เรื่องราว 6,000 ปี ของกัญชา (6,000 Years of Cannabis History) By InfoStory

8 Min
4803 Views
07 Jul 2022

จากวันที่ประเทศไทยได้ปลดล็อคการใช้งานของกัญชากัญชงอย่างเต็มรูปแบบ

พวกเรา InfoStory ก็เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายท่านคงได้ใช้งานกันเยอะแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของผลิตภัณฑ์น้ำมันกัญชา เพื่อใช้ให้ผ่อนคลายและหลับสบาย

หรือ จะนำส่วนใบกัญชามาผัดกับอาหารต่าง ๆ เพื่อเสริมความอร่อย

หลาย ๆ ท่าน ก็อาจเริ่มที่จะปลูกต้นกัญชาอย่างจริงจัง 

(โดยไม่ต้องหลบซ่อนกันแล้ว แต่อย่าลืมไปลงทะเบียนกันด้วยนะคร้าบ)

ถ้าอย่างนั้นในบทความอินโฟกราฟิกอันนี้ 

พวกเราขอพาเพื่อน ๆ ไปส่องกับเรื่องราวความเป็นมาของพืชกัญชา พืชโบราณที่มีอายุมาตั้งแต่ในยุคเก่าของโลก กับเรื่องราว 6,000 ปี ของกัญชา” 

ขอเชิญเพื่อน ๆ รับชมรับอ่านแบบสบายสมองกันได้เลย !

 

มาเริ่มกันที่ จุดเริ่มต้นในยุคเก่ากันก่อนดีกว่า

(4,000 ปีก่อนคริสตกาล.. 400)   

4,700 ปีก่อนคริสตกาลหรือย้อนกลับไปเมื่อ 6,000 ปีก่อน ที่ว่ากันว่าเป็นเรื่องราวต้นกำเนิดของการค้นพบกัญชา

(*หากว่าถึงเรื่องต้นกำเนิดแล้ว อาจต้องย้อนไปเกือบ 10,000 ปีก่อนอีกนะ)

ว่ากันว่า กัญชาถูกค้นพบโดยชาวจีนในยุคสมัยของจักรพรรดิ์เช็นนึง (Shen Nung) ซึ่งเป็นหนึ่งในจักรพรรดิ์ที่มีสมยานามว่า “God of farming” 

ในขณะนั้นได้มีการบันทึกเอาไว้ว่า กัญชา สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้มากถึง 100 โรค นับว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคเลยทีเดียว

 

4,000 ปีก่อนคริสตกาลกัญชาถูกจัดเป็น 1 ใน 5 ธัญพืชอุดมคุณค่าของจีน เคียงคู่กับ ข้าวฟ่าง ข้าวเจ้า ถั่วเหลืองและข้าวสาลี

2,737 ปีก่อนคริสตกาลชาวจีนเริ่มคิดค้นตำรับยาที่บดจากกัญชานำมารักษาโรครูมาตอยด์และไข้มาลาเรีย

2,000 ปีก่อนคริสตกาลชาวไซเธียน(บรรพบุรุษของชาวอิหร่านและกรีกโบราณ)และบรรพบุรุษของชาวอินเดีย ได้นำกัญชามาใช้งานทางศาสนา เราเข้าใจว่าพวกเขาจะนำมาใช้ในการฝังศพ

ในช่วงนี้ เขายังได้พบบันทึกทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ปรากฎในอายุรเวทแพทย์แผนโบราณอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันนี้เอง การแพทย์แผนอายุรเวท ก็ยังมีการใช้กัญชาอยู่เหมือนในอดีต

1,550 ปีก่อนคริสตกาล กัญชาถูกบันทึกว่าเป็นหนึ่งในพืชที่ใช้รักษาทางการแพทย์ บนกระดาษปาปิรุส ซึ่งเป็นกระดาษแผ่นแรกของโลก ซึ่งถูกบันทึกโดยชาวอียิปต์โบราณ

1,400 ปีก่อนคริสตกาลกัญชาถูกจัดเป็นหนึ่งในพืชศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู

