Space Tourism
การท่องเที่ยวอวกาศ คือ การเดินทางไปในอวกาศนอกโลกเพื่อนันทนาการ การพักผ่อน และธุรกิจ มีบริษัทท่องเที่ยวอวกาศหลายบริษัทเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เช่น เวอร์จิน กาแล็กติก (Virgin Galactic) บริษัทหวังว่าจะสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศให้ก้าวหน้าจงได้ ปัจจุบันโอกาสของการท่องเที่ยวอวกาศในวงโคจรรอบโลกมีจำกัดและราคาแพง เช่น มีเพียงองค์การอวกาศรัสเซียเท่านั้นที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวผจญภัยในอวกาศใช้บริการนี้ขึ้นไปที่สถานีอวกาศนานาชาติด้วยยานอวกาศโชยุสขององค์การอวกาศรัสเซีย กำหนดราคาไว้ที่คนละ 20 – 40 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราคาในระหว่าง ค.ศ. 2001-2009) นักท่องเที่ยวบางคนเซ็นสัญญากับบริษัทหรือบุคคลที่ 3 ผู้สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมการศึกษาวิจัยให้บริษัทขณะอยู่ในอวกาศ
รัสเซียยุติการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวใน ค.ศ. 2010 เพราะสถานีอวกาศนานาชาติเพิ่มจำนวนนักบินอวกาศที่ทำหน้าที่เป็นลูกเรือของโครงการสำรวจ (expedition crews) โดยใช้โควต้าที่รัสเซียเคยขายให้แก่นักท่องเที่ยวอวกาศ ขณะนี้รัสเซียมีโครงการที่จะเพิ่มเที่ยวบินของยานโซยุสจาก 3 เที่ยวต่อปี เป็น 5 เที่ยวต่อปีทั้งนี้ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 2013 เป็นต้นไป จึงจะให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้อีก
องค์กรแต่ละองค์กรเรียก การท่องเที่ยวอวกาศ (Tourism) ไม่เหมือนกัน เช่น สถาบันการบินอวกาศเพื่อการค้า(Commercial Spaceflight Federation) เรียกว่า “การบินอวกาศส่วนบุคคล” (personal spaceflight) “ประชากร” (citizens) ในโครงการอวกาศเรียกว่า “ประชากรแห่งการสำรวจอวกาศ”(citizen space exploration)
นับถึงเดือนกันยายน ค.ศ.2012 มีหลายบริษัทท่องเที่ยวที่ลดราคาสำหรับการท่องเที่ยวอวกาศทั้งในระดับต่ำกว่าวงโคจรรอบโลก กับระดับวงโคจรรอบโลก (ขึ้นไปที่สถานีอวกาศนานาชาติ) ด้วยระยะเวลาที่ต่างกัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ท่องเที่ยวต่าง ๆ กัน
ภูมิหลังของการท่องเที่ยวอวกาศในนิยาย
ภายหลังความสำเร็จในยุคตัน ๆ ของมนุษย์ในการออกไปอยู่ในอวกาศนอกโลก หลายคนได้มองเห็นว่าการสำรวจอวกาศอย่างกว้างขวางเป็นสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอวกาศกว้างใหญ่มหาศาล ขณะเดียวกันมนุษย์มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ในอดีตนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายคนมีความฝันโดยได้ฝากความทรงจำ ความหลงใหลและจินตนาการของอวกาศไว้ในนวนิยายเรื่องต่าง ๆ เช่น ลูเซียนแห่งซาโมซาตา (Lucian of Samosata) นักเขียนชาวซีเรียในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้เขียนเรื่อง ประวัติศาสตร์ที่แท้จริง (True History)/ หรือ เรื่องจริง (True Story) กล่าวถึงกะลาสีเรือชายหลายคนที่แล่นเรือออกสำรวจโลก แล้วเกิดพายุพัดพาเรือของพวกเขาแล่นไปถึงดวงจันทร์ จูลส์ เวิร์น (Jules Verne) นักเขียนนวนิยายชาวฝรั่งเศสได้เขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ ภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับดวงจันทร์ คือ จากโลกสู่ดวงจันทร์ (From the Earth to the Moon) พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1870 เป็นภาษาฝรั่งเศส (ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1873) กล่าวถึงการผจญภัยของนักบินอวกาศ 3 คน ที่อยู่ในยานรูปกระสุนปืนใหญ่
