𝐆𝐚𝐦𝐞-𝐅𝐢

3 Min
25 Views
23 Feb 2024

Game-Fi คืออะไร

Gamefi เป็นคำที่ผสมระหว่างคำว่า “game” และ “DeFi” ซึ่งในความหมายทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงการเชื่อมโยงระบบการเล่นเกมกับโครงสร้างการเงินดิจิตอลแบบกระจาย (Decentralized Finance) โดยการนำเอาสมาชิกในเกมมาใช้สกุลเงินดิจิตอลหรือเครดิตในเกมได้แลกเปลี่ยนหรือใช้ในโลกทางการเงินจริง นอกจากนี้ Gamefi ยังเสนอโอกาสในการทำกำไรหรือการเล่นเกมในโลกดิจิทัลโดยมีการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและสมาร์ทคอนแทรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ DeFi ในเกมที่มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้ เช่นการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลในโลกเสมือน การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลภายในเกม หรือการเปิดสิทธิในการเล่นแบบ NFT (Non-Fungible Token) ในเกม เป็นต้น โดย Gamefi ได้กลายเป็นที่นิยมในวงกว้างในชุมชนผู้เล่นเกมและนักลงทุนดิจิทัลในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา

  • จุดเริ่มต้น 2020 ยุคโควิด ช่วงบิดคอยขึ้นสูงสุด

  • ยุค FOMO คือยุคที่รุ่งเรืองของ Gamefi

  • Scholar คือระบบจ้างเล่น นายทุนซื้อไอดี ให้สกอล่าเล่นให้ แล้วก็แบ่งรายได้กันระหว่างสกอล่ากับนายทุน

Scholar system

  • Scouter คนคอยหาข่าว รูปแบบการเล่น ระยะเวลาคืนทุน

  • Data Base วิธีการเล่น เล่นยังไง เล่นยังไงให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีทีุ่สด

  • Human Resource การรับสมัครคนเล่น ติดตามผล

  • Support ทำหน้าที่จัดส่งไอดี แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

  • Finance บัญชี โอนเงินให้กับสกอล่า

Scholar แบ่งได้เป็น 3 ระดับ

  • Normal Scholar คนทั่วไป ทำงานวันละ 1-2 ชั่วโมง

  • Semi-Hardcore Scholar คนที่มีความสนใจในอาชีพนี้มาก ทำงานวันละ 4-6 ชั่วโมง

  • Hardcore Scholar คนที่ทำงานอาชีพนี้เป็นหลัก ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงขึ้นไป

หลักการเลือก gamefi ที่จะลงทุน

  • ต้นทุนในการเล่น

  • ระยะเวลาการคืนทุน (ROI)

  • รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

  • รูปแบบการเล่นของเกมส์

  • ความยาก-ง่ายของเกมส์

  • ระยะเวลาที่ใช้เล่น ต่อ 1 วัน

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น

  • ระบบเบิร์น Token ของเกมส์

  • ทีมผู้พัฒนา

  • Road Map ของเกมส์

  • Token สามารถแลกเปลี่ยนที่ไหนได้บ้าง

  • กระแสของเกมส์

  • ฐานผู้เล่น ณ เวลานั้นๆ

Gamefi cycle 5 Steps

  • คนเข้ามาเล่นกันเยอะ

  • ราคาเหรียญสูงขึ้น

  • เผาเหรียญไม่ทัน

  • Panic sell

  • ตลาดพัง

Gamefi ในปัจจุบัน

  • ไม่ใช่เกมส์ Click To Earn

  • มีการจัดการทรัพยากรได้อย่างดี

  • มีการวาง Ecosystem อย่างจริงจัง

  • มีระบบ Burn Token ที่ลงตัว

  • มีระบบการเล่นที่หลากหลาย ผู้เล่นไม่เบื่อ

  • ถ้านำเกมส์ที่มีคนเล่นอยู่แล้วมาทำเป็น NFT จะมีฐานผู้เล่นเก่า เข้ามาเล่นด้วย

  • ไม่ยัดเยียดความเป็น NFT มากเกินไปจนผู้เล่นรู้สึกอึดอัด

เกมส์ปกติ Vs Game-fi

เกมส์ปกติ

  • ไม่สามารถซื้อขายกันได้ด้วยเงินจริง

  • ทุก Transactional ผู้พัฒนาเกมส์ ไม่ได้อะไรเลย

  • เข้าถึงผู้คนได้มากกว่า

  • การจัดการระบบหลังบ้านทำได้ง่ายกว่า

  • ต้นทุนในการทำเกมส์ถูกกว่า

Game-Fi

  • สามารถซื้อขายกันได้ด้วยเงินจริง

  • ทุก Transactional สามารถเก็บภาษีได้

  • เข้าถึงผู้คนได้น้อยกว่าเกมส์ปกติ

  • การจัดการระบบหลังบ้านทำได้ยากกว่าเกมส์ปกติ

  • ต้นทุนในการทำเกมส์แพงกว่า

การจัดการสิทธิดิจิตทอล DRM

การจัดการสิทธิดิจิทัล (Digital Right Management) หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า DRM เป็นคำรวม ๆที่ใช้อ้างถึงกรรมวิธีทางเทคนิคหลาย ๆ แบบในการควบคุมหรือจำกัดการใช้สื่อดิจิทัล    บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีนี้ลงไป DRM บางครั้งก็เรียกว่า ระบบการจัดการลิขสิทธิ์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อที่นิยมนำเอา DRM  มาจำกัดการใช้งานได้แก่ สื่อดนตรี งานศิลปะ และ     ภาพยนตร์ การใช้ DRM กับสื่อดิจิทัลก็พื่อป้องกันรายได้ที่อาจจะสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการทำซ้ำ   ผลงานลิขสิทธิ์อย่างผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าการการะทำดังกล่าวจะมีข้อโต้แย้งจากคนบางกลุ่มว่า การ  โอนย้ายสิทธิมนการใช้สื่อจากผู้บริโภคไปให้กับผู้จำหน่ายนั้นจะทำให้สิทธิอันชอบธรรมบางประการของผู้ใช้สูญเสียไปก็ตาม เนื่องจากยังไม่พบว่ามีเทคโนโลยี DRM ใดในปัจจุบันที่จะมีกลไกรักษาสิทธิอันพึงมี หรือสิทธิการใช้งานอย่างยุติธรรมเลย


งานเขียนนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

751471 Economic of DeFi (Decentralized Finance)

สอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานชิ้นนี้เขียนโดย 

นายพลพิทักษ์ เวชกามา 661610271