3 Min

รู้จักขอโทษให้เป็น

3 Min
4114 Views
06 Jan 2022

คนเราไม่ว่าจะสนิทกันแค่ไหนหรือมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใดก็ไม่มีทางที่จะมีความคิดเห็นตรงกันทุกเรื่องเพราะฉะนั้นก็อาจจะทะเลาะกันหรือมีผิดใจกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา

คนเราต่างคนก็ทำผิดพลาดกันได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่เมื่อทำผิดแล้วก็ต้องรู้จักขอโทษและปรับความเข้าใจกันแต่บางคนก็อาจมองว่าคำขอโทษเป็นเรื่องเล็กน้อยพูดไปก็เท่านั้นไม่ได้สำคัญอะไร

ถึงคำขอโทษอาจจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วไม่ได้ก็จริง แต่ก็ไม่ได้แปลว่า มันไม่มีความหมาย เพราะคำขอโทษนั้นสื่อให้เห็นว่า อีกฝ่ายรับรู้แล้วว่าได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องลงไป และบางคนก็อาจจะไม่ได้ต้องการอะไรมาชดเชยสิ่งที่เสียไป นอกจากคำขอโทษที่จริงใจเท่านั้นเอง

ขอโทษไม่ได้แปลว่าแพ้ แต่แปลว่าใส่ใจความรู้สึก

สำหรับหลายคนอาจจะคิดว่าการเอ่ยคำว่าขอโทษออกมามันไม่ใช่เรื่องง่ายบางคนอาจพูดไม่เก่งบางคนอาจกลัวเสียฟอร์มแต่อาจจะลองปรับความเข้าใจใหม่ว่าคำว่าขอโทษจริงๆแล้วมันไม่ได้แปลว่าเราเป็นฝ่ายแพ้หรือทำให้ใครเสียหน้าแต่ในทางกลับกันมันแปลว่าคุณใส่ใจกับความรู้สึกของอีกฝ่ายซึ่งมันทำให้คนสองคนเข้าใจกันมากขึ้นเสียอีกเพราะคำว่าขอโทษสั้นๆสามารถสื่ออะไรได้หลายอย่างทั้งความรู้สึกผิดความห่วงใยและมันทำให้คนเปิดใจรับฟังกันมากขึ้นอีกด้วยเพราะฉะนั้นแล้วการเอ่ยคำว่าขอโทษก่อนไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่เป็นเรื่องที่ควรทำ

ไม่ใช่แค่ขอโทษแล้วกันแต่ต้องขอโทษอย่างจริงใจ

การพูดขอโทษใครสักคน คนฟังเขาฟังเจตนาออกว่าคำขอโทษนั้น พูดโดยที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ เพราะฉะนั้น การความรู้สึกออกมาผ่านขอโทษจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง มันควรจะต้องออกมาจากจริงใจ

จริงๆ แล้วการขอโทษก็มีหลายรูปแบบ ทั้งขอโทษต่อหน้า โทรศัพท์ไปหา ซึ่งสองวิธีนี้เป็นวิธีที่แสดงความจริงใจที่ดีเพราะเราจะได้ยินน้ำเสียงของผู้พูดด้วยว่าเป็นยังไง แต่บางครั้งมันก็รู้สึกกระอักกระอ่วน พูดไม่ออกได้เหมือนกัน และถ้าอีกฝ่ายเป็นคนหัวร้อน สองวิธีนี้ก็อาจจะทำให้เราเป็นฝ่ายนั่งฟังเขาระเบิดอารมณ์ หรือกลายเป็นสนามอารมณ์ของอีกฝ่ายได้ นักจิตวิทยาจึงแนะนำว่าการเขียนหรือการพิมพ์ เป็นวิธีที่ขอโทษที่จริงใจ (และหลีกเลี่ยงการปะทะ) ที่ดีกว่าการเขียนทำให้เรามีเวลาคิดไตร่ตรองสิ่งที่เราจะสื่อได้มากขึ้นและทำให้ไม่ต้องเจอกันตรงๆด้วย

  1. ก่อนที่จะขอโทษใคร คำขอโทษนั้นต้องมาจากการสำนึกผิดจริงๆ ไม่ใช่ขอโทษไปงั้นๆ เราต้องรู้สาเหตุก่อนว่าเราผิดยังไง และต้องเข้าใจด้วยว่าทำให้อีกฝ่ายเสียใจยังไง เราควรแสดงความเสียใจของเราออกไป ว่าตอนนี้เราสำนึกผิดแล้ว อยากจะขอโทษ เราผิดตรงไหนก็ขอโทษตรงนั้นไปให้ครบถ้วน
  2. รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรขอโทษถ้าอีกฝ่ายกำลังโกรธมากๆอยู่ก็ควรรอสักพักให้เขาใจเย็นลงหน่อยไม่อย่างงั้นจะกลายเป็นว่าเขียนอะไรไปก็ไม่เข้าหูเรื่องอาจจะแย่ลงกว่าเดิมได้
  3. ระบุให้ชัดเจนว่าจะรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำลงไปอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันสื่อให้คนอ่านรับรู้ได้ว่าเรารู้สึกผิดจริงๆ มากกว่าแค่ขอโทษ ถ้าสิ่งที่เสียหายเป็นสิ่งของก็ระบุไปเลยว่าจะชดใช้ยังไง แต่ถ้าเป็นความรู้สึกที่เสียไป ก็ต้องแสดงความจริงใจออกมาให้อีกฝ่ายเห็น ถ้านึกไม่ออกว่าจะทำยังไงดี ก็อาจจะบอกไปตรงๆ ก็ได้ว่าจะไม่ทำแบบนี้อีกแต่ต้องออกมาจากใจจริงๆ และจำคำสัญญานี้ไว้ตลอด อย่าเด็ดขาด
  4. รอรับผลที่ตามมา ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับอีกฝ่ายแล้วว่าจะให้อภัยไหม เราเองก็ไม่รู้หรอกว่าเขาจะคิดยังไง แต่ถ้าตั้งใจเขียนคำขอโทษอย่างจริงใจ ครบถ้วนตาม 3 ข้อที่กล่าวมาแล้ว ก็มีโอกาสที่เขาจะให้อภัย และความสัมพันธ์ก็อาจจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้

ถ้าพูดอะไรไม่ดีหรือทำอะไรโดยไม่คิดไปก็อย่ากลัวที่จะเป็นฝ่ายเอ่ยปากขอโทษใครก่อนเลยถึงคำขอโทษที่จริงใจนั้นจะไม่สามารถทำให้สิ่งที่เสียไปกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ทั้งหมดก็จริงแต่อย่างน้อยมันก็เยียวยาความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ไม่มากก็น้อย

ถ้าเราทำผิดเราก็ต้องรู้จักขอโทษรู้จักปรับปรุงตัวและเรียนรู้จากสิ่งที่ทำผิดพลาดกันไปความสัมพันธ์เป็นเรื่องเปราะบางกว่าที่เราคิดไม่แน่ว่าเรื่องเล็กๆในวันนี้ก็อาจจะกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายในวันหน้าได้อย่าปล่อยอะไรมันสายเกินไปจะดีกว่า

อ้างอิง