12 years a slave- คุณค่ามนุษย์อยู่ที่หลุดพ้น

6 Min
1433 Views
13 Sep 2022

*มีการเปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของเรื่อง

นี่คือคําประกาศอิสรภาพของชาวอเมริกันที่ปลดแอกตัวเองให้เป็นอิสระจากอาณานิคมของประเทศ อังกฤษในปีค.ศ. 1776 อย่างไรก็ตาม ในความคิดของชาวอเมริกันผิวขาวบางคน คํากล่าวข้างต้นไม่ได้รวมทาสผิวดําไว้ เนื่องจากทาสมีบทบาทสําคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของพวกเขาให้ดีขึ้น การเลือกที่จะเพิกเฉยอิสระภาพของทาสจึงยังมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนใต้ของประเทศอเมริกาที่มีการปลูกฝ้ายต้องใช้ทาสจํานวนมาก ทําให้การค้าทาสเป็นไปอย่างแพร่หลาย ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามค้าทาสระหว่างประเทศในปีค.ศ. 1808 แต่ก็ยังมีการฝ่าฝืนกันเป็นจํานวนมาก ทาสชาวแอฟริกันหลายคนถูกลักพาตัวเพื่อขายต่อให้กับนายทาสผิวขาว แม้แต่ Solomon Northup ก็เป็นหนึ่งในคนที่ถูกหลอกมาขายด้วยเช่นกัน

หากเกิดความสงสัยว่า Solomon คือใคร เขาเป็นเสรีชนชาวนิวยอร์คที่ไม่ได้ขึ้นต่อนายทาสคนใดแต่ถูกหลอกให้กลายมาเป็นทาสนานถึง 12 ปี เรื่องราวของเขาถูกถ่ายทอดผ่านหนังสือและดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ที่มีชื่อ 12 years a slave ของ Steve Mcqueen ในปีค.ศ. 2013 ที่ได้พูดถึงเรื่องราวของ Solomon (นามเดียวกัน) แสดงโดย Chiwetel Ejiofor ชายหนุ่มมากความสามารถในการสีไวโอลินและมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ แต่ชีวิตประจำวันที่แสนสุขกลับต้องพลิกผันเมื่อเขาถูกชาย 2 คนวางยาและส่งตัวไปเป็นแรงงานทาสทางตอนใต้ของประเทศ ความพยายามในการอธิบายว่าตนเองเป็นเสรีชนต่อผู้คุมการขนส่งทาสผิวขาวนั้นไร้ประโยชน์ Solomon ถูกพูดจาเหยียดหยามและทําร้ายร่างกายราวกับว่าเขาเป็นเพียงแค่สัตว์ตัวหนึ่งเพียงเพราะมีผิวสีดําเท่านั้น

แรกเริ่ม Solomon ได้ถูกขายต่อไปอาศัยอยู่กับนายทาสที่มีชื่อว่า Ford (แสดงโดย Cumberbatch) นายทาสผู้อารีโอบอ้อมและดูแลทาสทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ถึงกระนั้น Ford ก็ยังมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า Solomon เป็นเสรีชนที่ถูกหลอกมาใช้แรงงานทาสและได้ส่งเขาไปทํางานร่วมกับหัวหน้าผู้คุมผิวขาวที่เกลียดชังคนผิวดําเป็นอย่างมาก แม้ Solomon จะประพฤติตัวอย่างดีที่สุดเพื่อหวังให้นายทาสเห็นใจ แต่การ ทํางานร่วมกับหัวหน้าผู้คุมแลกมาด้วยความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจปางตาย เขาตกอยู่ในภาวะไร้ซึ่งเสรีภาพราวกับว่าหนทางเดียวที่จะเป็นอิสระได้คือความตายเท่านั้น