1,213 ปีก่อนคริสตกาลมีการค้นพบว่ากัญชาถูกฝังในมัมมี่ของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2

เรื่องราวตรงนี้ ก็จะเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาและโลกหลังความตาย เฉกเช่นเดียวกับชาวไซเธียนที่มีความเชื่ออันนี้ เมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล

1,000 ปีก่อนคริสตกาลกำเนิดเครื่องดื่มของชาวอินเดียสมัยโบราณบัง” (Bhang) เป็นเครื่องดื่มที่นำกัญชามาผสมกับนมสด ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและช่วยให้นอนหลับง่าย

ว่ากันว่าบังยังเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่พระศิวะโปรดปรานอีกด้วยนะ

 

 

 

.. 207หมอฮูโต๋ว (Hua T’o) ศัลยแพทย์ชาวจีนทดลองใช้งานกัญชาผสมกับไวน์ เพื่อให้ผู้ป่วยดื่มก่อนการผ่าตัด (เราเลยนึกภาพว่าคล้าย ๆ กับยาสลบหรือฉีดยาที่ทำให้เมา แล้วคนไข้จะได้ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะผ่าตัด)

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – 

มาต่อกันที่ยุคสมัยกลาง (.. 400 – 1600)

.. 1025 พบในการบันทึกคุณประโยชน์ของกัญชาในตำราแพทย์โบราณของชาวเปอร์เซีย “ Canon of Medicine” ของแพทย์ยอดนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย “Avicenna” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตำราแพทย์ที่ยิ่งใหญ่เล่มหนึ่งของโลก

โดยในตำราแพทย์เล่มนี้ จะใช้บันทึกกายวิภาคของมนุษย์และวิกฤตการณ์แผ่ระบาดโรคในอาณาจักรต่าง ๆ 

สำหรับกัญชานั้น แพทย์ Avicenna ได้บันทึกว่าสามารถช่วยรักษาอาการเลือดคั่ง โรคเก๊าท์ แผลติดเชื้อ

 

.. 1300พ่อค้าชาวอาหรับนำกัญชาไปทำการค้าในทวีปแอฟริกาเป็นครั้งแรก    

ต้องบอกเริ่มตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นไปเนี่ย เหล่าพ่อค้าชาวตะวันออกกลางและยุโรป ต่างหาโอกาสการทำกำไรจากการค้าขายต้นกัญชา อาจจะไม่ต่างอะไรไปกับการค้าขายผ้าฝ้ายผ้าไหมในยุคสมัยใหม่กันเลยทีเดียว

โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าชาวตะวันออกกลาง ที่ได้ขยายตลาดนำต้นกัญชาเข้าไปปลูกและขายในทวีปแอฟริกา

และด้วยสภาพภูมิอากาศของแอฟริกาเนี่ย ก็เหมาะกับการปลูกต้นกัญชาเอาเสียมาก ๆ เลยละ 

อีกจุดหนึ่งที่พ่อค้าชาวตะวันออกกลาง ได้มุ่งเน้นการขายต้นกัญชาไปยังทวีปแอฟริกาเนี่ย

ก็เพราะว่า ประชากรในแถบนั้นติดโรคระบาดกันค่อนข้างเยอะ (อาทิเช่น ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก โรคบิด)

ซึ่งเจ้ากัญชาเนี่ย ก็เลยเป็นสมุนไพรที่ตอบโจทย์ อย่างดีเยี่ยมเลย

(ฟันกำไรเหนาะ ๆ ด้วย)

.. 1500ยุคทองของพ่อค้ากัญชายังคงดำเนินต่อไป 

โดยคราวนี้ ก็ถึงคิวของ นักล่าอาณานิคมชาวสเปน ที่ได้นำกัญชาไปปลูกในทวีปอเมริกาเป็นครั้งแรก  

