4 Min

ตอบโจทย์โลกธุรกิจ การใช้ชีวิต และสิ่งแวดล้อม ‘EGAT EV Business Solutions’

4 Min
495 Views
08 Aug 2022

อย่างที่เรากล่าวไปในข้างต้น รถยนต์ไฟฟ้าย่อมเชื่อมโยงกับไฟฟ้าอยู่แล้ว และนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ กฟผ. เองจะมีโอกาสได้เข้ามายกระดับชีวิตของประชาชนชาวไทย ด้วย ‘EGAT EV Business Solutions’ ทางเลือกใหม่ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา ผ่านสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งตอนนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 สินค้าและบริการ นอกเหนือจากนั้นยังมีการร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ เพื่อให้เรากลายเป็นประเทศที่ปราศจากการสร้างคาร์บอนให้ได้ในอนาคต 

โดยนำเอาความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านพลังงานไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ

ก่อนอื่น เราขอชวนทุกคนไปดูสินค้าและบริการจาก EV Business Solutions กันก่อน

สินค้าและบริการต่างๆ ของ EGAT EV Business Solutions

1 – สถานีอัดประจุไฟฟ้า ‘EleX by EGAT’ ที่ชาร์จไฟได้รวดเร็ว ปลอดภัย มั่นใจ ทำให้เครือข่ายของสถานีไฟฟ้ากว้างไกลมากขึ้น สะดวกสบาย ไม่ต้องกังวลเรื่องพลังงานหมด ปัจจุบันมีสถานีครอบคลุมทั่วประเทศ และจะดำเนินการขยายสถานีอย่างต่อเนื่อง โดยภายในปี 2565 มีแผนพัฒนาขยายสถานีให้บริการเป็น 120 สถานีทั่วประเทศ

2 – Mobile Application Platform ‘EleXA’ แอปฯ ที่เป็นเหมือนผู้ช่วย เพิ่มความสะดวกสบายต่างๆ ให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า จะหา จะชาร์จ จะจ่าย แอปฯ นี้ช่วยได้แน่นอน แถมที่สำคัญจะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงผู้คนในเครือข่ายเข้าถึงกันและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน 

3 – ตู้อัดประจุไฟฟ้า ‘Wallbox selected by EGAT’ จากค่ายสเปนที่ กฟผ. ได้รับสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการแต่เพียงรายเดียวในประเทศไทย อีกทางเลือกของการชาร์จไฟฟ้า ด้วยขนาดที่เล็กมีความกระทัดรัด เหมาะสำหรับการติดตั้งบริเวณบ้าน มีหลากหลายขนาดให้เลือกตามลักษณะการใช้งาน รวมถึง แบบ DC Quick Charger ขนาด 120 kW สำหรับธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมี Supernova  เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นล่าสุด เป็นรุ่นที่เหมาะกับภาคธุรกิจหรือผู้ที่สนใจลงทุนสถานีชาร์จรถ EV ด้วยดีไซน์ที่สวย และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ราคาตอบโจทย์ เหมาะกับการลงทุนสำหรับติดตั้งที่ ห้างสรรพสินค้า แหล่งคอมมูนิตี้ แหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร หมู่บ้าน และคอนโด เพราะว่าสามารถชาร์จไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี และตอบโจทย์กับผู้ใช้รถ EV 

4 – ระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า ‘BackEN’ หรือ ‘Backend EGAT Network Operator Platform’ ระบบที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการหลังบ้านเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (ผู้ใช้) แบบครบวงจร ได้มาตรฐานและปลอดภัย

การเติบโตของธุรกิจใหม่ เพื่อก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน

EGAT EV Business Solutions มีการเติบโตและพัฒนา มาตลอดและเพื่อระบบนิเวศด้านรถยนต์ไฟฟ้าไทย กฟผ. เองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างพันธมิตรใหม่ๆ ในการก้าวไปด้วยกัน อย่างการร่วมมือกับ 6 ค่ายรถยนต์ชั้นนำระดับโลก เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 

ได้แก่ Audi, BMW, Mercedes-Benz, MG, Nissan และ Porsche เพื่อร่วมมือกันในด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า และแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แก่กัน 

รวมถึงการเรียนรู้ใหม่ๆ จากทางองค์กร กับการลดขั้นตอนการทำงาน การตัดสินใจที่รวดเร็ว และการจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด และจะเป็นก้าวสำคัญสำหรับ Business Transformation ในอนาคตด้วย

ขุมพลังไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดของคนไทย 
‘โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด’

เมื่อ กฟผ. พัฒนาธุรกิจ ‘EGAT EV Business Solutions’ ขึ้นมา ย่อมมีคำถามว่า สนับสนุนให้คนไทยใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ไฟฟ้าล่ะ จะเพียงพอหรือไม่? ยิ่งผลิตไฟฟ้ามากขึ้นยิ่งเกิดผลเสียกับสิ่งแวดล้อมไหม

การพัฒนาโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดขุมพลังไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดของคนไทย ที่นับว่าเป็นต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดของคนไทย อีกหนึ่งแนวทางการนำพลังงานงานสะอาดมาใช้ คือคำตอบ 

เพราะอย่างที่เราทราบกันดี ในปัจจุบัน ทุกฝ่ายมีการตั้งเป้าในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) จากปัญหาสภาพแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญในช่วงเวลานี้ 

ถ้าให้พูดง่ายๆ คือการผลิตไฟฟ้าแบบไฮบริดระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ควบคุมด้วยระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) ร่วมกับการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) เพื่อลดข้อจำกัดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ปกติแล้วจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ 

เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยเสริมในช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายแทนพลังน้ำ และนำมวลน้ำมาเสริมความต้องการสูงสุดในช่วงค่ำ ให้ทั้งสองทรัพยากรเข้ามาตอบโจทย์ในแต่ละด้านกันมากขึ้น 

โดยปัจจุบันโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่เขื่อนสิรินธร .อุบลราชธานี มีกำลังผลิตติดตั้ง 45 เมกะวัตต์ และยังนับเป็นโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์มากถึง 144,420 แผ่น ติดตั้งอยู่บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่ หรือเทียบเท่าสนามฟุตบอลประมาณ 70 สนาม โดยเริ่มจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในพื้นที่เขื่อนของ กฟผ. ทั้ง 9 เขื่อนทั่วประเทศ รวม 16 โครงการอย่างต่อเนื่อง รวมกำลังผลิตทั้งหมด 2,725 เมกะวัตต์

ไม่ใช่แค่การให้ความสำคัญเรื่องพลังงานสะอาด แต่ยังเป็นการให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย จึงมีการพัฒนาเส้นทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) สามารถชมโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากมุมสูงบนทางเดินชมธรรมชาติได้อย่างชัดเจน เป็นการผลักดันร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานีปลุกปั้นที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ของภาคอีสาน ควบคู่กับการส่งเสริมให้ชุมชนมาร่วมเป็นมัคคุเทศก์นำเที่ยว นำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาวางขาย รวมถึงให้บริการด้านอื่นๆ กับนักท่องเที่ยว

นับว่าเป็นการตอกย้ำจุดยืนเรื่องของพลังงานสะอาดของไทย เป็นการเน้นย้ำว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยที่ปราศจากคาร์บอนต่อไปในอนาคต ตอบโจทย์โลกธุรกิจในวันนี้ ชีวิต และสิ่งแวดล้อม