Ford รู้ดีว่าหาก Solomon อาศัยอยู่ที่เรือนของตนนั้นคงหนีไม่พ้นความตายเป็นแน่แท้ จึงส่งตัวเขาไปขายต่อกับ Epps (แสดงโดย Michael Fassbender) นายทาสผิวขาวอีกคนที่เปลี่ยนโลกของ Solomon ให้เป็นยิ่งกว่าฝันร้าย Epps มีแนวคิดว่าทาสทั้งหมดเป็นสมบัติที่เขาจะทําอะไรกับมันก็ได้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นการใช้แรงงานทาสอย่างโหดเหี้ยมในไร่ฝ้ายของเขา ในเดือนของการเก็บฝ้าย จะมีการนับจํานวนฝ้ายที่ถูกเก็บโดยแรงงาน ใครที่เก็บได้จํานวนน้อยที่สุด 2 คนจะโดนเฆี่ยนตีเพื่อเป็นการทําโทษพร้อมเชือดไก่ให้ลิงดู ผู้ที่รอดจากนรกในไร่ฝ้ายก็เห็นจะมีเพียง Patsy (แสดงโดย Lupita Nyong’o) ทาสหญิงที่มักจะเก็บฝ้ายได้เป็นจํานวนมากที่สุดและดูจะเป็นที่พอใจต่อนายทาส Epps อย่างมาก

แต่รางวัลที่เธอได้รับนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าอภิรมย์ใจนัก เพราะนายทาสตัณหาจัดใช้ร่างกายของเธอเป็นเครื่องระบายอารมณ์ ความทุกข์ระทมขมขื่นที่เธอประสบแต่ไม่อาจร้องให้ใครช่วยเหลือได้ทําให้ Patsy เหมือนตายทั้งเป็น มิหนําซ้ำนายหญิงภรรยาของ Epps ยังคอยกลั่นแกล้งเธอแบบไร้ความปราณี ไม่ว่าจะเป็นการห้ามเธออาบน้ําไม่ให้ทานขนมร่วมกับทาสคนอื่น ๆ หรือแม้แต่ขว้างแจกันแก้วใส่เพียงเพราะความเกลียดชังที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ Patsy ไม่ได้ก่อ เหตุการณ์ในเรือนของ Epps สร้างความบอบช้ําต่อทาสหญิงผู้น่าสงสารซึ่งไร้วี่แววที่จะหนีพ้นจากโลกที่โหดร้าย

Solomon เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแต่ไม่สามารถช่วยอะไร ลําพังตัวของเขาที่มีชะตากรรมไม่ได้ต่างจาก Patsy เท่าใดนัก ถึงแม้ว่าเขาจะสามารถอ่านออกเขียนได้และมีโอกาสใช้ความสามารถในส่วนนั้นหลุดพ้นจากความเป็นทาส แต่การออกปากบอกใครต่อใครว่าทําเช่นนั้นได้ในสถานที่ที่ผู้มีอภิสิทธิ์ในการให้เสรีภาพเอาแต่ตัดสินคนจากชาติพันธุ์นั้นไม่ได้ช่วยอะไร ยิ่งไปกว่านั้นการอ่านออกเขียนได้กลับกลายเป็นสิ่งที่อันตรายต่อการโดนนายทาสที่หวาดกลัวการทรยศหักหลังทําโทษด้วยการเฆี่ยนตีแบบไร้ซึ่งความปราณี คําแนะนําที่ Solomon ได้รับมาจากนายหญิงของเขาคือ’ทําหน้าที่ที่ทาสพึงจะทําเท่านั้น’

12 Years a Slave' Holds Nothing Back in Show of Suffering - The New York  Times

เวลาล่วงเลยผ่านไป Solomon ยังคงเป็นแรงงานทาสที่ต้องตรากตําทํางานหนักในไร่ของนายทาส Epps จนวันหนึ่งการมาเยือนของ Samuel Bass (แสดงโดย Brad Pitt) ชายหนุ่มชาวแคนาดาที่มาช่วยงานนายทาส Epp ในการสร้างเรือนเล็กหลังใหม่ก็ได้สร้างความหวังอันยิ่งใหญ่ให้กับ Solomon

Bass เป็นผู้นิยมลัทธิเลิกทาสและมีความคิดที่ว่าไม่ว่าจะคนผิวดําหรือผิวขาวก็ต่างเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกัน อะไรที่เป็นความจริงและความถูกต้องสําหรับคนผิวขาวก็ย่อมมีผลกับคนผิวดํา ด้วยการแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนเช่นนี้ สร้างความไม่พอใจเท่าไหร่เท่าไหร่นักกับนายทาส Epp แต่กับ Solomon แล้ว เขาคือหนทางเดียวที่จะนําไปสู่อิสระภาพได้ เมื่อรวบรวมความกล้าทั้งหมดที่มี Solomon ได้ตัดสินใจเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองให้ Bass ฟัง พร้อมทั้งขอร้องให้เขาช่วยนําส่งจดหมายไปให้คนรู้จักเพื่อหวังซึ่งเสรีภาพมาครอบครอง แน่นอนว่า Bass ยินดีที่จะช่วยเหลือ เขาให้ปากรับคําสัญญาว่าจะส่งจดหมายให้ ถึงแม้ว่าใจจริงนั้นจะเกรงกลัวต่อสิ่งเลวร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ความหนักแน่นของจุดยืนที่เขามีนั้นไม่ใช่แค่ความคิดแต่แสดงออกผ่านทางการกระทําด้วย เขาทําตามสัญญาที่ให้ไว้กับ Solomon

และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง มีคนมารับ Solomon ที่ไร่ของนายทาส Epps ในปีค.ศ. 1853 นรกที่กินระยะเวลายาวนานถึง 12 ปีได้จบลง เขาได้รับเสรีภาพในการใช้ชีวิตของตัวเองและได้กลับไปหาครอบครัวอันเป็นที่รักในท้ายที่สุด เรื่องราวจบลงด้วยความผาสุกใจของ Solomon อย่างไรก็ตาม ในเมืองที่คนขาวมีอํานาจเป็นใหญ่ นายทาสใจอํามหิตและคนที่ลักพาตัว Solomon ได้รับการตัดสินให้พ้นโทษซึ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรมที่เกิดมาจากปัญหาการเหยียดชาติพันธุ์เชิงโครงสร้างที่ยังเห็นได้อยู่ถึงแม้ว่าจะล่วงเลยมาในศตวรรษที่ 21 แล้วก็ตาม

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความหนัก ไม่ใช่แค่เนื้อเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงการทารุณกรรมในระบบทาสและการเหยียดสีผิว แต่รวมถึงความสามารถทางการแสดงของนักแสดงในเรื่องหลายคน เช่น Chiwetel Ejiofor หรือ Lupita Nyong’o ที่แสดงบทบาทของการโดนกดขี่และลดทอนความเป็นมนุษย์ผ่านสีหน้าและแววตาก็ขับให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้วิธีที่ Steve Macqueen ใช้เล่าเรื่องก็มีความน่าสนใจ โดยเขา ไม่บอกช่วงระยะเวลาที่พ้นผ่านในภาพยนตร์เลยสักนิด ทําให้คนดูไม่รู้เวลาว่าผ่านไปนานเท่าไหนแล้ว ช่วยให้ระยะเวลา 12 ปีที่ถูกเล่าผ่านภาพยนตร์นั้นดูยาวนานสมจริง ไม่แปลกใจเท่าใดนักที่ภาพยนตร์เรื่องนี้คว้ารางวัล Oscar ไปถึง 9 สาขาและได้รับรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย

เมื่อกล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจในภาพยนตร์เราจะได้เห็นสภาวะที่คนผิวดําต้องเจอเมื่ออยู่ในสังคมที่คนดูถูกเหยียดหยามและเห็นคนผิวดําไม่ใช่เพื่อนมนุษย์ พวกเขาได้รับความเจ็บปวดจากความเกลียดชังทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้ร้ายเชิงคําพูด การทําร้ายร่างกายด้วยการเฆี่ยนตีและใช้อาวุธ การข่มขืน และการทํา ร้ายจิตใจจนบอบช้ำ พวกเขาไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งการมีชื่อเป็นของตัวเอง ร่างกายกลายเป็นเพียงแค่สมบัติของนายทาสผิวขาวที่คิดจะทําอะไรก็ได้ นายทาสที่ไร้สํานึกซึ่งความผิดชอบชั่วดีปฏิบัติต่อคนผิวดําราวกับว่าพวกเขาไม่ใช่มนุษย์ร่วมโลก คนผิวดําบางคนเลือกที่จะจบปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการพุ่งเข้าหาความตาย บ้างก็พยายามที่จะลุกขึ้นมาต่อต้านหรือขอความเห็นใจ แต่ผลลัพธ์กลับสูญเปล่า เสียงของพวกเขาไม่มีผลกับนายทาสผิวขาวที่เห็นความอยุติธรรมเป็นเรื่องปกติ