ซึ่งยิงกระสุนไปยังดวงจันทร์ โดยจะใช้เวลาเดินทาง 5 วันหลังออกจากปากกระบอกปืนใหญ่ไปเพียง 2-3 นาที ก็มีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งปรากฏสว่างมากวิ่งผ่านพวกเขาในระยะใกล้มากแต่ไม่ชน ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ถูกโลกดึงไว้เป็นบริวารกลายเป็นดวงจันทร์ดวงที่ 2 ของโลก นักบินอวกาศทั้ง 3 เดินทางฃผจญภัยต่อไป ระหว่างทางเกิดเหตุการณ์หลายอย่าง เป็นต้นว่าการทิ้งซากสุนัขที่ตายแล้วออกทางหน้าต่างของยาน การป่วยไม่สบายจากแก๊สพิษ และการคิดคำนวณอย่างสั้นทำให้พวกเขาทั้งคณะได้เดินทางกลับมาที่โลก ต่อมาจึงพบความจริงว่าแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์น้อยได้เบี่ยงเบนการเดินทางของพวกเขาไปจากเดิม กล่าวคือทำให้พวกเขาเข้าไปโคจรรอบดวงจันทร์แทนที่จะลงบนดวงจันทร์อย่างที่ตั้งใจไว้ เมื่อทราบว่ากำลังโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ พวกเขาก็เริ่มสำรวจสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นผิวดวงจันทร์โดยใช้กล้องส่องทางไกล และแล้วยานก็พาพวกเขาดิ่งขึ้นไปทางซีกเหนือของดวงจันทร์และเข้าไปอยู่ในความมืดทำให้หนาวเย็นมาก ก่อนที่จะออกมาสู่ความสว่างอีกครั้งหนึ่งและเคลื่อนที่ต่อไปเหนือซีกใต้ของดวงจันทร์ พวกเขาอยู่เหนือเครเตอร์ที่โคที่สวยงาม และเริ่มถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ แล้วสรุปว่าดวงจันทร์แห้งแล้ง ต่อมาปรากฏว่ายานของพวกเขาเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ จุดสมดุลจุดหนึ่งระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ทำให้ 1 ใน 3 คนเกิดความคิดขึ้นว่าจะใช้จรวดยิงยานจากจุดนี้ให้ไปลงดวงจันทร์ แต่เกิดความผิดพลาดเพราะยานวิ่งไปทางโลก และตกลงสู่มหาสมุทรด้วยความเร็วเดียวกันกับความเร็วที่ออกไปจากโลก ในขณะนั้นเรือรบของสหรัฐอเมริกาสังเกตเห็นดาวตกสว่างโชติช่วงจากท้องฟ้าสู่ทะเลและพบว่าเป็นยานของนักผจญภัยทั้ง 3 คนซึ่งยังมีชีวิตอยู่พวกเขาทั้ง 3 คนได้รับความช่วยเหลือ มีการต้อนรับอย่างเอิกเกริกในฐานะที่เป็นบุคคลชุดแรกที่เดินทางออกไปนอกโลกได้
นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ เซอร์ อาร์เทอร์ ซี คลาร์ก (Sir Arthur C. Clarke: 1917-2008) เป็นชาวอังกฤษแต่ในบั้นปลายของชีวิตไปตั้งรกรากอยู่ที่ศรีลังกา ได้เขียนเรื่อง “นรกใต้ทะเลฝุ่น” (A Fall of Moondust) ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษใน ค.ศ.1961 โดยมีเค้าโครงเรื่องว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลังจากที่มีมนุษย์ไปตั้งหลักแหล่งบนดวงจันทร์แล้วก็มีนักท่องเที่ยวไปผจญภัยที่ดวงจันทร์ จุดขายสำคัญจุดหนึ่งของการท่องเที่ยวคือ การตะลุยทะเลบนดวงจันทร์ โดยเฉพาะทะเลแห่งความกระหาย (Sea of Thirst) ไม่มีจริงบนดวงจันทร์มีแต่ในนิยายเรื่องนี้เท่านั้น ซึ่งอยู่ภายในอ่าวน้ำค้าง (Sinus Roris) นับว่าอยู่ผิดที่เพราะโดยปกติอ่าวจะอยู่ภายในทะเลโดยเป็นส่วนหนึ่งของทะเล ทะเลแห่งความกระหายเต็มไปด้วยฝุ่นที่ละเอียดมากเป็นฝุ่นแห้งกว่าฝุ่นในทะเลทรายบนโลก เป็นฝุ่นที่เกือบไหลได้คล้ายกระแสน้ำ แทนที่จะเป็นหินดินก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า เรโกลิธ (regolith) ที่ปกคลุมพื้นผิวส่วนใหญ่ของดวงจันทร์ ผู้จัดเที่ยวมีเรือชื่อ เซลีนี ที่ออกแบบพิเศษให้วิ่งไปบนฝุ่นดวงจันทร์นี้คล้ายฃการเคลื่อนที่ของเจ็ตสกีบนน้ำ ในการผจญภัยครั้งหนึ่งเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงบนดวงจันทร์ทำให้แผ่นดินยุบ ขณะที่เรือเซลีนีแล่นผ่น เรือจมลงไปใต้ผิวฝุ่นประมาณ 15 เมตร เรือจึงหายไป เกิดปัญหาที่อาจทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือถึงแก่ชีวิตโดยทันทีทันใด เพราะเรือเชลีนีมีอากาศหายใจจำกัดไม่มีหนทางที่จะระบายความร้อน ระบบสื่อสารใช้การไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่าเรือเซลีนีอยู่ตรงจุดใดแน่ เวลาเหลือน้อย ภายในเรืออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศกลายเป็นพิษใช้หายใจไม่ได้ กัปตันและลูกเรือพยายามคลายความกังวลของผู้โดยสารขณะรอความช่วยเหลือโดยได้รับความร่วมมือจากผู้โดยสารคนหนึ่งซึ่งเกษียณอายุแล้วจากการประกอบอาชีพเป็นกัปตันนักสำรวจและนักบินอวกาศ แต่ตอนแรกไม่ใด้แสดงตัว ขณะ นั้นเองนักดาราศาสตร์สติเฟื่องคนหนึ่งสังเกตดวงจันทร์จากดาวเทียมซึ่งอยู่ณ จุด 12 ของระบบโลกและดวงจันทร์ทำให้เขาเชื่อว่าเขาพบร่องรอยที่มีอุณหภูมิสูงบนพื้นผิวดวงจันทร์นำมาสู่การช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในเรือเซลีนีได้ในที่สุด
