ส่งเสียงผ่านการตัดต่อ เล่าทุกสิ่งผ่านภาพตรงหน้า กับเรื่องราวของ
ชุมชนเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี
“งานนี้มันทําให้ผมรู้ว่า หน้าที่การงานของผมมันก็มีคุณค่าสําหรับประเทศๆ นี้เหมือนกัน” คำพูดของ มี่-ชวลิต ทองคำ ทีม Editor แห่ง BrandThink หลังจากได้ดูฟุตทั้งหมด และสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ออกมา กับการเล่าเรื่องของชุมชนเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี ในช่อง LOCALRY
นราธิวาสในความหมายของคุณคืออะไร?
“นราธิวาส” แค่ได้ยินชื่อผมคงคิดอย่างอื่นไม่ได้นอกจากปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ ซึ่งนั้นหมายถึงสิ่งที่เราทุกคนได้ยินข่าวมาตลอดกว่า 20 ปี แต่สิ่งที่น่ากลัว และน่าตกใจมากไปกว่านั้น คือ…
เวลา 11 วัน กับฟุตเทจการถ่ายทําทั้งหมด 21 ชั่วโมงกับการนั่งฟังสัมภาษณ์คนทั้งหมด 19 คน ผมรู้สึกดําดิ่ง และอินไปกับเรื่องนี้ ราวกับว่าตัวเองเป็นคนในพื้นที่ยังไงอย่างงั้น มันคงเป็นเรื่องน่าใจหายนะ ถ้าการที่เราอยู่บ้านหลังหนึ่งมานานกว่า 60 ปี หรือมากกว่านั้นจากรุ่นสู่รุ่น แล้ววันหนึ่งมีคนมาไล่เราออกพร้อมกับบอกว่าเราอยู่ในพื้นที่ของเขา มัน เกิดขึ้นแล้วกับชาวบ้าน “ชุมชนเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี” แค่นี้สําหรับผมมันก็เป็นแรงผลักดันให้อยากตัดต่องานนี้เพื่อ เป็นส่วนหนึ่งสําหรับการช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับชุมชน เพื่อความเข้าใจของคนในสังคมว่าพวกเขาไม่ได้รุกป่าอย่างที่เข้าใจ แต่ในทางตรงกันข้าม พวกเขาถูกกลั่นแกล้งจากหน่วยงานภาครัฐ เข้ายึดพื้นที่ทํากิน ที่อยู่อาศัย รวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่โดยรอบ ทั้งมัสยิด วัด และโรงพยาบาล
เริ่มตัดต่อ…
กระบวนการของการตัดต่อก็เริ่มขึ้น นั่นคืออ่านสคริป รับบรีฟจากผู้กํากับ ดูฟุตเทจ รวมถึงคัดแยกประเด็นที่สัมภาษณ์มาทั้งหมด แล้วจัดกลุ่มเนื้อหาเข้าด้วยกัน เช่น เรื่องของประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ จนปัญหาเริ่มคืบคลานเข้ามา การต่อสู้ของชาวบ้านนับ 20 ปี จนถึงบทสรุปที่ยังไม่มีบทสรุป
เห็นมั้ยผมอิน
เอาจริงๆ ผมโคตรเศร้าเลยที่ดูทั้งหมดแล้ว รู้ว่ามันไม่มีบทสรุปที่ดีสําหรับชาวบ้าน แต่ผมต้องทําให้จุดจบของเรื่องมันมีความหมายที่สุดสําหรับวิดีโอนี้ ถ้าดูเนื้อหามันอาจจะเหมือนไม่มีอะไรยากสําหรับการเล่าเรื่องเรื่องนี้ แต่สิ่งที่ต้องคํานึงถึงคือความละเอียดอ่อนที่มีต่อเรื่องราว คําพูดของทุกคน เพราะฟุตเทจทั้งหมดเป็นการเล่าเรื่องข้างเดียว ไม่มีการสัมภาษณ์หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าหน้าที่อุทยานที่เป็นคู่กรณีพิพาทแต่อย่างใด ทําให้ผมต้องยิ่งระมัดระวังความถูกต้อง ยิ่งขึ้นไปอีกผมถึงขั้นไปโหลดกฏหมายพระราชบัญญัติป่าชุมชนมานั่งอ่านเพื่อประกอบการดําเนินเรื่องให้อยู่ในขอบเขต
เล่าเรื่องหนักๆ ให้กลายเป็นเรื่องเบา
โจทย์แรกที่ผมคิด ผมจะตัดต่อเล่าเรื่องนี้ยังไงให้ออกมาดูง่าย เล่ายังไงให้เรื่องหนักดูเบาที่สุด โชคดีที่การถ่ายทําครั้งนี้ถ่ายพร้อมกับงานอีก 2 งานคือ Local Guide ที่เป็นเรื่องของการท่องเที่ยว และ Local Craft ที่เน้นการนําเสนอของดีมีคุณค่าในแต่ละชุมชน ยํ้าอีกทีว่าผมน่าจะโชคดี ผมเลยคิดที่จะผสมผสานทั้ง 2 อย่างลงไปในเรื่องราวที่ดูจริงจัง สามารถถ่ายทอดออกมาได้ในรูปแบบสารคดีท่องเที่ยวเชิงบรูณาการ ที่เราเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่ที่เกิดขึ้นได้ด้วย เอาล่ะทีนี้ผมก็ลงมือบรรเลงสร้าง Rough Cut ให้ผู้กํากับดูภายในหนึ่งสัปดาห์ หลังจากได้ดู เราก็มีความเห็นตรงกันว่าเรื่องมันได้แล้วหล่ะ แต่มันยังดูจริงจังไปอยู่ดี ผู้กํากับผมบอก “พี่ใส่เพลงพี่แม็กซ์ เจน มานะ ลงไปเล๊ยยยยย”
วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า
คลิ๊กๆ…วืดๆ…ฟุ๊บ…แต๊ก…..วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า ฉันเจอนกตัวหนึ่ง มันถามฉันว่าจะไปไหน โป๊ ะเช๊ะ! แม่งโคตรใช่ หลังจากนั้นเพลงนี้ก็กลายเป็นเพลงธีมของรายการไปแล้ว แม้ว่าผมจะต้องไปหาทั้งแบบ Acoustic แบบ BackingTrack แบบ Fingerstyle เพื่อประกอบให้เหมาะแต่ละช่วงของเรื่อง หลังจากนั้นก็มีการดูกันไปตรวจกันไปอีก 2 – 3 Draft Delevop Script กันตรงจุดนั้นจุดนี้เพื่อเพิ่มแกนหลักนํา ทั้งเที่ยว และติดตามเรื่องปัญหาในพื้นที่พร้อมไปด้วย เวลาเขียนแบบนี้มันดูง่ายนะ แก้ปัญหาภายใน 3 บรรทัด เหตุการณ์จริงคือใช้เวลานานมากจนต้องเข้ามาทํางานเสาร์ – อาทิตย์กันตลอดทั้งเดือนเลยกว่างานนี้จะสําเร็จ
เดี๋ยว! สําเร็จ? จริงงะ? ลืมอะไรไปรึป่าว
ฉิบหายแล้วไอ้แบงค์ (ผู้กํากับ)
มึงติดต่อเรื่องของเพลงเขามาใช้ยัง!?
คําตอบที่ได้ยินจากผู้กํากับโคตรหล่อ “เดี๋ยวแบงค์ซื้อเองพี่ ถ้าเขาไม่ให้” เพลงนั้นถูกใช้ในงานนี้จริงโดยความอนุเคราะห์จาก พี่แม็กซ์ เจนมานะ หลังจากเราส่งงานให้พี่เขาดู เขาก็อนุญาต โดยไอ้แบงค์ไม่ต้องเสียเงินสักบาท ผมโคตรดีใจ ดีใจที่ไม่ต้องรื้องานใหม่ (หัวเราะ) ไม่ใช่! ก็ดีใจที่มันได้ใช้จริงเพราะมันลงตัวที่สุดแล้ว ในฐานะที่ผมเป็นคนตัดต่อคนนึง ผมค่อนข้างภูมิใจกับผลงานที่ออกมานะ รวมไปถึงเสียงชมจากน้องในออฟฟิศกันเอง และสื่ออื่นๆ ที่ร่วมทางไปลงพื้นที่ด้วยกันอย่าง echo, Trawell Thailand, The Momentum และ a day BULLETIN
“อะไรว่ะ เขาไม่เคยปลูกป่าเลยสักต้น เราเป็นคนปลูก เราเป็นคนอยู่ แล้วอยู่ดีๆ จะมาบอกว่าเป็ นของเขาได้ไง”
ประโยคจากป่อจิ (ผู้ใหญ่ที่ต่อสู้เรื่องพื้นที่ทํากินมานานกว่า 20 ปี) ทุกวันนี้ยังติดอยู่ในหู คาอยู่ในใจผม ซึ่งมันจริงของเขานะ เจ้าหน้าที่อุทยาน หรือหน่วยงานรัฐบางคน อายุยังไม่ได้ครึ่งนึงของป่อจิเลย แบบนี้แหละที่ผมเรียกว่า Great Visual Impact Life ตามประโยคที่หัวหน้าผมพูดเสมอ
“งานนี้มันทําให้ผมรู้ว่าหน้าที่การงานของผมมันก็มีคุณค่าสําหรับประเทศนี้เหมือนกัน เราอยู่ในประเทศที่มันไม่มีความเป็นธรรมเลยจริงๆ ในทุกด้าน มันอาจจะไม่ใช่แค่ประเทศเราหรอก ประเทศอื่นผมว่าประชาชนเขาก็อาจจะคิดเหมือนผม แต่แค่ประเทศเราแม่ง 2 มาตรฐานในทุกเรื่องแค่นั้นเอง”
ผมแอบมีคําถามทิ้งท้ายให้กับคนดูนะ
คุณรู้มั้ยงานนี้ใช้คนถ่ายทําทั้งหมดกี่คน ผมให้ทาย?
เมื่อได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าประสบการณ์ต่างๆ จากพี่มี่ ทีม Editor แห่ง BrandThink จะทำให้ใครหลายคนที่กำลังสนใจ หรือกำลังทำงานด้านตัดต่อได้แรงบันดาลใจไปไม่มากก็น้อย หากใครที่อยากชมผลงานของพี่มี่แบบเต็มๆ สามารถรับชมได้ที่: https://youtu.be/3gDtA8YjT80
เราเชื่อว่าทุกคน สามารถส่งเสียงผ่านหน้าที่การงานของทุกคนได้เช่นกัน
ส่วนในครั้งต่อไปเราจะไปร่วมพูดคุยกับทีมงานเบื้องหลังคนไหน ติดตาม BrandThink House เอาไว้ได้เลย!
(แอบเฉลยคำถาม ตากล้องในงานนี้มีทั้งหมด 1 คน)