Folkcharm แบรนด์เสื้อผ้าจากฝ้ายอินทรีย์ไทย ทอมือ สวมใส่สบาย มีดีไซน์เรียบง่าย

2 Min
1931 Views
10 Mar 2021

จุดเริ่มต้นจากความรักในผ้าทอพื้นถิ่น ความตระหนักถึงปัญหาของช่างทอที่มีจำนวนน้อยลง และวิถีชนบทที่เปลี่ยนไป จากการเข้าเมืองมาเป็นแรงงานของคนรุ่นใหม่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อคุณค่าในชุมชนที่ลดลง

ภัสสร์วี ตาปสนันทน์ โคะดากะ จึงตัดสินใจก่อตั้ง ‘Folkcharm’ แบรนด์ผ้าทอ ที่หวังให้เป็นตัวกลางที่คอยเตือนใจผู้คนให้กลับมานึกถึงชีวิตที่ไม่ต้องเร่งรีบกับธรรมชาติมากขึ้น ผ่านความตั้งใจในกระบวนการผลิตผู้คนท้องถิ่นที่หลายคนมักเผลอมองข้ามไป

ภัสสร์วี ตาปสนันทน์ โคะดากะ ผู้ก่อตั้ง Folkcharm

ด้วยความหลงใหลในด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การส่งเสริมงานฝืมือแบบดั้งเดิม และการทำงานด้านการพัฒนามากว่า 7 ปี ทำให้ภัสสร์วีอยากเชื่อมโยงธรรมชาติกับคนเข้าด้วยกัน จากการผลิตผ้าทอมือพื้นบ้านที่ไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันทางแบรนด์ Folkcharm มีช่างฝีมือกว่า 40 ชีวิต เป็นทั้งชาวไร่ และผู้สูงอายุมาร่วมกันผลิตจนเป็นที่มาของชื่อแบรนด์ Folkcharm ที่ผสมระหว่างคำว่า Folk หมายถึง ผู้คน ชาวบ้าน บ้าน กับคำว่า Charm ที่หมายถึง เสน่ห์

Folkcharm ยึดหลัก ‘Farm to Fashion’ ที่ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสในต้นทุน และราคา โดยไม่แสวงหาผลกำไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง แต่เน้นให้โอกาสคนในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ด้วยการผสมผสานเทคนิคการผลิตอย่างการทอผ้าที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี

เสื้อผ้าของ Folkcharm มีความโดดเด่นที่เนื้อผ้าฝ้ายจากท้องถิ่น เป็นอินทรีย์ 100% เข็นมือ (เส้นฝ้ายที่ผ่านการทำเส้นด้ายด้วยมือ) นำมาผ่านการทอมือ และย้อมสีธรรมชาติ ทำให้มีลายผ้าไม่ซ้ำใคร จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

อีกทั้งการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพและดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การเพาะปลูกฝ้ายธรรมชาติ การปั่นฝ้าย ไปจนถึงการทอ ตัดเย็บ และการตกแต่ง

รวมถึงการออกแบบ และพัฒนาให้ร่วมสมัยมากขึ้น เน้นการดีไซน์ให้เรียบง่าย เพื่อสอดคล้องกับแรงบันดาลใจที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในเมือง

ไม่ว่าจะเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุที่มีความหลงใหลในความสวยงาม อินกับธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชุมชน ก็สามารถสวมใส่ได้ทุกคน เพราะใส่สบาย อ่อนโยนต่อผิว และใส่ได้ในทุกโอกาส

“ทอผ้าสู้เหมือง” คอลเลคชั่นของ Folkcharm ที่ทำจากชาวบ้านเหมืองที่นาหนองบงทั้งหมด ทั้งการปลูกผ้าฝ้าย ปั่นเส้น ย้อมสีธรรมชาติ และทอมือ โดยรายได้ครึ่งหนึ่งหลังหักค่าใช้จ่ายจะถูกส่งต่อให้กับกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด

ซึ่งคอลเลคชั่นนี้เกิดจากการค้นพบถึงสถานการณ์ที่ทางแบรนด์อยากส่องสปอตไลต์ตีแผ่ปัญหาเหมืองทองที่ส่งผลกระทบซับซ้อนมากกว่าผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม Folkcharm จีงอยากส่วนหนึ่งในการสนับสนุนฟื้นฟูชุมชน รวมถึงพื้นที่ที่สะท้อนถึงการเยียวยา และพัฒนาพื้นที่ที่ริเริ่มโดยชุมชนที่แท้จริง

คอลเลคชั่น “ทอผ้าสู้เหมือง” | facebook.folkcharm

อนาคต Folkcharm ยังอยากสร้างความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับผู้คนให้มีคุณค่า และคุณภาพมากขึ้น ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงสุนทรียภาพ และฟังก์ชัน (aesthetics and function) เป็นหลัก

นอกจากนี้ ทางแบรนด์ยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ต้องมาจากธรรมชาติ ปลอดจากสารเคมี

รวมถึงการค้าอย่างเป็นธรรมทั้งการสร้างรายได้ที่มั่นคง เพื่อผลประโยชน์ของชุมชน อีกทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการขยายกลุ่มผู้บริโภคด้วย

ในฐานะเจ้าของแบรนด์ ภัสสร์วีวางเป้าหมายของ Folkcharm ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องใน 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่

  1. เพิ่มรายได้ให้นักหัตถกรรมทอผ้าในชุมชน และช่างตัดเย็บ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านการค้าอย่างเป็นธรรม
  2. ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการใช้ การปลูก หรือการแปรรูปใยฝ้าย และการไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการย้อมผ้า
  3. ทุกคนสามารถเข้าถึงผ้าทอแบบไทยที่ร่วมสมัยจากธรรมชาติ ใส่สบาย และปลอดภัยจากสารเคมี

สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่: https://shop.brandthink.me/vendor/folkcharm/