ชอบตึกนี้เพราะระเบียงไม้แกะสลัก เป็นมุขยื่น
แขกชาติใด คนไทยมกเรียกเหมารวม ไม่แยกเชื้อชาติ เช่น อินเดียที่มีสีผิวแบบ แขกเข้ม แขกขาว ซึ่งนับถือศาสนาทั้ง พราหมณ์-ฮินดู ลัทธิเชน ซิกส์ หรือแขกตะวันออกกลางที่ส่วนมากเป็นชาวมุสลิม
ตึกแขก เดิมที่สันนิษฐานคือ ตึกขายผ้าของชาวมัวส์(มุสลิม)ที่เป็นอาคารเดี่ยวสองชัันที่ถูกรื้อไปแล้วแถบย่านตึกแดงตึกขาว ไม่ใช่ตึกหัวมุมถนนทรงวาดออกเขียวขาวนี้
ส่วนที่น่าสนใจของ อาคารหัวมุมถนนสามชั้นระะบียงไม้นี้คือ กรอบหน้าต่างทรงโค้งแบบ volt
ที่คล้ายศิลปะโกธิก(คริสเตียน) แต่เดาว่าเป็นจะงอยแบบมุสลิม เพราะแถบนี้น่าจะเป็นร้านขายผ้าของชาว(แขก)มัวส์ ซึ่งเข้ามาขายค้ากับสยามตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่นพวก ขัณฑี หรือกลุ่มนักรบรับจ้าง จากบันทึกต่างๆ โครงสร้างกรอบซุ้มหน้าต่างแบบมุสลิมนี้ มีตัวอย่างเช่น วังสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ลพบุรี
การฉลุลายไม้ตกแต่งป็นลายพรรณพฤกษา สัตว์ หรือสัญลักษณ์เดือนเสี้ยวดาว ผสมอาคารก่ออิฐถือปูน หรือบางครั้งเป็นลายลูกกรงปูนปั้นประดับ น่าจะเป็นความนิยมของชาวมุสลิมที่ใช้ประกอบอาคารหรือร้านค้าในช่วงนั้น
ชาวมุสลิมจากชาติตะวันออกกลาง ทำการค้ากับเมืองท่าต่างๆเป็นระบบ ส่วนตัวคิดว่าตัังแต่เกิดเส้นทางสายไหมทะเลหลังสงครามศาสนาที่ตัดเส้นทางสายไหมทางบกออก สยามได้รับสินค้าจากตะวันออกกลางที่จะผ่านช่องแคบมะละกา สิงคโปร์ ที่ผ่านทางอินเดีย โดยมีพม่า(เมียนมาร์) รับมาอีกทอด (งานผ้าทางภาคใต้ โดยเฉพาะผ้าบาติก ผ้าปาเต๊ะ น่าจะได้รับการถ่ายทอดจากเส้นทางการค้าทางทะเลนี้ เช่น ผ้าลาซ้อมที่ขึ้นชื่อทางภูเก็ตที่มีที่มาจากเมืองลาเซ็มบางผืนมีอายุราวเจ็ดรัอยปีก่อน ลวดลายและการผลิตผ้าพิมพ์ตะกั่วกั้นด้วยเทียนก่อนนำไปย้อมสีเกิดเป็นลายเถาพฤกษาและสัตว์) นอกจากผ้ายังมีเครื่องแก้วเป่า เครื่องแก้วเจียระไน(ตัวอย่างจากร้าน อีแอมกาติ๊บ ตึกหัวมุมหลังกระทรวงฯที่จำหน่ายภาชนะเครื่องแก้ว) หรือเครื่องประดับจากชาวมุสลิม ที่เป็นคนกลางเช่นเดียวกับเครื่องเทศ (ผงแกงกะหรี่ ยังมีร้านผลิตเครื่องแกงในย่านเส้นถนนเจริญกรุงผลิตขายอยู่จนถึงปัจจุบัน)
มัสยิดหลวงโกชา ก็ตั้งอยู่ไม่ไกลจากอาคารหัวมุมนี้ หรือตึกห้างร้านแขกอื่นๆที่ขึ้นชื่ออีกหลายร้านก็อยู่ใกล้ตามเส้นทางถนนตัดใหม่ยุคร.4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
การเดินเท้าชมตึกเก่า อุดหนุนร้นค้าชุมชน อยู่กับตัวเองเพื่อเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม