(แต่อาจแปลกสำหรับเรามาก เพราะจะเอาเวลาไหนไปนอนกันละเนี่ย….)
ถ้างั้นวันนี้ ให้พวกเรา InfoStory พาเพื่อน ๆ ไปไขข้อข้องใจ พร้อมรู้จักวัฒนธรรมการดื่มกาแฟ ของชาวฟินแลนด์กัน
เพื่อน ๆ ทราบไหมว่า ?
จากข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการบริโภคกาแฟจากเว็ปไซต์ Statista ได้ระบุไว้ว่า ในปี 2019 ประเทศฟินแลนด์ มีอัตราการบริโภคกาแฟที่มากที่สุดในโลก บริโภคกาแฟ 10 กิโลกรัม เฉลี่ยต่อคน เลยทีเดียว (หากนับเป็นน้ำหนักจำนวนเมล็ดกาแฟ)
ตามมาด้วย ประเทศนอร์เวย์ที่ 9 กิโลกรัม เฉลี่ยต่อคน และ ไอซ์แลนด์ 8 กิโลกรัม เฉลี่ยต่อคน
ว่าแต่ ทำไมชาวฟินแลนด์ถึงได้นิยมดื่มกาแฟ มากขนาดนั้นนะ ?
ต้องบอกก่อนว่า ประเทศฟินแลนด์ อาจไม่ได้มีประวัติที่ยาวนานสำหรับเรื่องราวของกาแฟ เหมือนกับประเทศผู้ส่งออกพันธุ์กาแฟอย่าง แอฟริกา หรือ อเมริกาใต้
แล้ว ชาวฟินแลนด์เริ่มรู้จักกับ “กาแฟ” ได้อย่างไร ?
กาแฟ เริ่มเข้ามาเป็นที่รู้จักในประเทศฟินแลนด์ ในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยว่ากันว่า ได้รับอิทธิพลการแพร่หลายนี้ มาจากประเทศรัสเซีย และ เพื่อนบ้านอย่าง สวีเดน
โดยในสมัยนั้น ชาวฟินแลนด์มีความเชื่อว่า กาแฟคือยาวิเศษ สามารถรักษาอาการอ่อนเพลียได้ และ ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ 1919 กาแฟ ก็ได้ถูกแบนจากรัฐบาลประเทศฟินแลนด์ เพราะเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้คนฟินแลนด์เสพติด (ว่ากันว่า เสพติดยิ่งกว่าแอลกอฮอล์ซะอีก)
ต่อมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เนี่ย
กาแฟ ก็ได้กลับมามีอิทธิพลกับชาวฟินแลนด์อีกครั้ง
คราวนี้ กาแฟ ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องแล้ว
เรื่องนี้จึงทำให้ ชาวฟินแลนด์อดกลั้นไม่ไหว รีบกลับมาบริโภคกาแฟกันอย่างถาโถม โดย ณ เวลานั้น จำนวนกาแฟที่ถูกบริโภคเฉลี่ยชองฟินแลนด์ แซงหน้าเจ้าพ่อแห่งกาแฟอย่าง อิตาลี ไปได้อีกด้วย
“Kahvi” แปลว่า กาแฟ ในภาษาฟินนิช
บางแหล่งอ้างอิง กล่าวไว้ว่า ความหมายที่ถูกต้องของ “Kahvi” คือ กาแฟที่คั่วอ่อน
แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะดูเหมือนว่าในปัจจุบัน ชาวฟินแลนด์จะนิยมดื่มกาแฟแบบคั่วเข้ม ที่มีรสชาติที่หนัก และ กลิ่นที่หอมฟุ้ง (ซึ่งพวกเขาก็เรียกว่า “Kahvi” นั่นแหละ)
ว่าแต่ว่า ใน 1 วัน ชาวฟินแลนด์นิยมดื่มกาแฟ ตอนไหนกันบ้างละ ?