หลังสิ้นสุดยุคกลางไปหรือในช่วง ค.. 1500-1600 ไปแล้ว

อาจเรียกได้ว่าผู้คนแทบจะทั่วโลก ได้รู้จักกัญชา และนำมาใช้งานกันในชีวิตประจำวัน

อย่างไรก็ดีการรู้จักกัญชานั้น อาจเป็นเพียงแค่ผิวเผิน 

เพราะในขณะนั้นก็ยังไม่ได้มีนักวิทยาศาสตร์หรือแพทย์คนไหน ที่มาทำการวิจัยว่ากัญชานั้น มีอันตรายหรือมีขอบเขตในการใช้งานอย่างไร เลยทำให้ผู้คนในยุคกลางมองว่ากัญชาเป็นยาวิเศษ รักษาได้ทุกโรค รวมถึงการบำบัดโรคซึมเศร้า บำบัดทุกข์โศกได้อีกด้วย 

(ทำให้เรานึกถึงในยุคแรก ๆ ที่เมล็ดกาแฟกำลังเริ่มบูม แล้วชาวตะวันออกกลางกับยุโรปก็มองว่า กาแฟเป็นยาวิเศษ ทำให้ตื่นตัวจนไปถึงการห้ามดื่มกาแฟของประเทศในตะวันออกกลาง เพราะอ้างว่าเป็นยาเสพติด กรณีแบบนี้ค่อนข้างมีความคล้ายกันมากเลยเนอะ)  

    – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – 

 

ปิดท้ายกันด้วย ยุคสมัยใหม่ (.. 1600 – ปัจจุบัน)

.. 1798 –  จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้นำกัญชาติดตัวจากอียิปต์ กลับมายังฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ต้องบอกว่า ในเวลาต่อมาเนี่ย นโปเลียนที่ 1 ก็ได้เสพติดกัญชา อย่างมากเลยละ เพราะว่ากัญชาทำให้เขาทนต่อความเจ็บปวดและทำให้เขาหลุดจากภวังค์แห่งความเครียดได้ดี 

(จะเรียกว่าหนีความจริงก็ไม่เชิงนะ เพราะถ้าอ่านเรื่องราวการทำศึกครั้งท้าย ๆ ของนโปเลียนเนี่ย ก็เรียกได้ว่า ศัตรูรอบทิศ แต่ดันไร้มิตรรอบด้าน เลยจริง ๆ กัญชาเลยเป็นยาวิเศษในทันที)

.. 1839แพทย์ชาวอังกฤษ “William O’Shaughnessy” ได้คิดค้นตำราการปรุงยาจากกัญชาในแพทย์แบบตะวันตก     

เรื่องของเรื่องก็คือ นายแพทย์ William O’Shaughnessy ได้ไปทำการวิจัยและใช้ชีวิตในประเทศอินเดีย ซึ่งนั่นทำให้เขาค้นพบว่าชาวอินเดียใช้กัญชารักษาโรคกันอย่างแพร่หลายและได้ผลดีมาก ๆ 

เขาจึงได้ลองนำกัญชากลับมารักษาคนไข้ปวดข้อและโรคลมชักในประเทศอังกฤษ

รวมไปถึงการนำมาทดลองใช้กับคนไข้ที่มีอาการชัก (convulsions) ในวัยเด็กอีกด้วยนะ

แน่นอนว่า การรักษาด้วยกัญชา มันก็ค่อนข้างไปได้ดี จนกระทั่งนายแพทย์ William สามารถ เขียนตำราแพทย์สมัยใหม่ที่มีชื่อว่าวิธีการปรุงยาจากกัญชาโดยใช้กัญชาเพียง 10 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้ง 

จากตำราของนายแพทย์ William ก็เรียกได้ว่า เป็นใบเบิกทางเรียกความมั่นใจให้กับชาวยุโรป จนไปถึงฝั่งของอเมริกาเลยทีเดียว

ซึ่งหลังจากนี้ ก็เริ่มมีนักวิทยาศาสตร์เคมีและการแพทย์ ได้เริ่มเจาะลึกถึงสารสกัดต่าง ๆ ในพืชกัญชากันอย่างจริงจัง กันเสียที

 

