ไม่เหงาแล้ว! นักวิจัยฟินแลนด์พัฒนา ‘DogPhone’ ช่วยให้น้องหมาวิดีโอคอลหาทาสได้เอง
เชื่อว่าเหล่าทาสทั้งหลายที่มีน้องหมา น้องแมวอยู่ที่ห้อง หรือที่บ้าน เวลาออกไปทำงานข้างนอกที ก็มักจะคิดถึง รู้สึกเป็นห่วงต้องกดเข้าแอปฯ คอยเช็ก คอยส่องดูผ่านกล้องที่ติดตั้งกันไว้ว่าเจ้านายกำลังทำอะไรอยู่
แล้วจะเป็นอย่างไร? ถ้าบรรดาเจ้านายทูนหัวของเราก็สามารถเช็กทาสได้บ้าง
‘ดร.อิลีอานา เฮิร์สกีช–ดักลาส’ (Dr.Ilyena Hirskyj-Douglas) ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างสัตว์กับคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ พร้อมด้วยเพื่อนร่วมทีมจากมหาวิทยาลัยอาลโตในฟินแลนด์ จึงได้ริเริ่มพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ชื่อว่า ‘DogPhone’ เพื่อช่วยให้น้องหมาสามารถสื่อสารกับเจ้าของได้ด้วยตัวมันเอง
ทั้งนี้ เพียงแค่เอาอุปกรณ์ดังกล่าวไปติดตั้งไว้ในของเล่นชิ้นโปรดที่น้องหมาชอบ เช่น ลูกบอลหรือตุ๊กตา ถ้าหากน้องหมาเกิดเหงา อยากคุยกับเจ้าของขึ้นมา ก็เพียงแค่ทำให้ของเล่นนั้นเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะงับ กัด เขย่า อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็จะส่งสัญญาณไปยังเจ้าของ โดยสามารถสื่อสารและเห็นหน้ากันผ่านหน้าจอที่ติดตั้งเอาไว้
‘ดร.อิลีอานา เฮิร์สกีช–ดักลาส’ (Dr.Ilyena Hirskyj-Douglas) ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างสัตว์กับคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ พร้อมด้วยเพื่อนร่วมทีมจากมหาวิทยาลัยอาลโตในฟินแลนด์ จึงได้ริเริ่มพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ชื่อว่า ‘DogPhone’ เพื่อช่วยให้น้องหมาสามารถสื่อสารกับเจ้าของได้ด้วยตัวมันเอง
ทั้งนี้ เพียงแค่เอาอุปกรณ์ดังกล่าวไปติดตั้งไว้ในของเล่นชิ้นโปรดที่น้องหมาชอบ เช่น ลูกบอลหรือตุ๊กตา ถ้าหากน้องหมาเกิดเหงา อยากคุยกับเจ้าของขึ้นมา ก็เพียงแค่ทำให้ของเล่นนั้นเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะงับ กัด เขย่า อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็จะส่งสัญญาณไปยังเจ้าของ โดยสามารถสื่อสารและเห็นหน้ากันผ่านหน้าจอที่ติดตั้งเอาไว้
ดร.เฮิร์สกีช–ดักลาส ได้ทดลองกับสัตว์เลี้ยงของเธอ คือ เจ้าแซ็ก (Zack) ลาบราดอร์วัย 10 ปี ผลปรากฏออกมาว่า ลาบราดอร์นั้นโทรหาเจ้าของหลายครั้ง ทั้งที่ยังไม่ได้คิดถึงหรือเหงา แต่เกิดจากความบังเอิญเสียส่วนใหญ่ ทำให้การทดสอบ DogPhone เบื้องต้น แสดงให้เห็นว่ามันไวต่อการสัมผัสมากเกินไป เนื่องจากมีครั้งหนึ่งที่แซ็กแค่เผลอหลับแล้วไปทับบนของเล่นโปรดอย่างลูกบอล
หลังจากผ่านไป 2-3 วัน แซ็กก็เริ่มวิ่งไปที่หน้าจอพร้อมกับคาบของเล่นมา เพราะน้องหมาเริ่มเรียนรู้แล้วว่าถ้าคาบของเล่นมาจะสามารถคุยกับเจ้าของได้นั่นเอง ซึ่งการทดสอบครั้งสุดท้ายในช่วงสัปดาห์นั้น พบว่า เจ้าลาบราดอร์วัย 10 ปีตัวนี้โทรไป 35 ครั้ง ซึ่งเฉลี่ยแล้ว 5 สายต่อวัน
ถึงแม้ว่าจะโทรหาเจ้าของโดยไม่ตั้งใจหลายครั้งก็ตาม แต่ดร.เฮิร์สกีช–ดักลาส ตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าลาบราดอร์ตัวนี้ได้แสดงความสนใจ เมื่อเธอแนะนำให้เขารู้จักสภาพแวดล้อมผ่านหน้าจอ และยังทำหูตั้งเมื่อเธอแชร์ภาพร้านอาหาร สถานีรถไฟใต้ดิน ถนน และห้องทำงานของเธอ
“เขาสนใจในสิ่งที่เห็นอย่างแน่นอน และยังแสดงพฤติกรรมแบบเดียวกับที่เขาแสดงเมื่อเราอยู่ด้วยกัน”ดร.เฮิร์สกีช–ดักลาสกล่าว
เจ้าของโปรเจกต์และทีม DogPhone ยังกล่าวว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นี้จะช่วยให้สัตว์เลี้ยงคลายความวิตกกังวลได้เมื่อต้องแยกจากกัน เพราะมนุษย์ต้องกลับสู่โลกการทำงานภายนอกบ้าน และแม้ว่าจะมีอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้มนุษย์กับสัตว์เลี้ยงสามารถโต้ตอบกันได้เมื่ออยู่ห่างจากกัน แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการและกระบวนการคิดของมนุษย์เท่านั้น
“สิ่งที่เราอยากทำกับ DogPhone คือการหาวิธีที่จะเปลี่ยนให้แซ็กกลายเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีนี้แทน ซึ่งเขาสามารถเปิดใช้งานได้ รวมถึงมีอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และวิธีที่เขาจะโทรออกมาหาเราได้เอง” เธอให้สัมภาษณ์กับทางสำนักข่าว BBC
ดร.โรเจอร์ มักฟอร์ด (Dr. Roger Mugford) นักจิตวิทยาสัตว์ ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ว่า ตามปกติ สุนัขจะออกแรงเพื่อควบคุมเจ้าของ ด้วยพฤติกรรมต่างๆ ที่รู้ว่าถ้าทำแล้วจะมีผลให้มนุษย์เคลื่อนไหวได้ เช่น เขย่าชามอาหารเมื่อหิว และเกาที่ประตูเมื่อต้องการให้คนตื่นนอน
นอกจากนี้ การทดลองยังแสดงให้เห็นว่าสุนัขโต้ตอบได้ดีกว่าเมื่อเห็นใบหน้ายิ้มของเจ้าของปรากฏอยู่บนหน้าจอ โดยเทียบกับปฏิกิริยาตอบสนองเวลาสุนัขเห็นหน้าบูดบึ้ง จึงเป็นข้อมูลเชิงลึกอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นได้ว่าสุนัขฉลาดแค่ไหน
อ้างอิง
- BBC. ‘Dog phone’ could help lonely pooches call owners. https://bbc.in/3GaJtBE
- Design Taxi. ‘DogPhone’ Lets Your Pet Call You When You’re Out And It Misses You. https://bit.ly/3ddFtE8