อีกเรื่องหนึ่งที่เซอร์ อาร์เทอร์ ซีคลาร์ก เขียนเกี่ยวกับดวงจันทร์คือ จอมจักรวาล 2001 (2001: A Space Odyssey) โดยมีเค้าโครงที่เชื่อว่า มนุษย์ต่างดาวผู้มีเทคโนโลยีสูงได้แกะสลักหินสีดำขนาดใหญ่รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีอัตราส่วน ความหนา : ความกว้าง : ความสูง เป็น 1:4:9 หรือ 12:22:32 นั่นคือแท่งวัตถุนี้มีความหนา 1/4 ของความกว้างและ 1/9 ของความสูง แล้วฝังไว้ลึก 15 เมตรใต้ผิวในเครเตอร์ที่โค ของดวงจันทร์ เมื่อ 3 ล้านปีมาแล้ว หินสีดำนี้เป็นวัตถุที่ทำให้เกิดการรบกวนสนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ตรงบริเวณเครเตอร์ที่โค จึงเรียกว่า ที่เอ็มเอ-1 (TMA-1:Tycho Magnetic Anomaly One) หมายถึงความ ไม่เป็นปกติทางสนามแม่เหล็กบริเวณทีโคเป็นหินชิ้นที่ 1 นักวิทยาศาสตร์ขุดพบทีเอ็มเอ-1 ในเวลากลางคืน เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในเวลารุ่งเช้าบนดวงจันทร์ ปรากฏว่าแสงแดดทำให้ทีเอ็มเอ-1 ส่งคลื่นวิทยุไปยังไอเอปตัส ดวงจันทร์ใหญ่เป็นที่ 3 ของดาวเสาร์ ซึ่งต่อมานักสำรวจได้เดินทางไปสำรวจไอเอปตัสและพบหินสีดำขนาดใหญ่บนไอเอปตัส เป็นหินที่มีสัดส่วนเดียวกันกับทีเอ็มเอ-1 จึงได้รับชื่อว่า ที่เอ็มเอ-2
นอกจากนี้ยังมีนักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่พูดถึงดวงจันทร์เป็นอาณานิคม โดยมีที่อยู่อาศัยอยู่ใต้ดิน เช่น รอเบิร์ต เอ ไฮน์ไลน์(Robert A. Heinlein) นักเขียนชาวอเมริกันเขียนเรื่อง “The Menace from Earth” เมื่อ ค.ศ.1957 นับเป็นเรื่องแรก ๆ ที่นำเรื่องราวของการท่องเที่ยวอวกาศเข้าไปอยู่ในนิยายด้วย
นิยายการท่องเที่ยวอวกาศเกิดจากความรู้และความคิดจินตนาการของผู้เขียน ความรู้ของมนุษย์ในอดีตอาจน้อยกว่าความรู้ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน แต่มีความคิดจินตนาการที่หลากหลายไม่มีขอบเขต ความฝันของมนุษย์ที่จะขึ้นไปเหยียบผิวดวงจันทร์มีมาช้านานและประสบความสำเร็จเมื่อ 45 ปีนี่เองโดยมนุษย์อวกาศอเมริกาในโครงการอะพอลโล
ในโลกแห่งความเป็นจริง ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านจรวด สหภาพโซเวียตรัสเชียพัฒนาจรวดที่มีพลังขับดันสูงได้ก่อนสหรัฐเมริกา จึงส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อ สปุตนิก-1 ขึ้นสู่อวกาศได้ก่อนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 และสหรัฐเมริกาตามมาติด ๆ ด้วยการส่งดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 ขึ้นไปโคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 การแข่งขันกันในการออกไปนอกโลกระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจทางอวกาศนี้เป็นไปอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่อวกาศต่อมาในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 สหภาพโซเวียตรัสเซียก้าวหน้ากว่าคู่แข่งด้วยการส่งยุริ กาการิน มนุษย์อวกาศคนแรกขึ้นไปโคจรรอบโลก ทำให้สหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนนดี ออกมาประกาศ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1962 ว่า “เราเลือกที่จะไปลงดวงจันทร์ในทศวรรษนี้ให้ได้ และทำสิ่งอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่เพราะทำได้ง่าย ๆ แต่เป็นเพราะมันทำยาก…” สหรัฐอเมริกาเอาชนะสหภาพโซเวียตรัสเชีย ด้วยการนำยานอะพอลโล 1 ลงดวงจันทได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 โดยนักบินอวกาศอเมริกาชื่อ นีล อาร์มสตรองก้าวลงบันไดของยาน ลงดวงจันทรชื่อ อีเกิล เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ด้วยรอยเท้าแรกพร้อมคำกล่าวที่ว่า “นี่เป็นก้าวสั้น ๆ ของมนุษย์ก้าวหนึ่งบนดวงจันทร์ แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยาวมากก้าวหนึ่งของมนุษยชาติ..(ในการสำรวจอวกาศ)”