.. 1898 – นักเคมีชาวอิสราเอล (Dunstan และ Henry) ได้ค้นพบกลุ่มสารแคนนาบินอยด์

Cannabinol (CBN – C21H26O2) ในกัญชา 

หรือที่เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะรู้จักในชื่อของ กลุ่มสาร THC และ CBD เนอะ 

(แต่ว่าในสมัยนั้น นักเคมีทั้ง 2 ท่านยังไม่ได้จำแนกย่อยออกมา)

.. 1900 – กัญชา กัญชา เป็นยาวิเศษ

นายแพทย์เจ รัสเชล เรโนลส์ แพทย์ประจำราชสำนักอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ในวารสารแลนเซต เกี่ยวกับประสบการณ์การใช้กัญชารักษาโรคในช่วง 30 ปีของตัวเอง

โดยได้บรรยายการใช้กัญชารักษาโรคต่างๆในรูปแบบทิงเจอร์ขนาด 15 – 20 มิลลิกรัม และสามารถช่วยรักษาอาการทางจิตใจเหล่านี้ได้ดีมาก 

อาทิเช่น ความผิดปกติทางจิตใจ ได้แก่อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ความเจ็บปวดและอาการชาทุกชนิด

อื้อหือเกริ่นมาแบบนี้ ก็ค่อนข้างชัดเจนเลยว่า

ในช่วงเวลานี้เนี่ย กัญชายังคงเป็นยาวิเศษของคนยุคใหม่ ซึ่งใช้ในทางมอมเมา เป็นยาเสพติด

(ซึ่งหากดูปริมาณการใช้งานแล้ว อาจพบว่ากลุ่มคนทั่วไปนำมาใช้เสพสูบ เพื่อความสุข มากกว่าจำนวนของแพทย์ที่นำกัญชามาใช้รักษาคนไข้ เสียอีกนะ)    

แต่จุดที่สำคัญคือความเข้าถึงง่ายของพืชกัญชา ที่เรียกได้ว่าหาซื้อได้ง่ายในทุกประเทศ… 

เรื่องราวการเสพติดจนมอมเมาตรงนี้ จึงทำให้ในเวลาต่อมาเนี่ย หลาย ๆ ประเทศเริ่มออกกฎหมายการควบคุมการปลูก แปรรูป และเสพกัญชา

.. 1900 – 1914 –  สหรัฐอเมริกา ประกาศให้มีการจำหน่ายกัญชาได้แค่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งจะเรียกว่า “Medical Cannabis” 

อย่างไรก็ดีวัยรุ่นอเมริกันก็ยังเข้าถึงและเสพกัญชากันได้ง่ายอยู่เหมือนเดิม

นั่นจึงทำให้ใน ค.. 1914 สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎ “Harrison Act” (หรือพระราชบัญญัติภาษียาเสพติดแฮร์ริสัน) เพื่อควบคุมและเก็บภาษีการผลิตนำเข้าและจัดจำหน่ายสารเสพติด เช่น ฝิ่น โคเคนและกัญชา

.. 1936 – ดูเหมือนว่า Harrison Act จะทำหน้าที่ได้ไม่ค่อยดีเท่าไร 

เพราะยังมีคดีฆาตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากผู้คนที่เสพสารเสพติดเกินขนาดอยู่ดี 

นั่นจึงส่งผลให้

.. 1937 – สหรัฐอเมริกา ประกาศว่าควบคุมการใช้งานกัญชา ประกาศแบนกัญชา ว่าเป็นยาเสพติดให้โทษ โดยได้ออกบทบัญญัติว่าด้วยการเก็บภาษีกัญชา “Marihuana Tax Act” ที่ระบุให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนกัญชา ต้องเสียภาษี และถือเป็นกฎหมายของรัฐบาลสหพันธ์ฉบับแรกที่ระบุห้ามครอบครองและขายกัญชา

 

อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็อาจจะเริ่มเห็นแต่มุมมองที่แย่ ๆ ของกัญชา 

อย่างไรก็ดีเพื่อน ๆ อย่าลืมว่า พืชกัญชา ก็ยังเป็นพืชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ มาตั้งแต่สมัยอดีต (หรือตอนต้นของบทความ)