-
ช่วงที่ 1 เรียกว่า “aamukahvi” หรือ ช่วงเวลาเริ่มต้นของวัน ซึ่งอาจจะเป็นในที่ทำงานในตอนเช้า
-
ช่วงที่ 2 เรียกว่า “päiväkahvi” คือ หลังอาหารเที่ยง ทันที
-
ช่วงที่ 3 คือ เวลา “Coffee Break” โดยจะดื่มกาแฟ และ พูดคุยกับเพื่อนรวมงาน หรือ ครอบครัว (ตรงนี้จะคล้ายๆ กับ วัฒนธรรม Fika ของชาวสวีเดน)
-
ช่วงที่ 4 คือ ช่วงเวลาเย็น หลังจากที่ กลับถึงบ้านแล้ว
-
ช่วงที่ 5 คือ ช่วงเวลาหัวค่ำ โดยชาวฟินแลนด์ที่สูงอายุ มีความเชื่อว่า การดื่มกาแฟในช่วงหัวค่ำ จะทำให้หลับสบาย..
อันที่จริงแล้ว ชาวฟินแลนด์ยังมักนิยมดื่มกาแฟ จากได้ทำกิจกรรมพิเศษระหว่างวัน หรือ การเฉลิมฉลองเช่น
“saunakahvi” หลังจากซาวน่า
“matkakahvi” หลังจากเดินทางท่องเที่ยว
“Läksiäiskahvit” การดื่มกาแฟแทนการอำลา
หรือ ทุกเหตการณ์พิเศษอื่น ๆ อีกเช่น หลังงานแต่งงาน หลังจากไปเลือกตั้ง หรือ แสดงความยินดีกับบุตรที่เพิ่งคลอด
— — — — — — — — — — — — — — — — — —
แล้วถ้ากาแฟ มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของชาวฟินแลนด์ขนาดนี้
ก็อดคิดต่อไม่ได้ว่า มารยาทในการดื่มกาแฟ ของชาวฟินแลนด์ จะเป็นอย่างไรกันนะ ?
-
ข้อแรกเลย เวลาที่เราจะไปบ้านใคร หรือ ชวนใครมาที่บ้าน ชาวฟินแลนด์จะนิยมชงกาแฟร้อน ๆ ให้ดื่มกันเป็นมารยาท และ หากเราปฏิเสธเนี่ย… จะเป็นเสียมารยาทมากเลยละ
-
ข้อที่ 2 กาแฟที่นำมาต้อนรับ อาจเป็นกาแฟแก้วเล็ก
แต่ไม่เป็นไร แก้วที่เล็กนี้ ไม่ถือว่าเป็นการเสียมารยาท เพราะชาวฟินแลนด์จะเข้าใจว่า ถ้าเสิร์ฟเป็นแก้วเล็กๆ ก็จะต้องมีการดื่มกันหลายรอบหน่อย หรือ เขาเรียกว่า “santsikuppi” ซึ่งหมายความว่า กาแฟรอบต่อไป
-
ข้อที่ 3 ชาวฟินแลนด์นิยมดื่มกาแฟ คู่กับการรับประทานของหวาน หรือ เค้ก
อันนี้ต้องห้ามพลาดเลยละ !
-
ข้อสุดท้ายเนี่ย เพื่อนๆ รู้ไหมว่า หากเรากำลังนั่งรับประทานอาหาร พร้อมกันเป็นหมู่คณะ
หากมีใครสักคนหนึ่งขอตัว ลุกกลับบ้านก่อน โดยที่ กาแฟของสมาชิกในกลุ่ม ยังไม่ถูกดื่มจนหมด
สำหรับชาวฟินแลนด์แล้ว เขาจะถือว่าเป็นการเสียมารยาทเลยนะ.. (แต่พวกเราเข้าใจว่า ในสมัยใหม่ และ ประกอบกับเหตุผลที่ฟังขึ้น ชาวฟินแลนด์เขาก็ไม่ได้เคร่งเครียดกันขนาดนั้น)
อ่านถึงตรงนี้แล้ว พวกเราก็หวังว่าคงจะพอไขข้อสงสัยว่า “ทำไมนะ ทำไม..ชาวฟินแลนด์ถึงได้ดื่มกาแฟ มากกว่าชาติอื่น” ให้กับเพื่อน ๆ กันได้บ้างไม่มากก็น้อย
ถ้าเพื่อนๆท่านไหน มีประสบการณ์การดื่มกาแฟ ของชาวฟินแลนด์ หรือ จะเป็นประเทศอื่นๆละก็ ลองมาแชร์แบ่งปันให้พวกเราอ่านเพิ่มเติมความรู้ ได้ในคอมเมนต์กันเลย 🙂
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม :
https://www.baristainstitute.com/…/finnish-coffee…
https://theculturetrip.com/…/why-finlands-coffee…/