1 Min

อยู่ๆ ก็รู้สึกหมดแรง อ่อนเพลีย มาเป็นระยะเวลายาวนานแบบไม่ทราบสาเหตุ รู้จัก Chronic fatigue syndrome (CFS) หรือ ‘อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง’

1 Min
1142 Views
06 Jun 2021

 

เคยเป็นไหม? อยู่ๆ ก็รู้สึกหมดแรง อ่อนเพลีย มาเป็นระยะเวลายาวนานแบบไม่ทราบสาเหตุ

ขึ้นชื่อว่าเกิดมาเป็นมนุษย์เวลาเราทำงานหนัก ไม่ว่าจะทางกายหรือทางความคิดย่อมมีความรู้สึกเหนื่อย เพลีย อ่อนล้าทั้งทางกำลังและทางสมองเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ใช้เวลาไม่นานก็หายเป็นปกติ

วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ ‘Chronic fatigue syndrome (CFS)’ หรือรู้จักกันในภาษาไทยว่า ‘อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง’ โดยกลุ่มอาการนี้สามารถอ้างอิงถึงในชื่ออาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ (Myalgic Encephalomyelitis : ME) หรือ Systemic exertion intolerance disease (SEID)

แล้วสัญญาณแบบไหนบ่งบอกว่าเรากำลังตกอยู่ในสภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง หยิบกระดาษกับปากกาขึ้นมาเตรีมเช็ก ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้มากกว่า 6 เดือนขึ้นไปล่ะก็ เป็นสัญญาณอันตรายแล้วนะ

✔️เหนื่อยล้ามากกว่าปกติ
✔️ไม่ค่อยมีสมาธิ
✔️หลงลืมได้ง่าย
✔️อาการคล้ายเป็นไข้ (เจ็บคอ ปวดหัว)
✔️ต่อมน้ำเหลืองโต (คอ รักแร้)
✔️นอนไม่เต็มอิ่ม
✔️ไม่หายอ่อนเพลียหลังออกกำลังแม้จะผ่านไปเป็นวันก็ตาม

ฟังดูแล้วอาการก็คล้ายกับการเป็นไข้ทั่วไป ทานพาราก็หาย แต่เพราะมันไม่หายน่ะสิ มันเลยกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของเราเลยนะ

แล้วอะไรที่ทำให้เกิดภาวะเหนื่อยล้าเรื้อรังบ้าง?

ยังไม่มีงานวิจัยที่ออกมาอย่างแน่ชัดว่าอาการนี้เกิดจากอะไร ผู้เชี่ยวชาญสังเกตจากตัวอย่างกลุ่มอาการและคาดเดาได้ว่าอาจจะเกิดจาก

-การติดเชื้อไวรัส : โดยเจ้าไวรัสที่สงสัยว่าทำให้เกิดอาการนี้ก็มี Epstein-Barr Virus, human herpes virus 6 และ mouse leukemia viruses
-ความไม่สมดุลของฮอร์โมน : บางครั้งผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังมีระดับฮอร์โมนที่ผิดไปจากปกติ
-ปัญหาสุขภาพใจ : อย่างสภาวะเครียดก็ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังได้

ยิ่งในสภาวะการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในตอนนี้ หลายคนอาจจะเครียด วิตกกังวลได้โดยง่าย สำหรับใครที่รู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในสภาะเช่นนี้นอกจากการพยายามปรับการใช้ชีวิตให้ไม่ตกอยู่ในความเครียดมากไปแล้วการพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก็เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดีมากเหมือนกัน

อ้างอิง