การห้ามผู้คนไม่ให้ใกล้ชิดหรือทำความรู้จักกัญชาเลยอาจไม่ใช้วิธีที่ดีเท่าไรนัก 

(พวกเราคิดว่า เหมือนยิ่งห้ามก็ยิ่งยุ)

นั่นจึงทำให้ ในเวลาต่อมา

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยถึงกลไกทางเคมีของกัญชา เพื่อที่จะได้หาขอบเขตและขีดจำกัดของการใช้งานกันมากขึ้น

.. 1964 – ค้นพบสารเมา “THC” ในกัญชา โดยนักเคมีชาวอิสราเอล “Dr. Raphael Mechoulam”    

 

.. 1988 – ค้นพบสาร “CBD” ในกัญชา โดย “Dr. Raphael Mechoulam” (ท่านนี้ท่านเดิม)

 

.. 2000 – ปัจจุบัน     

จากการค้นพบสาร THC และ CBD ตรงนี้ จึงทำให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มทำความเข้าใจและปลดล็อคการใช้งานกัญชาได้มากขึ้น

อาทิเช่น อนุญาตให้มีการจำหน่ายกัญชา หรือ สารสกัดจากกัญชา ที่มีปริมาณสารเมา “THC” ไม่เกิน 0.2% ของน้ำหนัก

โดยประเทศที่เปิดให้มีการนำเข้าและใช้งานกัญชาอย่างเสรี ได้แก่ แคนาดา แอฟริกาใต้ อุรกวัย 

ก็คือ ไม่ได้กำหนดว่าต้องมีปริมาณ THC เท่าไร มีร้านสะดวกซื้อ ที่ขายใบกัญชาโดยทั่วไป (โดยผู้ผลิต/จัดจำหน่าย ต้องขึ้นทะเบียนกับรัฐบาลก่อนนะ)

 

หรือหลาย ๆ ประเทศที่เริ่มมีการปลดล็อคและผ่อนปรนพืชกัญชา อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ หรือ ไทย เป็นต้น

เห็นแบบนี้ ประเทศที่เจ้าระเบียบในการควบคุมอย่างจีน ก็เตรียมปลดล็อคการใช้งานกัญชาในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้นด้วยนะ 

เท่าที่ทราบมาตอนนี้คือ จีนเริ่มเปิดให้ใช้งานกัญชากัญชง ในเครื่องสำอางค์ 

หรือนำเปลือกลำต้น ไปใช้ทำเส้นไยเครื่องนุ่งห่ม 

(แต่ยังคงไม่อนุญาตให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้อยู่นะ)

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – 

จากเรื่องราวความเป็นมาทั้งหมดเกือบ 6,000 ปีของกัญชา ก็คงพอจะทำให้เพื่อน ๆ ได้มีเวลาทำความรู้จักกับกัญชากันมากขึ้น 

โดยเฉพาะในมุมมองของการนำมารักษา/บำบัดทางการแพทย์

ซึ่งทำให้เราเห็นว่า จริง ๆ แล้ว กัญชากัญชง ไม่ใช่พืชที่มีแต่ชื่อเสียงแย่ ๆ หรือมีแต่อันตรายอย่างที่เราเคยเข้าใจกันมา 

(อาจด้วยกฎหมาย วัฒนธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่เนอะ ที่มันส่งผลให้เรามองเห็นแต่มุมมองแบบนั้น)

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเรานำกัญชามาใช้ในทางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือใช้เพื่อเสพเน้นเมาเน้น “get high” เนี่ย ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราในระยะยาวได้ 

(หรืออย่างแย่ที่สุดก็คือเสพเกินขนาด ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ในทันทีได้)

วันนี้พวกเรา InfoStory ขอตัวลาไปก่อน 

ขอบพระคุณเพื่อน ๆ ที่ติดตามอ่านกันจนจบบทความที่สุดจะย๊าวยาว

 

พวกเราขอให้เพื่อน ๆ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดและการนำมาใช้ของกัญชา เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคกันด้วยนะคร้าบผม ^___^ 

แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม