เมื่อพูดถึง NFT หรือ Non-Fungible Token หลายคนจะนึกถึง งานศิลปะ รูปภาพ กราฟฟิก สวยๆต่างๆ ที่คนนิยมซื้อมาสะสม ซื้อมาใช้เป็นภาพโปรไฟล์ในโซเชียลมีเดีย หรือ ซื้อมาเก็งกำไรกัน
แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า NFT นั้น นอกจากเอามาใช้ในเรื่องของงานศิลปะ ของสะสมแล้ว ยังสามารถนำมาต่อยอด สร้างโอกาสทางธุรกิจได้อีกด้วย และธุรกิจที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ คือ ธุรกิจการเมล็ดกาแฟ ที่ชื่อ Bored Breakfast Club (https://www.boredbreakfastclub.com/)
โดยธุรกิจนี้ เกิดจาก บริษัทที่ชื่อว่า Kley ซึ่งทำธุรกิจด้าน Digital Design Studio ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Los Angeles รัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นเจ้าของ NFT คอลเลคชั่นดัง ที่ชื่อว่า Bored Ape Yacht Club (BAYC) (https://opensea.io/collection/boredapeyachtclub)ซึ่งเป็น NFT รูปลิงขี้เบื่อ ในท่าทาง อิริยาบถต่างๆ โดย ข้อดีของการเป็นเจ้าของ NFT รูปลิงขี้เบื่อ เหล่านี้คือ สามารถนำเอารูปลิงนี้ ไปหาผลประโยชน์ทางการค้าได้ ดังนั้น กลุ่มคนที่ Kley ซึ่งเป็นเจ้าของ NFT ลิงขี้เบื่อนี้ และมีความชอบในอาหารเช้า ชอบในการดิ่มกาแฟ จึงมาตั้งธุรกิจ ขายเมล็ดกาแฟร่วมกัน ในชื่อ Bored Breakfast Club
โดยเมล็ดกาแฟ ที่นำมาขาย ใน Packaging ที่มีรูป ลิงขี้เบื่อนี้ จะถูกคั่วโดย Yes Plz ซึ่งเป็นร้านคั่วเมล็ดกาแฟ ซึ่งตั้งอยู่ที่ เมือง Los Angeles และ เป็นร้านที่มีชื่อเสียง ติดอันดับ Top 10 ร้านขายเมล็ดกาแฟ ที่ได้รับความนิยม ซึ่งได้รับการจัดอันดับ โดย NY Times และ Wirecutter
ความพิเศษของ Bored Breakfast Club คือ การที่เค้าได้สร้าง NFT คอลเลคชั่นของตัวเองขึ้นมา โดยจะเป็นรูปกราฟฟิก ของลิง ที่กำลังกินอาหารเช้า และดื่มด่ำ อยู่กับวิวด้านหน้า โดยมีการสร้าง NFT คอลเลคชั่นนี้ ขึ้นมจำนวน 5,000 ชิ้น โดยจะเป็น NFT ที่อยู่บน Ethereum Blockchain ซึ่งผู้ที่ซื้อ และ ถือ NFT ในคอลเลคชั่นนี้ ก็เสมือนการได้ถือ Membership ของร้าน ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่างจากทางร้าน ได้แก่ การได้สิทธิในการซื้อ เมล็ดกาแฟที่มีการคั่วแบบพิเศษ ที่เฉพาะ คนที่ถือ NFT นี้เท่านั้น ถึงจะมีสิทธิซื้อได้ และมีสิทธิในซื้อสินค้าจากทางร้าน เช่น เสื้อยืดลายพิเศษ ที่ขายให้เฉพาะคนที่ถือ NFT นี้เท่านั้น
