งพื้นฐานที่สุดเกิดขึ้นได้จากการที่ทุกหน่วยงานมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน จะทำให้เกิดความแข็งแกร่งด้านอื่นๆ ตามมา สิ่งที่ควรมีเพื่อให้ทีมแข็งแกร่งและเคารพซึ่งกันและกันในต่อมาก็คือ
- Clear Role& Responsibility ทุกคนมีบทบาทที่ชัดเจนและมีความรับผิดชอบให้หน้าที่ของตัวเอง
- Open communication ทีมควรสื่อสารกันได้อย่างเปิดเผย สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนและรับฟังกัน
- Diversity การมีความหลากหลายทั้งด้านเพศ อายุ หรือ การศึกษา?
- Care & Respect ให้ความสำคัญและเคารพต่อกัน
เมื่อมีสิ่งเหล่านี้จะสามารถมีเป้าหมายหรือ Goal Achievement ร่วมกันของทีมเพื่อให้ทุกคนทำงานโดยมุ่งไปที่เป้าหมายเดียวกันอย่าชัดเจน นี่คือกลยุทธ์ที่สำคัญในหารสร้างทีมอย่างเข้มแข็งสำหรับธุรกิจที่ต้องการกลับมาเปิดอีกครั้งหลังยุคโควิด-19
‘Plan Toy’ ธุรกิจตัวอย่างที่ต้องการสร้างทีมที่แข็งแรงยั่งยืน
ในงานเสวนา คุณโกสินทร์ วีระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Plan Toy หรือแปลนครีเอชันส์ ผู้ผลิตของเล่นเด็กที่เปิดมายาวนานกว่า 30 ปี ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของเด็กเพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า ซึ่งตลอด 40 ปีที่ผ่านมาคุณโกสินทร์ระบุว่าเจอกับปัญหาหลากหลายอย่างมาตลอดตามบริบทที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา หนึ่งในนั้นคือเรื่องของคน
เนื่องจากโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่จังหวัดตรัง ในช่วงก่อนหน้านี้ในโรงงานมีพนักงานมากกว่า 1,200 คน แต่หลังจากที่ราคายางพาราขึ้นทำให้พนักงานกว่าครึ่งซึ่งเป็นคนในพื้นที่ตัดสินใจกลับไปทำสวนยางของตัวเองและเหลือพนักงานเพียง 600-700 คนเท่านั้น ทางแบรนด์จึงต้องการสร้างนวัตกรรมเพื่อทดแทนกับแรงงานรวมถึงพัฒนาศักยภาพพนักงานและสวัสดิการต่างๆ ด้วย
จากการเข้าร่วมโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์และ Plan Toy ได้คำแนะนำจากคุณ อำนวย จงกาญจนา ผู้เชี่ยวชาญจากโครงการฯ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการจัดการนวัตกรรมในการทุ่นแรงต่างๆ ด้วยหลักการ ‘ไคเซน’ ที่เชื่อว่าทุกอย่างสามารถพัฒนาได้ ด้วยการจัดการระบบการวางจัดวาง การจัดเก็บ และการควบคุมการทำงานให้เป็นระบบ และไม่มีจุดที่ทำให้พนักงานเสียเวลาหรือพลังงานโดยไม่จำเป็น เพื่อให้การทำงานสะดวกมากขึ้นและลดเวลาทำงาน
การปรับรูปแบบการทำงานทำให้ทีมเห็นความสำคัญของการต่อยอด สื่อสารกันได้มากขั้น และสร้างวัฒนธรรมในการตื่นตัว และปรับตัวตลอดเวลา
นอกจากนี้ Plan Toy ยังมีสวัสดิการให้กับพนักงานเช่นอาหารฟรี หรือส่งเสริมรายได้พิเศษให้กับพนักงานด้วยการรับซื้อสินค้าต่างๆ รวมถึงมีการรณรงค์เรื่องการออมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับพนักงานซึ่งเดิมมีปัญหานี้มาก เป็นความใส่ใจที่องค์กรมอบให้กับพนักงานเพื่อสร้างทีมที่ดีและแข็งแกร่งต่อไป
การพัฒนาคนในทีมและสื่อสารกันเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้ทีมแข็งแกร่งและทำให้ธุรกิจสามารถกลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้ง สิ่งสำคัญคือความเชื่อที่ว่าทุกคนและทุกอย่างสามารถพัฒนาได้เสมอ ทำให้ธุรกิจพัฒนาอย่างไม่หยุดพักและ Restart กลับสู่ตลาดได้อีกครั้ง
สำหรับเหล่า SME คนไหนที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมโทร : 08-4555-0802