เศรษฐกิจญี่ปุ่นในแต่ละยุคและสภาวะเงินฝืด

3 Min
13 Views
18 Dec 2023

เศรษฐศาสตร์ ญี่ปุ่นในทศวรรษที่ 80 ในขณะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่กำลังเติบโต เรื่องราวเริ่มต้นในปี1979 ซึ่งเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันซึ่งเกิดจากการปฏิวัติอิหร่านและสงครามอิรักและอิหร่านในเวลาต่อมา ญี่ปุ่นแก้ปัญหาด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงทำให้เกิดฟองสบู่สินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว แท้จริงแล้วเศรษฐกิจญี่ปุ่นช่วงต้นทศวรรษที่80โดดเด่นด้วยการลงทุนมหาศาลในด้านการวิจัยและนวัตกรรมส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเหล่านี้แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพราะญี่ปุ่นใช้เทคนิคที่เรียกว่า window instruction วิธีการก็คือธนคารแห่งประเทศญี่ปุ่นออกนโยบายที่ช่วยส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมการต่อเรือทำให้ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นนั้นเติบโตเป็นอย่างมาก แต่ในปี1981อเมริกาได้จำกัดการนำเข้ารถยนต์ของญี่ปุ่นเนื่องจากกลัวว่าญี่ปุ่นจะขึ้นมาเป็นอันดับ1ในการผลิตรถยนต์และทำลายตลาดของรถอเมริกันจากนั้นในปี1983อเมริกาก็ได้ขึ้นภาษีรถยนต์จากญี่ปุ่น ในเวลาถัดมาได้เกิดข้อตกลงพลาซ่าขึ้นเนื่องจากญี่ปุ่นเห็นว่าเงินดอลลาร์นั้นแข็งค่าจนเกินไปธนคารญี่ปุ่นจึงขายทุนสำรองดอลลาร์จำนวนมหาศาลเพื่อทำให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นทำให้ความมั่งคั่งของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นจากการนำเข้าที่ถูกลงและผลกระทบต่อมาก็คือราคาสินทรัพย์พุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ท้ายที่สุดก็เกิดสภาวะฟองสบู่แตกทำให้เกิดสภาวะเงินฝืดอย่างหนัก

.

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงปี 1990

สภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่นนั้นน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมากเนื่องจากมีความผันผวนมากและระบบธนคารที่จวนจะล่มสลาย เพื่อแก้ไขปัญหาเงินฝืดนี้ธนคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปี1991เพื่อเพิ่มการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นแต่มันก็สายเกินไปแล้ว ภาครัฐนั้นพยายามที่จะช่วยเพิ่มทุนของธนาคารของญี่ปุ่นแต่ก็มีผู้ออกมาคัดค้านอย่างมากมายผลที่ตามมาคือธนคารยังคงอยู่ในวงจรที่ชะลอตัวลง ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 1997ในขณะที่หลายประเทศในเอเชียนนั้นเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจมากมายแต่ญี่ปุ่นนั้นฝ่าฟันปัญหานี้ได้ค่อนข้างดีเนื่องจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้เงินที่ได้จากการเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง แต่แล้วก็เกิดฟองสบู่แตกอีกครั้งทำให้สถาบันการเงินรายใหญ่ของญี่ปุ่น7แห่งได้ล้มลงและในท้ายที่สุดสภาวะเงินฝืดและหนี้ของญี่ปุ่นก็ได้ถูกแก้ไขไปจนหมด ภาคธนคารของญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของญี่ปุ่นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่21

.

เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2000

ญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับการมีอัตราเงินเฟ้อเล็กน้อยแทนที่จะรักษาเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อที่ไม่มากนั้นช่วยทั้งในภาคเอกชนชนและภาครัฐในการชำระหนี้ได้ ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้ผู้คนใช้จ่ายเงินแทนที่จะเก็บเงินไว้ ทฤษฎีอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือเส้นโค้งฟิลิปส์ซึ่งบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อกับการว่างงาน แนวคิดหลักของเส้นโค้งฟิลิปส์ก็คือการว่างงานต่ำทำให้ต้นทุนของสินค้านั้นสูงขึ้น ในปี2005ญี่ปุ่นนั้นได้เกิดการว่างงานเป็นจำนวนมากและอัตราดอกเบี้ยติดอยู่ที่0% ดังนั้นญี่ปุ่นจึงได้ทำการทดลองทางการเงินเป็นเวลานานและทำให้เกิดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เพื่อป้องกันการเงินเงินเฟ้ออีกครั้งในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาสหภาพแรงงานญี่ปุ่นมักเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างอย่างน้อย5%เพื่อให้ทันกับอัตราเงินเฟ้อสิ่งนี้ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นสำหรับธุรกิจที่ยังคงทำกำไรได้โดยขึ้นราคาอีก5%หมายความว่าในปีหน้าอัตราเงินเฟ้อก็อยู่ที่5%เช่นเดิม และแล้ววิกฤตการเงินโลกก็ได้สร้างผลกระทบต่อญี่ปุ่นอย่างหนักเศรษกิจญี่ปุ่นหดตัวลงอย่างมาก ปัญหาที่ตามมาก็คือญี่ปุ่นต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์และเมื่อความต้อการรถยนต์ของยุโรปลดลงภาคส่วนนี้ก็ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ดังนั้นญี่ปุ่นจึงสิ้นสุดทศวรรษด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยและกลับเข้าสู่สภาวะเงินฝืด

.

เศรษฐกิจญี่ปุ่น คศ.2010

ในปี2012นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะได้เข้ามามีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และวาระที่เขานำเสนอเป็นที่รู้จักกันในนามอาเบะโนมิกส์เมื่อมีการประกาศอาเบะโนมิกส์มีหัวข้อหลัก3ข้อ คือ 1.นโยบายการเงิน โดยการซื้อหุ้นของบริษัทในประเทศเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดเพียงรายเดียวของญี่ปุ่น 2.การเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ 3.การปฏิรูปโครงสร้าง นั่นหมายถึงการอนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นมากขึ้นเพื่อเพิ่มการแข่งขันระหว่างบริษัท,การลดภาษีของบริษัทและมีข้อตกลงทางการค้ามากมาย แต่ด้วยนโยบายของอาเบะก็ยังไม่สามารถเพิ่มการบริโภคของภาคครัวเรือนได้มากตามที่หวัง แต่เนื่องด้วยปัญหาประชากรที่ลดน้อยลงของญี่ปุ่นทำให้แรงงานลดลง ความต้องการลดลงทำให้เกิดเงินฝืดอีกครั้งและอาเบะนั้นมีนโยบายในการเพิ่มประชากรของญี่ปุ่น เช่น การสร้างสถานรับเลี้ยงเด็ก การเสนอให้แรงงานไร้ฝีมือมาฝึกงานและทำงานในญี่ปุ่น คำถามคือญี่ปุ่นนั้นจะติดอยู่ในภาวะเงินฝืดตลอดไปหรือไม่?

งานเขียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชา

751309 Macro Economic 2

ซึ่งสอนโดย ผศ.ดร. ณพล หงสกุลวสุ

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

งานชิ้นนี้ เขียนโดย 

นาย เพชรวุธ นาคไทยสงค์ 651610321