5 Min

” Power Ledger ” ขายพลังงานไฟฟ้าจากที่บ้านของคุณ ด้วยเทคโนโลยี blockchain

5 Min
342 Views
21 Sep 2022

ประโยคคำพูดนี้อาจจะฟังดูแปลก เหมือนการขายของในตลาด แต่ในอนาคตอาจจะไม่แปลกอีกต่อไป เพราะด้วยนวัตกรรมแหล่งอนาคตที่ทำให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ สามารถซื้อ-ขายพลังงานไฟฟ้าให้กันเองได้ ผ่านระบบ Blockchain บน Platform ที่มีชื่อว่า Power Ledger

เราจะมาเล่าปัญหาก่อนที่จะมี Power Ledger กันก่อนเพื่อจะได้เข้าใจในรูปแบบธุรกิจอย่างถ่องแท้        

ยกตัวอย่างเหตุการณ์สมมุติว่าเป็นประเทศไทย (เพื่อทำให้เข้าใจง่าย)  

ในปัจจุบันประเทศไทย มีผู้จัดจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว  คือ ก.ฟ.ผ หรือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ให้บริการพลังงานไฟฟ้าแก่ทุกครัวเรือนภายในประเทศ ถ้าเกิดมีการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานไฟฟ้า ตัวผู้บริโภคเองก็ไม่มีทางเลือกในชีวิต จำใจต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทันใดนั้นก็มีกลุ่มผู้บริโภคที่อยากจะสร้างพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาใช้เอง ด้วยการติดแผงโซล่าเซลล์ สร้างพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาเอง พอพลังงานที่ผลิตใช้เอง มีมากกว่าที่ใช้ ทางผู้ผลิตก็อยากจะสร้างรายได้จากการขายพลังงานไฟฟ้า  ซึ่งผู้รับซื้อไฟฟ้าที่สามารถขายได้ก็มีแค่ ก.ฟ.ผ หรือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำให้ราคาที่ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ โดนกดราคาขาย ยกตัวอย่าง ก.ฟ.ผ ขายไฟฟ้า 1 หน่วย 4.5 บาท / ก.ฟ.ผ รับซื้อไฟฟ้า 1 หน่วย 2.0 บาท ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความต่างของราคาที่เกิดขึ้นอย่างมาก จนเกิดการรวมกลุ่มของผู้ที่มีความสามารถต่างๆ มารวมตัวกันเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ สร้าง Platform การแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า ที่มีชื่อว่า Power Ledger (ที่ประเทศออสตรเลีย)

Power Ledger เข้ามาแก้ไขปัญหาด้วยการ สร้างตลาด ซื้อ – ขาย พลังงานไฟฟ้า (เฉพาะพลังงานที่ไม่สร้างมลพิษ) สร้างระบบขึ้นมาบน Blockchain เพื่อให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายสามารถซื้อ-ขายในรูปแบบ Peer-to-Peer Electricity Trading (การซื้อขายพลังานไฟฟ้าระหว่างบุคคล ผ่าน Platform ที่เป็นตัวกลาง)

โดยจะขอยกตัวอย่าง 2 ระบบหลัก ใน Power Ledger                                                                                                         

ระบบ XGRID และ ระบบ UGRID  

รูปภาพจาก www.powerledger.io

ระบบ XGRID

ช่วยให้ครัวเรือนและธุรกิจขายพลังงานขนาดเล็กที่มีแผงโซลาร์เซลล์ สามารถขายพลังงานไฟฟ้าของตัวเองให้กับผู้อื่นได้ผ่านสายไฟฟ้าได้โดยตรง ผ่านการซื้อขายบน บน Platform

รูปภาพจาก www.powerledger.io

ระบบ UGRID

ช่วยให้ศูนย์การค้า อาคารอพาร์ตเมนต์ อาคารสำนักงาน หมู่บ้าน และ อาคารอพาร์ตเมนต์ที่มีแผงโซล่าเซลล์ สามารถสร้างรายได้จากพื้นที่หลังคาของพวกเขา โดยพื้นที่เหล่านี้สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมากได้ ทำให้ Power Ledger ต้องสร้างพื้นที่เก็บพลังงานให้พื้นที่เหล่านี้ เพื่อเก็บพลังงานมหาศาล พอเวลาขายพลังงานก็จะขายจากตัวเก็บพลังงานโดยตรงให้กับพื้นที่รอบบริเวณได้ทันที ผ่านระบบ Smart Meters

ระบบของ Power Ledger ทำงานบน Blockchain 2 ชั้น และ มีเหรียญบนระบบ 2 เหรียญ

รูปภาพจาก www.powerledger.io

เหรียญที่ 1 ) Power Ledger Token (POWR)  สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อหรือขายพลังงานไฟฟ้า จำเป็นต้องถือเหรียญ Power Ledger Token ตามที่ระบบกำหนดถึงจะเข้าใช้งานภายในระบบได้

