การปล่อยให้หิว อาจช่วยทำให้อายุยืนยาวจริงหรือ?
ผลการศึกษาล่าสุดของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนในสหรัฐอเมริกา พบว่า การรับรู้ความหิวที่ไม่รู้จักอิ่ม หรือการได้รับพลังงานที่ไม่เพียงพอ สามารถกระตุ้นให้เกิดการชะลอวัย และช่วยให้อายุยืนได้
โดยทีมวิจัยได้ทดลองให้แมลงหวี่กลุ่มหนึ่งกินอาหารที่มีปริมาณกรดอะมิโนชนิด BCAA ต่ำ (เป็นสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มหลังกินอาหาร) ดังนั้นแมลงหวี่กลุ่มนี้จะยังคงรู้สึกหิว แม้จะได้กินอาหารเข้าไปในปริมาณที่มากพอแล้ว
ซึ่งระดับของความรู้สึกหิวในแมลงหวี่ที่ได้รับกรดอะมิโนชนิด BCAA ไม่เพียงพอ วัดจาก ‘ปริมาณ’ และ ‘ชนิดของอาหาร’ ที่พวกมันเลือกกินในมื้อต่อไป ซึ่งผลปรากฏว่า แมลงหวี่ที่ถูกทำให้รู้สึกหิวหลอกๆ เลือกกินอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณมาก โดยแทบจะไม่กินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเลย จึงแสดงให้เห็นว่า
“ความหิวกระหายที่เกิดขึ้นเป็นความต้องการเติมสารอาหารให้ร่างกายจริงๆ ไม่ใช่ความหิวที่เกิดจากอารมณ์ความต้องการทางจิตใจ”
อีกทั้งทีมวิจัยยังทดลองเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่า การลดกรดอะมิโน BCAA ยังทำให้การผลิตโปรตีนผ่านการดัดแปลงโครงสร้างที่เรียกว่า ‘ฮิสโตน’ ซึ่งจะจับกับดีเอ็นเอ และช่วย ‘ควบคุมการทำงานของยีน’ ให้ดียิ่งขึ้น โดยการศึกษาก่อนหน้านี้ยังชี้ด้วยว่าปริมาณฮิสโตนที่เพิ่มขึ้นนั้น จะช่วยยืดอายุขัยให้ยาวนานขึ้นได้
การค้นพบนี้ จึงช่วยอธิบายได้ว่าทำไมอาหารที่มีกรดอะมิโน BCAA ต่ำ จึง ‘ดีต่อสุขภาพ’ ของมนุษย์เรา เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจให้สารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ประสาทส่งสัญญาณกระตุ้นความหิวไปสู่สมองลดลง
อ้างอิง
- sciencealert. Simply Feeling Hungry Might Be Enough to Slow Down The Aging Process. https://tinyurl.com/4wskuw5s
- sciencedaily. The feeling of hunger itself may slow aging in flies. https://tinyurl.com/35rjmhk8