นอกจากนี้ ทางร้าน จะนำรายได้ส่วนหนึ่ง จากค่า Royalty ที่ได้เมื่อมีการซื้อขายเปลี่ยนมือ NFT คอลเลคชั่นนี้ บน Opensea และ กำไรส่วนหนึ่งจากการขายเมล็ดกาแฟ และ กำไรส่วนหนึ่งจากการขายสินค้า นำมารวมกันที่ กระเป๋ากลาง เพื่อซื้อเมล็ดกาแฟแจกให้กับ คนที่ถือ NFT คอลเลคชั่นนี้ ซึ่งแปลว่า ถ้ามีการซื้อขาย เปลี่ยนมือ NFT กันมาก ธุรกิจของร้านไปได้สวย มียอดขายเมล็ดกาแฟ มียอดขายสินค้ามาก คนที่ถือ NFT คอลเลคชั่นนี้ ก็จะได้รับปันผล เป็นเมล็ดกาแฟฟรี ที่ทางร้านจะส่งฟรีให้ถึงบ้าน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ก็ตาม
ซึ่งบนหน้าเวปของร้าน จะมีหน้าที่ชื่อ Coffee Rewards ซึ่งจะแสดงกราฟวงกลม และตัวเลข % ซึ่งจะเป็นตัวเลขแสดงจำนวนเงินส่วนแบ่งรายได้และกำไร ที่มารวมที่กระเป๋ากลาง โดยเมื่อตัวเลขนี้ถึง 100% เมื่อไหร่ ก็จะมีการปันผล โดยการจัดส่งเมล็ดกาแฟฟรี ให้แก่คนที่ถือ NFT นี้ ทั่วโลก ซึ่งคนที่ถือ NFT นี้ สามารถมากด Connect Wallet เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ NFT และ จะสามารถใส่ที่อยู่ เพื่อให้ทางร้านจัดส่งเมล็ดกาแฟให้ฟรีถึงบ้าน
โดยการที่ร้าน มีการทำ NFT มาขายจำนวน 5,000 ชิ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการขายไปทั้งหมดแล้ว ทำให้ร้านได้รับเงินทุนก้อนใหญ่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การนำ NFT มาปรับใช้กับธุรกิจนั้น เป็นการสร้างแหล่งเงินทุน แหล่งรายได้ช่องทางใหม่ แต่ก็ต้องแลกกับการ offer ผลประโยชน์ต่างๆให้กับผู้ที่ถือ NFT ของเรา โดยในปัจจุบัน ผู้ที่อยากซื้อ อยากได้ NFT ของ Bored Breakfast Club สามารถเข้าไปซื้อ ขาย ได้ที่ Opensea ซึ่งเป็นตลาดซื้อขาย NFT เจ้าใหญ่ของ Ethereum Blockchain (https://opensea.io/collection/boredbreakfastclub)
สำหรับ Roadmap ของทางร้านนั้น บนเวปได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของทางร้าน ซึ่งจากที่ในปัจจุบันมีการขายเมล็ดกาแฟ และสินค้า Merchandized ต่างๆแล้ว ในอนาคต มีแผนที่จะขายธุรกิจ การเพิ่มกิจกรรมใหม่ๆ ได้แก่ การมี Digital Library การทำ Virtual Coffee Shop การทำ Breakfast To Go และ ท้ายสุด คือการมี Coffee Clubhouse and Roastery เป็นของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่า คนที่ถือ NFT ก็จะได้รับผลประโยชน์และสิทธิพิเศษต่างๆเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
จะเห็นว่า ที่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ของการนำ NFT มาประยุกต์ในทางธุรกิจเท่านั้นเอง สำหรับเจ้าของธุรกิจในประเทศไทย โอกาสยังคงเปิดกว้างครับ เจ้าของธุรกิจใดที่เข้าใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนก่อน เข้าใจใน NFT ก่อน ก็จะมองเห็นโอกาสก่อน สามารถ หากลไกใหม่ๆในการกระตุ้นยอดขาย ต่อยอด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว
.
ผศ.ดร.ณพล หงสกุลวสุ
อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
093-059-6767