การท่องเที่ยวอวกาศ คือ การเดินทางไปในอวกาศนอกโลกเพื่อนันทนาการ การพักผ่อน และธุรกิจ มีบริษัทท่องเที่ยวอวกาศหลายบริษัทเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เช่น เวอร์จิน กาแล็กติก (Virgin Galactic) บริษัทหวังว่าจะสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอวกาศให้ก้าวหน้าจงได้ ปัจจุบันโอกาสของการท่องเที่ยวอวกาศในวงโคจรรอบโลกมีจำกัดและราคาแพง เช่น มีเพียงองค์การอวกาศรัสเซียเท่านั้นที่ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวผจญภัยในอวกาศใช้บริการนี้ขึ้นไปที่สถานีอวกาศนานาชาติด้วยยานอวกาศโชยุสขององค์การอวกาศรัสเซีย กำหนดราคาไว้ที่คนละ 20 – 40 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราคาในระหว่าง ค.ศ. 2001-2009) นักท่องเที่ยวบางคนเซ็นสัญญากับบริษัทหรือบุคคลที่ 3 ผู้สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวทำกิจกรรมการศึกษาวิจัยให้บริษัทขณะอยู่ในอวกาศ
รัสเซียยุติการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวใน ค.ศ. 2010 เพราะสถานีอวกาศนานาชาติเพิ่มจำนวนนักบินอวกาศที่ทำหน้าที่เป็นลูกเรือของโครงการสำรวจ (expedition crews) โดยใช้โควต้าที่รัสเซียเคยขายให้แก่นักท่องเที่ยวอวกาศ ขณะนี้รัสเซียมีโครงการที่จะเพิ่มเที่ยวบินของยานโซยุสจาก 3 เที่ยวต่อปี เป็น 5 เที่ยวต่อปีทั้งนี้ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 2013 เป็นต้นไป จึงจะให้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้อีก
องค์กรแต่ละองค์กรเรียก การท่องเที่ยวอวกาศ (Tourism) ไม่เหมือนกัน เช่น สถาบันการบินอวกาศเพื่อการค้า(Commercial Spaceflight Federation) เรียกว่า “การบินอวกาศส่วนบุคคล” (personal spaceflight) “ประชากร” (citizens) ในโครงการอวกาศเรียกว่า “ประชากรแห่งการสำรวจอวกาศ”(citizen space exploration)
นับถึงเดือนกันยายน ค.ศ.2012 มีหลายบริษัทท่องเที่ยวที่ลดราคาสำหรับการท่องเที่ยวอวกาศทั้งในระดับต่ำกว่าวงโคจรรอบโลก กับระดับวงโคจรรอบโลก (ขึ้นไปที่สถานีอวกาศนานาชาติ) ด้วยระยะเวลาที่ต่างกัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ท่องเที่ยวต่าง ๆ กัน
ภูมิหลังของการท่องเที่ยวอวกาศในนิยาย
ภายหลังความสำเร็จในยุคตัน ๆ ของมนุษย์ในการออกไปอยู่ในอวกาศนอกโลก หลายคนได้มองเห็นว่าการสำรวจอวกาศอย่างกว้างขวางเป็นสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอวกาศกว้างใหญ่มหาศาล ขณะเดียวกันมนุษย์มีความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ในอดีตนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายคนมีความฝันโดยได้ฝากความทรงจำ ความหลงใหลและจินตนาการของอวกาศไว้ในนวนิยายเรื่องต่าง ๆ เช่น ลูเซียนแห่งซาโมซาตา (Lucian of Samosata) นักเขียนชาวซีเรียในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้เขียนเรื่อง ประวัติศาสตร์ที่แท้จริง (True History)/ หรือ เรื่องจริง (True Story) กล่าวถึงกะลาสีเรือชายหลายคนที่แล่นเรือออกสำรวจโลก แล้วเกิดพายุพัดพาเรือของพวกเขาแล่นไปถึงดวงจันทร์ จูลส์ เวิร์น (Jules Verne) นักเขียนนวนิยายชาวฝรั่งเศสได้เขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ ภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับดวงจันทร์ คือ จากโลกสู่ดวงจันทร์ (From the Earth to the Moon) พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1870 เป็นภาษาฝรั่งเศส (ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.1873) กล่าวถึงการผจญภัยของนักบินอวกาศ 3 คน ที่อยู่ในยานรูปกระสุนปืนใหญ่
ซึ่งยิงกระสุนไปยังดวงจันทร์ โดยจะใช้เวลาเดินทาง 5 วันหลังออกจากปากกระบอกปืนใหญ่ไปเพียง 2-3 นาที ก็มีดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งปรากฏสว่างมากวิ่งผ่านพวกเขาในระยะใกล้มากแต่ไม่ชน ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ถูกโลกดึงไว้เป็นบริวารกลายเป็นดวงจันทร์ดวงที่ 2 ของโลก นักบินอวกาศทั้ง 3 เดินทางฃผจญภัยต่อไป ระหว่างทางเกิดเหตุการณ์หลายอย่าง เป็นต้นว่าการทิ้งซากสุนัขที่ตายแล้วออกทางหน้าต่างของยาน การป่วยไม่สบายจากแก๊สพิษ และการคิดคำนวณอย่างสั้นทำให้พวกเขาทั้งคณะได้เดินทางกลับมาที่โลก ต่อมาจึงพบความจริงว่าแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์น้อยได้เบี่ยงเบนการเดินทางของพวกเขาไปจากเดิม กล่าวคือทำให้พวกเขาเข้าไปโคจรรอบดวงจันทร์แทนที่จะลงบนดวงจันทร์อย่างที่ตั้งใจไว้ เมื่อทราบว่ากำลังโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ พวกเขาก็เริ่มสำรวจสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นผิวดวงจันทร์โดยใช้กล้องส่องทางไกล และแล้วยานก็พาพวกเขาดิ่งขึ้นไปทางซีกเหนือของดวงจันทร์และเข้าไปอยู่ในความมืดทำให้หนาวเย็นมาก ก่อนที่จะออกมาสู่ความสว่างอีกครั้งหนึ่งและเคลื่อนที่ต่อไปเหนือซีกใต้ของดวงจันทร์ พวกเขาอยู่เหนือเครเตอร์ที่โคที่สวยงาม และเริ่มถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ แล้วสรุปว่าดวงจันทร์แห้งแล้ง ต่อมาปรากฏว่ายานของพวกเขาเคลื่อนที่ไปอยู่ ณ จุดสมดุลจุดหนึ่งระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ทำให้ 1 ใน 3 คนเกิดความคิดขึ้นว่าจะใช้จรวดยิงยานจากจุดนี้ให้ไปลงดวงจันทร์ แต่เกิดความผิดพลาดเพราะยานวิ่งไปทางโลก และตกลงสู่มหาสมุทรด้วยความเร็วเดียวกันกับความเร็วที่ออกไปจากโลก ในขณะนั้นเรือรบของสหรัฐอเมริกาสังเกตเห็นดาวตกสว่างโชติช่วงจากท้องฟ้าสู่ทะเลและพบว่าเป็นยานของนักผจญภัยทั้ง 3 คนซึ่งยังมีชีวิตอยู่พวกเขาทั้ง 3 คนได้รับความช่วยเหลือ มีการต้อนรับอย่างเอิกเกริกในฐานะที่เป็นบุคคลชุดแรกที่เดินทางออกไปนอกโลกได้
นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ เซอร์ อาร์เทอร์ ซี คลาร์ก (Sir Arthur C. Clarke: 1917-2008) เป็นชาวอังกฤษแต่ในบั้นปลายของชีวิตไปตั้งรกรากอยู่ที่ศรีลังกา ได้เขียนเรื่อง “นรกใต้ทะเลฝุ่น” (A Fall of Moondust) ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษใน ค.ศ.1961 โดยมีเค้าโครงเรื่องว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลังจากที่มีมนุษย์ไปตั้งหลักแหล่งบนดวงจันทร์แล้วก็มีนักท่องเที่ยวไปผจญภัยที่ดวงจันทร์ จุดขายสำคัญจุดหนึ่งของการท่องเที่ยวคือ การตะลุยทะเลบนดวงจันทร์ โดยเฉพาะทะเลแห่งความกระหาย (Sea of Thirst) ไม่มีจริงบนดวงจันทร์มีแต่ในนิยายเรื่องนี้เท่านั้น ซึ่งอยู่ภายในอ่าวน้ำค้าง (Sinus Roris) นับว่าอยู่ผิดที่เพราะโดยปกติอ่าวจะอยู่ภายในทะเลโดยเป็นส่วนหนึ่งของทะเล ทะเลแห่งความกระหายเต็มไปด้วยฝุ่นที่ละเอียดมากเป็นฝุ่นแห้งกว่าฝุ่นในทะเลทรายบนโลก เป็นฝุ่นที่เกือบไหลได้คล้ายกระแสน้ำ แทนที่จะเป็นหินดินก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า เรโกลิธ (regolith) ที่ปกคลุมพื้นผิวส่วนใหญ่ของดวงจันทร์ ผู้จัดเที่ยวมีเรือชื่อ เซลีนี ที่ออกแบบพิเศษให้วิ่งไปบนฝุ่นดวงจันทร์นี้คล้ายฃการเคลื่อนที่ของเจ็ตสกีบนน้ำ ในการผจญภัยครั้งหนึ่งเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงบนดวงจันทร์ทำให้แผ่นดินยุบ ขณะที่เรือเซลีนีแล่นผ่น เรือจมลงไปใต้ผิวฝุ่นประมาณ 15 เมตร เรือจึงหายไป เกิดปัญหาที่อาจทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือถึงแก่ชีวิตโดยทันทีทันใด เพราะเรือเชลีนีมีอากาศหายใจจำกัดไม่มีหนทางที่จะระบายความร้อน ระบบสื่อสารใช้การไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่าเรือเซลีนีอยู่ตรงจุดใดแน่ เวลาเหลือน้อย ภายในเรืออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศกลายเป็นพิษใช้หายใจไม่ได้ กัปตันและลูกเรือพยายามคลายความกังวลของผู้โดยสารขณะรอความช่วยเหลือโดยได้รับความร่วมมือจากผู้โดยสารคนหนึ่งซึ่งเกษียณอายุแล้วจากการประกอบอาชีพเป็นกัปตันนักสำรวจและนักบินอวกาศ แต่ตอนแรกไม่ใด้แสดงตัว ขณะ นั้นเองนักดาราศาสตร์สติเฟื่องคนหนึ่งสังเกตดวงจันทร์จากดาวเทียมซึ่งอยู่ณ จุด 12 ของระบบโลกและดวงจันทร์ทำให้เขาเชื่อว่าเขาพบร่องรอยที่มีอุณหภูมิสูงบนพื้นผิวดวงจันทร์นำมาสู่การช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในเรือเซลีนีได้ในที่สุด
อีกเรื่องหนึ่งที่เซอร์ อาร์เทอร์ ซีคลาร์ก เขียนเกี่ยวกับดวงจันทร์คือ จอมจักรวาล 2001 (2001: A Space Odyssey) โดยมีเค้าโครงที่เชื่อว่า มนุษย์ต่างดาวผู้มีเทคโนโลยีสูงได้แกะสลักหินสีดำขนาดใหญ่รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีอัตราส่วน ความหนา : ความกว้าง : ความสูง เป็น 1:4:9 หรือ 12:22:32 นั่นคือแท่งวัตถุนี้มีความหนา 1/4 ของความกว้างและ 1/9 ของความสูง แล้วฝังไว้ลึก 15 เมตรใต้ผิวในเครเตอร์ที่โค ของดวงจันทร์ เมื่อ 3 ล้านปีมาแล้ว หินสีดำนี้เป็นวัตถุที่ทำให้เกิดการรบกวนสนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ตรงบริเวณเครเตอร์ที่โค จึงเรียกว่า ที่เอ็มเอ-1 (TMA-1:Tycho Magnetic Anomaly One) หมายถึงความ ไม่เป็นปกติทางสนามแม่เหล็กบริเวณทีโคเป็นหินชิ้นที่ 1 นักวิทยาศาสตร์ขุดพบทีเอ็มเอ-1 ในเวลากลางคืน เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในเวลารุ่งเช้าบนดวงจันทร์ ปรากฏว่าแสงแดดทำให้ทีเอ็มเอ-1 ส่งคลื่นวิทยุไปยังไอเอปตัส ดวงจันทร์ใหญ่เป็นที่ 3 ของดาวเสาร์ ซึ่งต่อมานักสำรวจได้เดินทางไปสำรวจไอเอปตัสและพบหินสีดำขนาดใหญ่บนไอเอปตัส เป็นหินที่มีสัดส่วนเดียวกันกับทีเอ็มเอ-1 จึงได้รับชื่อว่า ที่เอ็มเอ-2
นอกจากนี้ยังมีนักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่พูดถึงดวงจันทร์เป็นอาณานิคม โดยมีที่อยู่อาศัยอยู่ใต้ดิน เช่น รอเบิร์ต เอ ไฮน์ไลน์(Robert A. Heinlein) นักเขียนชาวอเมริกันเขียนเรื่อง “The Menace from Earth” เมื่อ ค.ศ.1957 นับเป็นเรื่องแรก ๆ ที่นำเรื่องราวของการท่องเที่ยวอวกาศเข้าไปอยู่ในนิยายด้วย
นิยายการท่องเที่ยวอวกาศเกิดจากความรู้และความคิดจินตนาการของผู้เขียน ความรู้ของมนุษย์ในอดีตอาจน้อยกว่าความรู้ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน แต่มีความคิดจินตนาการที่หลากหลายไม่มีขอบเขต ความฝันของมนุษย์ที่จะขึ้นไปเหยียบผิวดวงจันทร์มีมาช้านานและประสบความสำเร็จเมื่อ 45 ปีนี่เองโดยมนุษย์อวกาศอเมริกาในโครงการอะพอลโล
ในโลกแห่งความเป็นจริง ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านจรวด สหภาพโซเวียตรัสเชียพัฒนาจรวดที่มีพลังขับดันสูงได้ก่อนสหรัฐเมริกา จึงส่งดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อ สปุตนิก-1 ขึ้นสู่อวกาศได้ก่อนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 และสหรัฐเมริกาตามมาติด ๆ ด้วยการส่งดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 ขึ้นไปโคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 การแข่งขันกันในการออกไปนอกโลกระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจทางอวกาศนี้เป็นไปอย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่อวกาศต่อมาในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 สหภาพโซเวียตรัสเซียก้าวหน้ากว่าคู่แข่งด้วยการส่งยุริ กาการิน มนุษย์อวกาศคนแรกขึ้นไปโคจรรอบโลก ทำให้สหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนนดี ออกมาประกาศ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1962 ว่า “เราเลือกที่จะไปลงดวงจันทร์ในทศวรรษนี้ให้ได้ และทำสิ่งอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่เพราะทำได้ง่าย ๆ แต่เป็นเพราะมันทำยาก…” สหรัฐอเมริกาเอาชนะสหภาพโซเวียตรัสเชีย ด้วยการนำยานอะพอลโล 1 ลงดวงจันทได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 โดยนักบินอวกาศอเมริกาชื่อ นีล อาร์มสตรองก้าวลงบันไดของยาน ลงดวงจันทรชื่อ อีเกิล เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ด้วยรอยเท้าแรกพร้อมคำกล่าวที่ว่า “นี่เป็นก้าวสั้น ๆ ของมนุษย์ก้าวหนึ่งบนดวงจันทร์ แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยาวมากก้าวหนึ่งของมนุษยชาติ (ในการสำรวจอวกาศ)”
Space X
บริษัท SpaceX ของมหาเศรษฐี อีลอน มัสก์ ประสบความสำเร็จในการสร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการส่งเที่ยวบินท่องอวกาศแรก นำกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นพลเรือนทั้งหมดและไม่ใช่นักบินอวกาศมืออาชีพของรัฐ ขึ้นไปท่องเที่ยวในวงโคจรโลกเป็นเวลา 3 วัน ภายใต้ภารกิจที่เรียกว่า Inspiration4
SpaceX ได้ปล่อยจรวด Falcon 9 Block 5 ซึ่งเป็นจรวดขนาดกลางแบบสองขั้นที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 20.02 น. วานนี้ (15 กันยายน) ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 07.02 น. ที่ผ่านมา ตามเวลาไทย โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งหมด 4 คน นำโดย จาเร็ด ไอแซคแมน (Jared Isaacman) มหาเศรษฐีนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทให้บริการชำระเงิน Shift4 Payments ซึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในเที่ยวบินนี้
โดยไอแซคแมนมีประสบการณ์ขับเครื่องบินรบของกองทัพและเป็นนักบินอวกาศมือสมัครเล่น ซึ่งเขารับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการประจำยาน (Spacecraft commander)
ส่วนลูกเรืออีก 3 คน ได้แก่
นักบิน – ดร.เซียน พรอคเตอร์ (Sian Proctor) นักธรณีวิทยาและนักบินอวกาศเชิงพาณิชย์วัย 51 ปี ที่เคยเข้ารอบสุดท้ายของโครงการนักบินอวกาศของ NASA
แพทย์ประจำเที่ยวบิน – เฮย์ลีย์ อาร์เซโนซ์ (Hayley Arceneaux) ผู้ช่วยแพทย์วัย 29 ปี ของโรงพยาบาลวิจัยเด็กเซนต์จูด
ผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ – คริสโตเฟอร์ เซมบรอสกี (Christopher Sembroski) วิศวกรข้อมูลชาวอเมริกัน ทหารผ่านศึกกองทัพอากาศและนักบินอวกาศเชิงพาณิชย์วัย 42 ปี ที่ได้รับตั๋วที่นั่งจากเพื่อนที่ชนะการจับรางวัลในนามผู้ร่วมบริจาค
ทั้งนี้กลุ่มลูกเรือทั้งหมดซึ่งผ่านการฝึกเตรียมความพร้อมในการท่องอวกาศมาเป็นเวลา 6 เดือน จะโดยสารในยาน Crew Dragon Resilience ซึ่งเดินทางไปยังวงโคจรที่ระดับความสูง 585 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก และจะใช้เวลาท่องอวกาศรอบวงโคจรเป็นเวลา 3 วัน ก่อนกลับถึงพื้นโลกในวันที่ 19 กันยายน
สำหรับเป้าหมายหลักของภารกิจ Inspiration4 คือการระดมทุน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อโรงพยาบาลวิจัยเด็กเซนต์จูด ขณะที่เที่ยวบินท่องอวกาศแรกของ SpaceX ยังมาพร้อมการสร้างประวัติศาสตร์ในหลายด้าน อาทิ
เที่ยวบินอวกาศแรกที่ลูกเรือทั้งหมดไม่ใช่นักบินอวกาศมืออาชีพ
นักบินหญิงผิวสีคนแรกของเที่ยวบินอวกาศ
พลเรือนอเมริกันอายุน้อยที่สุดที่เดินทางสู่อวกาศ (เเฮย์ลีย์ อาร์เซโนซ์, 29 ปี)
เที่ยวบินอวกาศเอกชนเที่ยวบินแรกของ SpaceX
ด้าน เกวน ช็อตเวลล์ ประธานบริษัท SpaceX ออกแถลงการณ์ชื่นชมความสำเร็จของภารกิจ Inspiration4 โดยระบุว่า “เป็นการปูทางไปสู่อนาคต ซึ่งทุกคนที่ต้องการสามารถเดินทางไปอวกาศได้มากขึ้น
“ในนามของพนักงาน SpaceX ทุกคน ฉันอยากจะขอบคุณลูกเรือและครอบครัวของพวกเขา ที่อนุญาตให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจประวัติศาสตร์ของพวกเขา” ช็อตเวลล์กล่าว
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 3 วันในการท่องเที่ยวรอบวงโคจรโลกนั้น กลุ่มลูกเรือทั้งหมดจะได้ติดต่อพูดคุยกับครอบครัวจากอวกาศผ่านระบบสื่อสารของ NASA และได้สัมผัสบรรยากาศความสวยงามของอวกาศผ่านโดมหน้าต่างขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Copula ซึ่งเป็นแบบเดียวกับสถานีอวกาศนานาชาติ
นอกจากนี้จะมีการทดลองผลกระทบด้านสุขภาพของลูกเรือ ด้วยการเก็บข้อมูลชีวการแพทย์และตัวอย่างทางชีวภาพจากลูกเรือทั้งหมดในระหว่างท่องอวกาศ เพื่อทำการศึกษาวิจัยผลกระทบจากเที่ยวบินท่องอวกาศต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้การท่องอวกาศของมนุษย์ในอนาคตพัฒนาไปในทางที่ดีมากขึ้น
Blue Origin
โครงการ Blue Origin เป็นโครงการตามล่าความฝันที่จะไปอวกาศของ Jeff Bezos ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก เป็นผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ Amazon โดย Jeff ก่อตั้ง Blue Origin เพื่อพัฒนาจรวดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหนึ่งในโมเดลธุรกิจคือการขายตั๋วให้เศรษฐีที่อยากไปสัมผัสอวกาศ
หลังจากพัฒนาเทคโนโลยีของตนมาเกือบ 20 ปี ทดสอบยิงจรวดไปกว่า 20 ครั้ง ล่าสุดวันนี้ Blue Origin ได้ทำภารกิจยิงจรวด New Shepard พร้อมผู้โดยสาร 4 คนขึ้นสู่อวกาศและกลับมาลงจอดได้สำเร็จ
จรวด New Shepard ถูกยิงออกจากฐานยิงที่เมือง Van Horn รัฐ Texas เมื่อเวลา 20:13 น. ของวันที่ 20 กรกฎาคม 2021 ตามเวลาประเทศไทย มีผู้โดยสาร 4 คนคือ Jeff Bezos, Mark Bezos น้องชายของ Jeff, Wally Funk อดีตนักบินหญิงอายุ 82 ปี ทำสถิติมนุษย์ที่อายุมากที่สุดที่ขึ้นสู่อวกาศ และ Oliver Daemen ลูกชายอายุ 18 ปีของมหาเศรษฐีจากเนเธอร์แลนด์ ทำสถิติมนุษย์ที่อายุน้อยที่สุดที่ขึ้นสู่อวกาศ
หลังยิงจรวดออกไปราว 3 นาที แคปซูลที่ผู้โดยสารประจำอยู่ก็แยกตัวออกจากจรวด New Shepard ไล่เลี่ยกับการผ่าน Kármán Line หรือจุดที่ถือว่าเข้าสู่อวกาศ โดยขึ้นไปสูงสุดที่ราว 107 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล และจุดนี้จะเป็นช่วงที่ผู้โดยสารได้ลิ้มรสความรู้สึกของภาวะไร้แรงโน้มถ่วงด้วย
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลบางอย่าง Blue Origin ไม่ได้ถ่ายทอดสดบรรยากาศภายในแคปซูลที่ผู้โดยสารอยู่ออกมาให้เราได้เห็น แต่ได้ปล่อยรูปนิ่งกับคลิปวิดีโอภายในแคปซูลออกมาระหว่างงานแถลงข่าวหลังจบภารกิจ
ก่อนหน้านี้เพียง 9 วัน Virgin Galactic นำโดย Richard Branson ก็เพิ่งทำภารกิจพามนุษย์ไปอวกาศมาเช่นกัน แต่ของ Virgin ขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ราว 86 กิโลเมตร ซึ่งหลายประเทศไม่ถือว่าเป็นอวกาศ
หากใครสนใจไปสัมผัสอวกาศ ขณะนี้ทั้ง Virgin Galactic และ Blue Origin ได้เปิดขายตั๋วแก่บุคคลทั่วไปแล้ว โดย Virgin Galactic ขายที่นั่งละ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 8.2 ล้านบาท ส่วน Blue Origin ยังไม่เปิดเผยราคาแต่ให้ติดต่อแสดงความสนใจได้แล้ว
Virgin Galactic
วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลาประมาณ 21:40 น. ตามเวลาประเทศไทย ยาน VSS Unity นำ Richard Branson มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Virgin Group พร้อมนักบินและลูกเรืออีก 5 คน ขึ้นสู่อวกาศ แล้วร่อนกลับลงมาสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย เบิกทางสู่ธุรกิจเที่ยวบินอวกาศเพื่อการท่องเที่ยว
Virgin Galactic บริษัทการบินอวกาศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดย Richard Branson มีจุดประสงค์เพื่อให้บริการเที่ยวบินสู่อวกาศสำหรับนักท่องเที่ยว ใช้เวลากว่า 17 ปี ในการพัฒนาเทคโนโลยีจนกระทั่งเที่ยวบินแรกประสบความสำเร็จเมื่อคืนที่ผ่านมา
เที่ยวบินนี้มียานอวกาศ 2 ส่วนประกอบกัน ได้แก่ VMS Eve ทำหน้าที่คล้ายกับยานแม่ และ VSS Unity เป็นยานลูกที่บรรทุกลูกเรือทั้ง 6 คน เริ่มต้น VMS Eve จะทำหน้าที่ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าจากสนามบิน Spaceport America รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา จนกระทั่งไปถึงระดับความสูงประมาณ 14 กิโลเมตร VSS Unity จึงแยกตัวออกมา เครื่องยนต์จรวดทำงานเต็มกำลัง เร่งให้ยานมีอัตราเร็วสูงถึง 3,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไต่ระดับไปสู่ห้วงอวกาศที่ระดับความสูง 86 กิโลเมตร แล้วร่อนกลับลงมาสู่พื้นโลกได้สำเร็จ
งานเขียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 751309 Macro Economic 2
ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานชิ้นนี้ เขียนโดย พงษ์สิริ พรหมศิริ 641610295