อย่างไรก็ดี เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกลงไปจะพบว่าความโหดร้ายที่เกิดขึ้นต่อระบบทาสและการเหยียดสีผิวไม่ได้แสดงออกให้เห็นแค่การกระทําทารุณกรรมตามที่ได้กล่าวมาในย่อหน้าข้างต้น แต่ความโหดร้ายนั้นถูกแสดงออกให้เห็นผ่านการเพิกเฉยต่อความยุติธรรมด้วยเช่นกัน ดังจะได้เห็นจากตัวละคร Ford หรือนายทาสคนแรก ที่รับรู้ว่าระบบทาสนั้นกดขี่ความเป็นมนุษย์และพรากเสรีภาพที่ทุกคนพึงจะมี เขารู้ดีว่าคนผิวดําไม่สมควรจะต้องประสบพบเจอกับความหยาบช้าเพียงเพราะมีชาติพันธุ์ที่แตกต่าง แต่เขาเลือกที่จะนิ่งเฉย ไม่ได้ช่วยเหลือและไม่ได้คิดจะ ซ้ําเติมสิ่งที่เหล่าคนผิวดําต้องเจอ หารู้ไม่ว่าการกระทําเช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการสนับสนุนให้การกดขี่ยังคงดําเนินในสังคมต่อไป ปัญหาเชิงโครงสร้างในสังคมไม่มีทางที่จะหายไปหากยังมีคนในสังคมที่คิดว่าตนเองไม่ได้เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบ

สิ่งที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกที่มีความเหลื่อมล้ําคือความกล้าที่จะลงมือทํา ต่อให้มาจากคนเพียงคนเดียวก็มีพลังพอที่จะเปลี่ยนชีวิตคนๆ หนึ่งได้ แน่นอนไม่ใช่ว่าคนขาวในเรื่องทุกคนจะเห็นด้วยกับการพรากเสรีภาพจากเพื่อนมนุษย์ แต่ไม่มีใครกล้าที่จะลงมือทําอะไร กลายเป็นว่าชีวิตที่เป็นทาสนานถึง 12 ปีของ Solomon มีเพียงแค่คนเดียวที่สามารถช่วยเขาได้เพราะคนที่ช่วยเหลือนั้นเป็นผู้กล้าที่จะลงมือทํา Bass รู้ว่าสิทธิ พิเศษของการเป็นคนผิวขาวของตนเองนั้นสามารถช่วยเหลือ Solomon อย่างไรได้บ้างแล้วเขาก็ไม่ลังเลที่จะใช้อภิสิทธิ์นั้นให้เกิดประโยชน์

ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้มีประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่นักวิจารณ์หลายคนได้พูดถึง นั่นคือการเล่าเรื่องที่ยังคงติดอยู่ในหล่มของการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคนผิวขาวหรือ White savior ดังจะเห็นได้ในภาพยนตร์ Hollywood หลายเรื่องที่เล่นประเด็นคนผิวสี (people of colour) แต่เน้นให้เห็นถึงความดีงามของคนผิวขาวที่ช่วยเหลือคนผิวสีเหล่านั้น ทําให้คนขาวไม่รู้สึกแย่กับการเสนอมุมมองที่คนผิวสีต้องเจอจนเกินไป หากเปรียบกับในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือการเน้นให้ตัวละคร Bass เป็นดั่งแสงที่ปลายอุโมงค์สําหรับ Solomon ซึ่งแท้จริงแล้วนี่อาจเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่แก้ไม่ตก ทําให้เกิดความคิดที่ว่าคนผิวสีต้องมีคนผิวขาวมาคอยช่วยเหลือถึงจะสามารถหลุดพ้นจากบ่วงแห่งความทุกข์ยากได้และทําให้วงการ Hollywood ไม่หลุดกรอบจากการทําภาพยนตร์เพื่อเสิร์ฟคนผิวขาวสักที

สิ่งสําคัญที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะทั้งในวงการภาพยนตร์หรือความคิดของคนในสังคมคือการแหวกกรอบหลุดพ้นจากการนําเสนอความคิดรูปแบบเดิมๆที่ยังคงกดทับคนในสังคมอยู่ไม่ต้องไปเน้นที่ตัวละครคนผิวขาวที่สามารถช่วยเหลือตัวละครคนผิวดําได้ แต่ทําให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการเหยียดสีผิวว่ามีผลกระทบที่แย่ต่อมนุษย์คนหนึ่งมากเพียงใด เน้นให้เห็นถึงความสําคัญของการที่ทุกคนไม่ว่าจะชาติพันธุ์ไหนก็ตามควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคและมีความยุติธรรม

“เพราะเมื่อมนุษย์หลุดพ้น ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น”