เหรียญที่ 2 ) Sparkz POWR เป็นเหรียญสำหรับซื้อ-ขายพลังงานไฟฟ้า บนระบบ โดย 1 เหรียญมีค่า เท่ากับ  1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ผู้ที่จะซื้อพลังงานจำเป็นต้องนำเงินไปซื้อเหรียญ Sparkz POWR เพื่อซื้อพลังงานจากผู้ขาย และ ผู้ขายก็จะได้เหรียญ Sparkz POWR มาเพื่อไปแลกเป็น Power Ledger Token แล้วจะนำไปขาย หรือ เก็บก่อนก็ได้

โดยเหรียญ Power Ledger Token ในระบบมีจำนวนทั้งหมด 1,000,000,000 เหรียญ 

  • 35% – ขายให้แก่ Presale และผู้ลงทุน ICO         

  • 25% – กระตุ้นให้เกิดการใช้งาน    

  • 15% – เอาไปเป็นค่าพัฒนาระบบ      

  • 25% – เงินสำรองบริษัท

ในปัจจุบัน Power Ledger มีการซื้อเหรียญเก็บในทุกๆปี โดยมีเหรียญ Power Ledger Token ที่เก็บสะสมอยู่ทั้งสิ้น 5,502,004 ที่เก็บไว้ดังนี้:

  • ปีที่ 1 ( 533,066 เหรียญ  )

  • ปีที่ 2 ( 172,000 เหรียญ )

  • ปีที่ 3 ( 2,014,353 เหรียญ )

  • ปีที่ 4 ( 2,782,585 เหรียญ )

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Power Ledger ก็ได้มีการเผา เหรียญ Power Ledger Token ออกจากระบบกว่า 279,168 เหรียญ เพื่อรักษามูลค่าของเหรียญ จากการผันผวนของราคาในตลาด cryptocurrency ในช่วงขาลง

Power Ledger มีลูกค้าที่อยู่แต่ละประเทศกว่า 12 ประเทศ ซึ่งมีประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้นด้วย

รูปภาพจาก www.powerledger.io

โดยเนื้อหาดังต่อไปนี้จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการร่วมมือกันของ Power Ledger ที่ทำร่วมกับประเทศไทย

ในปี 2017

บริษัท BCPG (บริษัทประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน)  และ  Power Ledger ได้ประกาศข้อตกลงในการนำเอาตลาดพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในประเทศไทย โดยทดลองระบบในอพาร์มเม้นที่มีการติดแผงโซล่าเซลล์ให้สามารถซื้อขายพลังงานไฟฟ้ากันในอพาร์มเม้นเอง

ในปี 2018

บริษัท BCPG ได้เลือกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อลงทุนติดแผงโซล่าเซลล์ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อผลิตและขายพลังงานไฟฟ้าให้กับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมีสัญญาข้อตกลงเป็นระยะเวลา 20 ปี และได้นำเอาระบบ P2P ของ Power Ledger มาศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า

บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับ บริษัท BCPG และ Power Ledger ในการเอาเทคโนโลยีมาพัฒนารวมกับที่พักอาศัยเพื่อให้ที่พักอาศัยที่ติดแผงโซล่าเซลล์สามารถทำงานซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้ในรูปแบบ  Peer-to-Peer

ในปี 2020

Power Ledger ร่วมมือกับสร้างบริษัทลูกของ บริษัท BCPG อย่าง Thai Digital Energy Development (TDED) เพื่อพัฒนาธุรกิจซื้อ-ขายพลังงานให้ขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศ

ในอนาคตใครจะไปคิดว่าอยู่มาวันหนึ่ง จากที่เราซื้อพลังงานไฟฟ้ามาใช้ตลอดทั้งชีวิต วันหนึ่งเรากลับมาเป็นผู้ที่ขายพลังงานไฟฟ้าแทน และ คุณลองคิดสิว่าในอนาคตจะมีตึกหลาย ๆ ตึก เขียนติดป้ายประกาศว่า ” ตึกนี้ขายพลังงานไฟฟ้านะครับ” เต็มทั่วเมือง ฮ่า ฮ่า ฮ่า คงเป็นอะไรที่แปลกตาของเราเป็นแท้อย่างแน่นอน

อนาคตของโลก พลังจะเป็นสิ่งที่หายากขึ้น เรื่อย ๆ ซึ่ง ในวันหนึ่งก็จะหมดไป เพื่อที่จะทำให้อนาคตของโลกยังคงขับเคลื่อนต่อไปได้ เราจำเป็นต้องใช้พลังงานหมุนเวียน และ Platform ที่มีชื่อว่า Power Ledger กำลังทำให้สื่งนั้นครับ

Power Ledger สร้างรายได้ สร้างโอกาส สร้างอนาคต เริ่มต้นที่มือของคุณทุกคน

สำหรับเนื้อหาในบทความนี้ที่เราได้นำมาเล่าให้ทุกท่านฟัง ก็จบลงแล้วครับ หากมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ผมจะรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาเล่าให้ทุกท่านอีกนะครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านเนื้อหาบทความนี้จนจบครับ

.

ทั้งหมดนี้ เป็นบทความเพื่อการศึกษา
ไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อชักชวนในการลงทุน

.

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Economics of DeFi
ของ ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

.

นาย ศักย์ศรณ์ จันทรส

นักศึกษาปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่