3 Min

GMX Protocol

3 Min
615 Views
21 Sep 2022

ก่อนอื่นต้องขออธิบายถึง Real Yield แบบคร่าวๆก่อน แต่เดิม DEX ส่วนใหญ่นั้นจะมีการแจก Rewards ในรูป Governance token โดยที่ผู้ได้รับเหรียญ Gov ไปนั้นก็ไม่รู้จะเอาเหรียญ Gov ไปทำไร ก็เอาไปเทขายเพื่อแลก Stable coin มา ทีนี้พอมีแรงเทยขายเยอะขึ้นๆ ก็ทำให้ราคาเหรียญ Gov ลดลง ทำให้นักลงทุนก็ไม่กล้าเข้ามาลงทุน ดังนั้น Real Yield จึงมีการแจก Rewards ในรูป Stable coin หรือเหรียญ Blue Chip แทน เพื่อลด Sell Pressure และแน่นอนไม่ใช่ทุกแพลตฟอร์มที่สามารถทำแบบนี้ทำได้ แต่แพลตฟอร์มนั้นๆจะต้องมีรายได้ที่ยั่งยืนนั่นเอง ซึ่งแพลตฟอร์มที่ขึ้นแท่น RealYield ก็จะมี Uniswap, Manifold, TraderJoe และ GMX ที่มีรายได้ที่ยั่งยืน

สำหรับ GMX นั้นสำหรับใช้ในการเทรด Decentralized Spot (Swap Token) และ Perpetual Exchange (Leverage Trading up to 30x) ที่ถูกสร้างอยู่บน Arbitrum และ Avalanche โดย ณ ในวันที่เขียนนั้น GMX มี TLV สูงเป็นอันดับ 3 ของธุรกิจ Derivative Protocol 

เนื่องจาก GMX เป็นธุรกิจ Derivative หรือที่รู้จักกันทั่วๆไปก็คือการเล่น Future นั่นเอง ดังนั้นจึงจะขอยกตัวอย่างหน้าตาของการเล่น Derivative กันสักเล็กน้อย พอให้เข้าใจ

รูป 1:ฟังก์ชัน Trading

ที่มา: https://gmxio.gitbook.io/gmx/tokenomics

 

โดยการเล่น Future ใน GMX จะอยู่ในฟังก์ชันที่ชื่อว่า Trading ซึ่งเราสามารถเลือกเล่น Short หรือ Long ได้เลย นอกจากนั้น ยังสามารถเลือก Leverage ได้สูงสุดถึง 30X ซึ่งกำไรในขา Short นั้นจะถูกจ่ายในรูปของ USDC (Stable coin) ส่วนกำไรในขา Long จะจ่ายในรูป ETH/AVAX (Blue Chip)

นอกจากนั้นไฮไลท์สำคัญของ GMX คือ Revenue sharing model คือการที่ไป Stake GMX หรือ GLP ก็จะได้รับ Rewards เป็น ETH หรือ AVAX แล้วแต่ว่าไป Stake ในเชนไหน หลายคนอาจสงสัย แล้ว GLP คืออะไร

GLP ก็เปรียบเสมือน LP Token ของแพลตฟอร์มอื่น ซึ่ง GLP จะเป็นสภาพคล่องหลักของแพลตฟอร์มสำหรับการเทรด แต่สิ่งที่ GLP ต่างกับ LP Token ทั่วไปคือ เราสามารถแลก GLP โดยใช้เหรียญไหนก็ได้ที่แพลตฟอร์มรองรับ ไม่ว่าจะเป็น BTC/ETH/LINK/UNI/USDT/USDC/DAI/FRAX อีกแง่นึงคือ GLP เปรียบเสมือน Index ที่แพลตฟอร์มจะมีการกำหนด Weight ของแต่ละเหรียญเอาไว้ในสัดส่วนที่ต่างกัน โดยถ้าจำนวนเหรียญใน Index มีสัดส่วนเหรียญที่น้อยกว่า Target Weight ที่แพลตฟอร์มตั้งไว้ เราจะสามารถประหยัดค่า Fee จากการแลกเหรียญนั้นๆเป็น GLP ได้

รูป 2:GLP Index Composition

 ที่มา: https://app.gmx.io/#/dashboard

 

ยกตัวอย่างในรูปด้านบน ปัจจุบัน Weight ของ USDT อยู่ที่ 1.54% (ฝั่งซ้าย) แต่ Target Weight ที่แพลตฟอร์มกำหนดคือ 2% (ฝั่งขวา) ซึ่งหากเรานำ USDT มาแลกเป็น GLPเราจะประหยัดค่าธรรมเนียมมากกว่าการนำ USDC มาแลกเป็น GLP เนื่องจาก Weight ปัจจุบันของ USDC เกินกว่าที่แพลตฟอร์มกำหนดแล้ว

โดยรายได้ของของ GMX นั้นก็ได้มาจากค่า Fee เวลาที่คนมาทำธุรกรรมต่างๆบนแพลตฟอร์ม โดยแบ่งออกเป็น 4 วิธีดังนี้

  • Swap Fee

  • Opening/Closing Fee (Leverage Trading)

  • Mint/Burn GLP Fee

  • Borrowing Fee (Funding Rate)

ซึ่งรายได้รวมทั้งหมดหลังจากหักต้นทุนของ Protocol จะถูกกระจายให้กับคนที่ถือ GMX และ คนที่มาให้สภาพคล่องกับระบบอย่าง GMX Liquidity Provider (GLP)

 

ในส่วนของ GMX Tokenomic นั้น จัดว่าเป็น Utility Token และเป็น Governance Token สำหรับ GMX Protocol เมื่อคนถือเหรียญ $GMX ต้องการนำเหรียญที่พวกเขาต้องการHODL มาทำการ Staking ก็จะได้รับ Rewards ด้วยกัน 3 ส่วน ดังนี้

1.     Escrowed GMX (esGMX)

2.     Multiplier Point

3.     ผลตอบแทนในรูปของ ETH หรือ AVAX

โดยปริมาณ GMX Token ทั้งหมดที่จะปล่อยออกมาสู่ตลาดมีทั้งหมด 13.25M Token

  • 6 million GMX จะถูกแบ่งไว้ให้กับการ migrate ของ XVIX และ Gambit ให้กับคนที่ให้สภาพคล่องบน XVIX และ Gambit Protocol ที่เป็นโปรเจคก่อนหน้า GMX Protocol

  • 2 million GMX จะถูกแบ่งไว้เป็นสภาพคล่องของคู่เทรด GMX/ETH ใน Uniswap

  • 2 million GMX ถูกแบ่งเป็นปริมาณสำรองให้กับผลตอบแทนที่จะจ่ายเป็น Escrowed GMX (esGMX)

  • 2 million GMX ถูกจัดการโดย Floor Price Fund (Treasury)

  • 1 million GMX ถูกสำรองไว้สำหรับการทำ Marketing, Partnerships และ Community Developers.

  • 250,000 GMX ถูกแจกจ่ายไปสู่ทีมโดยจะใช้เวลาในการแจกเหรียญเป็นระยะเวลา 2 ปี

 

Figure 3:การแจกเหรียญ GMX token

 ที่มา : https://gmxio.gitbook.io/gmx/tokenomics

 

นอกจากนั้น Volum หรือปริมาณการเข้ามาใช้งานบนแพลตฟอร์มก็ส่งผลต่อราคาเหรียญได้ เนื่องจากยิ่งมีคนมาใช้บริการเยอะ ก็สามารถเก็บค่าธรรมเนียนได้เยอะ คนที่ถือเหรียญก็จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียนได้มากขึ้น Demand ของเหรียญก็เพิ่ม ราคาเหรียญก็เพิ่มขึ้นตาม ดังนั้นหากมีคนมาใช้งานแพลตฟอร์มมากๆ ก็จะเป็นผลดีต่อราคาเหรียญนั่นเอง

อ้างอิง

https://www.coingecko.com/learn/what-is-gmx-guide-to-the-decentralized-perpetual-exchange#11

https://app.gmx.io/#/dashboard

https://twitter.com/joldencrypto/status/1560380341759533056?s=21&t=pVjMroDYgmz6v1KNnh_Fyw&fbclid=IwAR2qjfL5X6iOM8AyIRxEDdjekLWTvvfQLr84aWvbGfC4ZfrXVyxMTKlHsjQ

https://blog.avareum.finance/gmx-protocol-5362c01b6d03

https://learn.bybit.com/investing/blue-chip-cryptos/

ทั้งหมดนี้ เป็นบทความเพื่อการศึกษา
ไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อชักชวนในการลงทุน

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Economics of DeFi
ของ ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นางสาวศุจินทรา มาสุข

นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่